"ชาญชัย"ยึด 5 หลักปลดล็อควิกฤตงบประมาณ ชงตั้ง ”คณะ กมธ.วิสามัญ“ เพิ่มอีก 1 ชุดจาก ตัวแทน กมธ.สามัญ 35 คณะ ร่วมตรวจสอบตั้งเรื่องของบฯปีต่อไป ยึด คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้ แฉตัวอย่างการทุจริต 5 โครงการรัฐ สูญเงินแผ่นดินนับแสนล้าน
3 ส.ค.2567 ที่รัฐสภานายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตสส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงงาน “ปลดล็อควิกฤตงบประมาณ” ในโครงการผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯพบประชาชน ที่ตนกล่าวในการอภิปรายในหัวข้อ“ข้อเสนอการปรับกระบวนการ และวิธีการงบประมาณปี 2569” ว่า ที่ตนกล่าวบนเวทีการอภิปรายถึงเรื่องข้อเสนอการปรับและวิธีการงบประมาณปี 69 นั้น การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ในแต่ละปีจะมีกรอบของกฎหมายรองรับเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายหลักๆคือ
1.ข้อกฎหมายต่างๆและอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง มีอะไรบ้าง เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2560 , พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ 2561 , พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 , พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ 2560 และพ.ร.บ. หนี้สาธารณะ
2.กระบวนการปฎิบัติของหน่วยงาน มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง อาทิการทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี เริ่มจาก พรรคการเมืองหาเสียงมีนโยบายอะไรในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เมื่อชนะเลือกตั้งก็จะจัดตั้งรัฐบาลใช้นโยบายอะไร แถลงนโยบายต่อสภาฯ ต้องระดมหน่วยปฎิบัติในการทำงบฯ อาทิ สำนักงบประมาณ, กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ฯ
3. มีอุปสรรคใดบ้างในการจัดทำงบฯที่จะทำนโยบายต่อการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน เป็นการกระทำตามของเจ้าหน้าที่ หรือฝ่ายปฏิบัติที่ไม่เคร่งครัดทำตามกฎหมาย หรือเป็นผู้มีอิทธิพลเข้าไปแทรกแซง หรือเป็นผู้มีอำนาจทางการเมืองเข้าไปแทรกแซง รวมถึงเอกชนที่มีอิทธิพลเข้าไปเสนอผลประโยชน์ให้เจ้าหน้าที่รัฐ และรวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ที่จะใช้อิทธิพลเข้าไปทุจริตคอรัปชั่นโดยการฮั้วงาน
4. การตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดิน มีองค์กรตรวจสอบ สภาผู้แทนราษฎระกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และสว. ,กรรมาธิการ ,สตง. ,กรมบัญชีกลาง , คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นต้น
5. ปัญหาที่เกิด เกิดขึ้นจากตัวบทกฎหมาย หรือ ตัวบุคคล หรือปัญหาเกิดจากตัวองค์กร หน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติ หรืออิทธิพลของกลุ่มจัดฮั้วงานที่เกี่ยวโยงกับนักการเมืองบางคน
6.ตัวอย่างของปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจากอดีตถึงปัจจุบันที่นักการเมืองบางคน ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้าราชการร่วมกันใช้อำนาจหน้าที่ในการทุจริตประพฤติมิชอบต่องบประมาณแผ่นดิน มีตัวอย่างที่ตนยกขึ้นมา อาทิ 1.)โครงการขุดคลองสุวรรณภูมิเพื่อระบายน้ำจากภาคตะวันออกและภาคเหนือลงสู่ทะเลที่คลองด่านโดยตรงและเพื่อป้องกันน้ำท่วมกทม. ปรากฏว่า มีการทุจริตงบประมาณไม่น้อยกว่า 1500 ล้านบาท 2.) การทุจริตคอรัปชั่นใน 14 โครงการ ทำให้รัฐเสียหายวงเงินรวมกันไม่น้อยกว่า 450,000 ล้านบาท เป็นการตรวจสอบในรอบ 12 ปีจากการใช้งบประมาณของรัฐ 3.)การทุจริตโครงการแอร์พอร์ตเรลลิ้ง 1,100ล้านบาทเฉพาะค่าธรรมเนียมการกู้เงินในการก่อสร้างโครงการนี้ที่นำมาเบิกกับรัฐงวดสุดท้าย สูงเกินความเป็นจริงและเกินกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้แจงไว้ที่ยอด 471ล้านบาท แต่กลับมีการเบิกจ่ายสูงถึง 1,166ล้านบาท 4.)กรณีการทุจริตโครงการน้ำท่วมในปี2554 มีความเสียหายนับหมื่นล้านบาทจากวงเงิน 100,000 กว่าล้านที่ใช้ในการเยียวยาและอ้างใช้แก้ไขปัญหาโดยใช้งบฯฉุกเฉิน 5.)กรณีล่าสุด เป็นการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ติดป้ายเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา6 รอบ ทั้งที่ยังไม่ได้มีการเซ็นสัญญา แต่กลับมีการติดป้ายก่อนการเซ็นสัญญา ในวงเงิน 11ล้านบาทเศษ ผิดกฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง“ นายชาญชัย กล่าว
นายชาญชัย กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุคือ กฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดเจน แต่หน่วยงาน และผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หรือการขอตั้งงบประมาณของส่วนราชการไม่เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลแถลงไว้ต่อรัฐสภาฯ และความต่อเนื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืน และอาจเกิดจากส่วนราชการเสนอคำขอตั้งงบประมาณเกินความเป็นจริง และมีการใช้เส้นสายแย่งชิงเงินงบประมาณในโครวการต่างๆ จนเป็นต้นเหตุให้เกิดทุจริตคอรัปชั่นตามมา ซึ่งแต่ละปีทำให้ต้องสูญเสียเงินงบฯที่ใช้จัดซื้อจัดจ้างเกินความเป็นจริงไป 20 - 30% ที่อาจเกิดจากส่วนราชการจับมือผู้รับเหมา ร่วมกัน ผลักดันโครงการขนาดใหญ่ให้ผ่านสำนักงบฯและสภาพัฒน์ฯ โดยเสนอในที่ประชุม ครม.อนุมัติโครงการลงทุนเพื่อทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันในระยะยาว และอาจมีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางแห่ง อ้างเหตุไม่ได้ใช้งบประมาณ แต่กลับใช้อำนาจอนุมัติสัมปทาน หรือโครงการขนาดใหญ่โดยไม่เป็นไปตามกฎหมาย ก่อให้เกิดภาระผูกพันทางการคลังในระยะยาว เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุทุจริตคอรัปชั่น
นายชาญชัย กล่าวต่อว่า ส่วนแนวทางในการแก้ไขการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต้องยึดหลักตามกรอบกฎหมาย อำนาจหน้าที่กระบวนการปฏิบัติ คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้ จากเดิมที่ให้หน่วยงานต่างๆของรัฐจะต้องเสนองบประมาณตามนโยบายไปที่กรม-กระทรวง-สำนักงบ ครม.-เสนอรัฐสภา แต่วิธีการใหม่ ตนเสนอให้การปรับกระบวนการและวิธีการงบประมาณปี 2569 ที่เดิมเคยให้มีกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ตรวจสอบและอนุมัติให้แล้วเสร็จภายใน 105 วัน ควรปรับให้ กมธ.สามัญทั้ง35 คณะในสภาฯ ตั้งคณะ กมธ.งบประมาณขึ้นอีก 1 คณะ เพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีถัดไปภายใต้กรอบ กมธ.สามัญ 35 คณะ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-เดือนมกราคมเพื่อตรวจสอบการใช้งบประมาณปีปัจจุบัน ควบคู่กับการเตรียมที่จะเสนองบประมาณในปีถัดไปด้วย ที่หน่วยงานรัฐต้องนำเสนองบประมาณประจำปีถัดไปตามความต้องการของประชาชน ผ่านตัวแทนคือ สส.ในทุกพื้นที่ทั้งประเทศได้เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบ วัดผลสอบทานได้ทุกมิติเพื่อป้องกันการทุจริต คือได้ยินกับหู ได้เห็นกับตา และสส.สามารถนำข้อมูลมาอภิปรายเพื่อป้องกันการทุจริตในสภาได้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี