‘หัวหน้าสถาปนิกผู้ออกแบบรัฐสภา’ มาเอง! ยื่นค้าน ‘ปรับปรุงสภาฯ-ถมสระมรกต’ หวั่นกระทบโครงสร้าง - อากาศไม่ไหลเวียน ต้องใช้เงินอีกมหาศาล ‘ติดแอร์-จ่ายค่าไฟ’ ข้องใจใช้ 100 กว่าล้านทำห้องสมุดคุ้มหรือยัง โต้ปม‘ศาลาแก้ว’ ไร้ประโยชน์ ยันมีฉนวนกันความร้อน ใช้ได้แน่นอน เตือนขุดใต้ดินทำที่จอดรถเพิ่มระวังน้ำท่วม
วันที่ 8 พฤษภาคม 25568 เมื่อเวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ(กมธ.)การศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภา นำโดย นายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในฐานะรองประธานกมธ.ฯ และประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะสร้างสรรค์ รับหนังสือจากนายชาตรี ลดาลลิตสกุล ศิลปินแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารรัฐสภา เพื่อขอคัดค้านการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบของอาคารรัฐสภา
นายชาตรี กล่าวว่า ขอคัดค้านการที่ รัฐสภาได้จัดทำงบประมาณจากปิดสระมรกต เพื่อสร้างเป็นห้องสมุด และร้านค้าเพื่อบริการประชาชน โดยอ้างสาเหตุหลักมาจากปัญหาน้ำรั่วซึมและเกิดปัญหาน้ำเน่ายุงชุม ซึ่งขอชี้แจงว่า สระมรกตถูกออกแบบและมีระบบการกรองแบบสระว่ายน้ำ หากดูแลตามปกติวิสัย มีการเปิดระบบให้น้ำไหลเวียนทุกวันตามมาตรฐานไม่สามารถเกิดยุงได้อย่างแน่นอน และ เรื่องสระรั่วซึม เป็นเรื่องคุณภาพการก่อสร้างควรเป็นความรับผิดชอบของผู้รับเหมาเนื่องจากอยู่ในระยะประกันผลงาน และเพิ่งตรวจรับงานไม่นาน จึงไม่จำเป็นต้องเอาปัญหา ของผู้รับเหมามาเป็นของตัวเอง
นายชาตรี กล่าวต่อว่า ส่วนความคิดที่จะย้ายห้องสมุดจากชั้น 9-10 ลงมาชั้นหนึ่งนั้น ไม่สมเหตุสมผล สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น เนื่องจากห้องสมุดดังกล่าว ใช้งบประมาณ ถึง 100 กว่าล้าน และยังไม่ได้ใช้อย่างเต็มที่ และพื้นที่ดังกล่าวเชื่อมโยงกับหอจดหมายเหตุที่อยู่ชั้น 8 และผู้ที่ใช้งานห้องสมุด ส่วนใหญ่เป็น สส. และสว. และข้าราชการสภา หากต้องการให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ก็ไม่ควรย้ายมาบริเวณสระมรกต ควรสร้างนอกอาคาร อีกทั้งการที่ใช้พื้นที่สระมรกต ทำห้องสมุด อาจจะกระทบกับโครงสร้างที่ออกแบบไว้ได้เนื่องจากห้องสมุดมีน้ำหนักมากพอสมควร
“ยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการถมพื้นที่สระมรกต เนื่องจากตอนออกแบบ ต้องการให้อาคารรัฐสภา เป็นอาคารประหยัดพลังงาน ระดับดีเด่น (แบบตู้กับข้าว) มีช่องลมให้อากาศพัดผ่านในทุกทิศ และแสงที่ส่องผ่านลงมากระทบผนัง เสาสระน้ำ และอาคาร เจาะจงให้แสงเข้ามาน้อยเพื่อให้บรรยากาศที่สงบ ร่มเย็นและมั่นคง อาศัยเทคนิคการปรับเย็นโดยวิธีธรรมชาติ สูงขึ้น เป็นหลักในพื้นที่โถงและทางเดินโดยอาคารจะถูกเจาะให้เป็นรูพรุนด้วยช่องลมทุกชั้นทุกทิศทางเพื่อให้ลมพัดความร้อนออกจากอาคาร เป็นที่สังเกตว่า อากาศในถงนี้จะมีสภาวะ น่าสบาย แม้อากาศภายนอกจะร้อนมากในฤดูร้อนก็ตาม แต่หากถมสระ เพื่อสร้างห้องสมุด จะต้อง ปิดแอร์ทั้งหมด ซึ่งตนนึกไม่ออกว่าพื้นที่โล่ง 10 ชั้นจะต้องใช้งบประมาณ ขนาดไหน ทั้งในการติดแอร์และปิดช่องต่างๆ ขณะเดียวกันในแต่ละเดือนจะต้องมีค่าไฟอีกจำนวนมหาศาล” หัวหน้าสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารรัฐสภา กล่าว
นายชาตรี กล่าวอีกว่า สำหรับศาลาแก้ว ที่จะมีการของบประมาณจำนวนมากในการปรับปรุงนั้น ตนก็ขอคัดค้านเช่นกัน เพราะเป็นการออกแบบมาสำหรับใช้ในงานพิธีสำคัญ เช่นพิธีทำบุญเทศกาลต่างๆของรัฐสภา แต่ที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 7 ซึ่งขณะนี้ยังก่อสร้างอยู่นั้น ไม่ได้อยู่ในแบบ และที่ไม่ได้ติดแอร์ศาลาแก้ว แต่สามารถใช้งานได้จริง เพราะออกแบบให้มีผ้าใบที่เคลือบด้วยอะลูมิเนียม พี่สะท้อนแสงกันความร้อนที่สามารถเลื่อนติดกระจกปิดกระจกให้ทึบได้ด้วยระบบไฟฟ้า โดยอากาศระหว่างระบบผ้าใบจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนอีกชั้นหนึ่ง และศาลาอยู่ในที่โล่ง ลมพัดสะดวก ถูกออกแบบมาให้ลดอุณหภูมิโดย สระน้ำที่อยู่โดยรอบ
“งานออกแบบนี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพียงแค่เหตุผลการใช้งาน แต่มีเป้าหมายให้เป็นปฏิมากรรมสัญลักษณ์ที่แสดงถึงจิตวิญญาณ ภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมไทย และเป็นภาพจำหนึ่งของความเป็นไทยร่วมสมัยให้สังคมสถาปัตยกรรมโลก” นายชาตรี กล่าว
เมื่อถามว่าตอนรับมอบเป็นไปตามสเปกหรือไม่ จนต้องของงบประมาณเพิ่ม เพื่อปรับปรุง นายชาตรี กล่าวว่า งานออกแบบของเราใช้งบประมาณ 11,000 กว่าล้านบาท แต่เมื่อมีการปรับแบบ อย่าใช้งบประมาณ 12,000 กว่าล้านบาท แต่นอกเหนือจากนั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ เราเลย และไม่ได้เห็นด้วยในหลายหลาย ๆ เรื่อง แต่เป็นโครงการที่อยู่นอกสัญญาหลัก ซึ่งเป็นวิธีที่รัฐสภาทำ หากถามว่าตรงตามสเปคหรือไม่ก็เหมือนกับงานก่อสร้างทั่วไปที่ปัญหามากมาย ซึ่งการก่อสร้าง ใช้ทีมงานแบบเต็มทีมเหมือนก่อสร้างตึกของสตง. มีที่ปรึกษา และมีผู้รับผิดชอบ ส่วนผู้ออกแบบท่าได้รับเชิญก็ไป แต่ 3-4 เดือนสุดท้ายก่อนที่จะรับมอบงาน พวกตนไม่ได้รับเชิญ
เมื่อถามว่าส่วนที่ต่อเติมนอกเหนือจากแบบขึ้นมาถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ นายชาตรี กล่าวว่า ไม่ถือว่าผิดกฎหมายเพราะการรับจ้างออกแบบ รัฐถือว่าเป็นการรับจ้างทำของ และเมื่อเป็นของรัฐรัฐก็มีสิทธิ์ แต่ในฐานะผู้ออกแบบ ช่วยให้ความเคารพ กับงานของเราและปรึกษาเราหน่อย
เมื่อถามถึงกรณีที่จะมีการก่อสร้างที่จอดรถเพิ่มจะส่งผลกระทบกับโครงสร้างหรือไม่ นายชาตรี กล่าว ไม่ทราบรายละเอียด แต่ คนที่ทำจะต้องระวังเรื่องน้ำท่วม เพราะอาคารรัฐสภาที่ทำไว้แล้ว ได้มีการออกแบบป้องกันน้ำท่วมชั้นใต้ดินระดับ 4 เมตร และเมื่อปี 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่อยู่ระดับ 2.5 เมตร ดังนั้นน้ำไม่ท่วมแน่นอน แต่พื้นที่บริเวณถนนสามเสนต่ำ หากเดินจากลานประชาชนเข้าไป จะพบประตูหนึ่งซึ่งเป็นประตูกันน้ำ ดังนั้น ณ วันนี้ต่อให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ รัฐสภาก็ไม่ท่วมยืนยันได้ และความจริงในเรื่องที่จอดรถตอนที่ออกแบบก่อสร้าง เราทราบว่า ไม่เพียงพอจึงได้ ประสานกับทางทหารฝั่งสามเสนและวัดแก้วฟ้าฯ เพื่อ ไม่ขอใช้ที่จอดรถเพิ่มแต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งตอนเสนอไปถึง 8 ครั้ง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี