วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / การเมือง
‘ไทย’ไม่ต้อง 0% ตาม‘เวียดนาม’ แนะเพิ่มปริมาณสั่งซื้อสินค้าสหรัฐฯแทน

‘ไทย’ไม่ต้อง 0% ตาม‘เวียดนาม’ แนะเพิ่มปริมาณสั่งซื้อสินค้าสหรัฐฯแทน

วันพุธ ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 15.49 น.
Tag : การเมืองวันนี้ กำแพงภาษี ทรัมป์ ทีมไทยแลนด์ นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนวหน้าออนไลน์ ภาษีทรัมป์ ภาษีนำเข้า สหรัฐฯ
  •  

"ไทย"ไม่ต้อง 0% ตาม"เวียดนาม" แนะเพิ่มปริมาณสั่งซื้อสินค้าสหรัฐฯแทน นักวิชาการ มธ.ชี้ภาษี 25-28% ยังสู้ได้

นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนะจัดทำข้อเสนอเจรจาภาษีทรัมป์ "ไทย"ไม่ต้องลดภาษีนำเข้า 0% แบบเวียดนาม แต่ให้เพิ่มปริมาณสินค้าที่จะสั่งซื้อจากสหรัฐฯ แทน เชื่อหากต่อรองภาษีสหรัฐฯ เหลือ 25% - 28% ยังพอแข่งขันได้ ระบุไม่ว่าผลเจรจาจะบวกหรือลบ รัฐบาลต้องเร่งหามาตรการเยียวยาผู้รับผลกระทบ วางแผนหาตลาดใหม่ทดแทน และปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศ


เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนา (ICDS) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า การที่สหรัฐอเมริกาประกาศแจ้งอัตราภาษีนำเข้าที่จะเรียกเก็บจากไทยซึ่งอยู่ที่ 36% สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน มากกว่าเวียดนาม และมาเลเซีย นั้น มีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ ยังไม่ได้รับข้อเสนอเพิ่มเติมที่ไทยเพิ่งส่งไปเมื่อวันที่ 6 ก.ค.2568 ที่ผ่านมา ส่วนตัวเชื่อว่าหากสหรัฐฯ เห็นข้อเสนอดังกล่าว อาจพิจารณาปรับลดภาษีนำเข้าลงมา เพราะข้อเสนอเหล่านั้นให้สิทธิประโยชน์แก่สหรัฐฯ มากกว่าครั้งแรกค่อนข้างมาก เช่น การเสนอเก็บภาษี 0% ในสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ กว่าพันรายการรวมถึงสินค้าเกษตร และมีการให้กรอบเวลาลดการเกินดุลการค้าที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลการค้าและการลงทุนเชิงลึก และสภาวะความไม่แน่นอนของนโยบายและเศรษฐกิจของสหรัฐฯแล้ว ส่วนตัวคิดว่าอัตราภาษีที่จะทำให้ไทยยังคงรักษาระดับการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม และมาเลเซียได้ จะอยู่ที่ 25 - 28% ซึ่งถือเป็นจุดที่เหมาะสมและยอมรับได้

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ กล่าวว่า จนกว่าจะถึงวันที่ 1 ส.ค.2568 ซึ่งเป็นวันที่การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ยังพอมีระยะเวลาในการเจรจาต่อรอง โดยหากสหรัฐฯ ได้พิจารณาข้อเสนอที่ส่งไปเพิ่มเติมแล้ว แต่ยังคงอัตราภาษีนำเข้าไว้ตามเดิม หรือลดลงแต่ยังมากกว่า 25% - 28% ส่วนตัวเห็นว่า ไทยคงต้องยื่นข้อเสนอเพิ่มมากขึ้น ทว่าไม่ควรใช้วิธีการปรับลดกำแพงภาษีนำเข้าของไทยให้สหรัฐฯ เหลือเพียง 0% ทุกรายการสินค้า แบบที่เวียดนามทำ

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบการลดภาษีเหลือ 0% ทุกรายการระหว่างไทยกับเวียดนาม จะพบว่าเวียดนามจะได้รับผกระทบน้อยกว่าไทย เนื่องจากเวียดนามมีประสบการณ์เปิดการค้าเสรีให้สหภาพยุโรป (EU) และประเทศอื่นๆ มาแล้ว โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าเกษตร ขณะที่ไทยยังมีการใช้นโยบายภาษีและมิใช่ภาษีค่อนข้างเข้มข้น จึงเกรงว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและเกษตรกรไทยที่จะปรับตัวไม่ทัน จึงเสนอว่าไทยควรใช้วิธีการเสนอเพิ่มจำนวนปริมาณสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นการทดแทนให้มากขึ้น เช่น การเพิ่มปริมาณนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์ ก๊าซธรรมชาติ หรือการจัดซื้อเครื่องบิน เป็นต้น

นอกจากนี้ ไม่ว่าผลการพิจารณาปรับลดภาษีของสหรัฐฯ จะเป็นไปอย่างที่ต้องการหรือไม่ รัฐบาลไทยก็ควรจะต้องเริ่มต้นวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเยียวยาคนไทยผู้ได้รับผลกระทบจากการลดภาษีให้กับสหรัฐฯ เช่นผู้ประกอบการธุรกิจ หรือเกษตรกร และรัฐบาลจะต้องเร่งหาตลาดส่งออกให้มีความหลากหลาย (diversity) มากขึ้น ไม่พึ่งพาสหรัฐฯ มากจนเกินไปแบบที่ผ่านมา เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนทางนโยบายซึ่งอาจจะเกิดการกลับไปกลับมาได้อีกเสมอ

"ตลาดอาเซียน แม้จะมีสินค้าคล้ายกันหลายอย่าง ทว่าแต่ละที่ก็มีความ Specialize เป็นของตัวเอง ที่ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันได้ หรือจะเป็นประเทศญี่ปุ่นที่ควรจะเพิ่มอัตราการส่งออกไปมากขึ้นหลังจากที่ลดน้อยลงไปมากก่อนหน้านี้ สำคัญที่สุดคือการเร่งทำข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ร่วมกับ EU ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าไปได้มากขึ้น ประการสุดท้ายคือควรใช้โอกาสนี้ในการปฏิรูปประเทศ ทั้งเรื่องโครงสร้างการผลิตและการส่งออก โครงสร้างภาษีและไม่ใช่ภาษีอย่างจริงจัง รวมไปถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้าของผู้ประกอบการไทย" รศ.ดร.จุฑาทิพย์ กล่าว

ด้าน รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนา (ICDS) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นอกจากเหนือผลการเจรจาและมาตรการเยียวยาที่รัฐบาลต้องดำเนินการในทันทีแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือไทยควรใช้จังหวะนี้กลับมาทบทวนและแก้ปมปัญหาภายในประเทศเพื่อยกระดับประสิทธิภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมิติการลงทุนจากต่างชาติในไทย เช่น ปัญหาการตกเป็นเหยื่อนอมินีของชาวต่างชาติ เช่น การให้คนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าว หรือสนับสนุนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เข้าข่ายเป็นนอมินี และมีความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

รศ.ดร.อาชนัน กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าปัญหาอาจไม่ใช่แค่เรื่องของนอมินี แต่ต้องหันกลับมาดูว่าการประกอบธุรกิจโดยนักลงทุนต่างชาตินั้น ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด เกิดการจ้างงาน หรือการลงทุนเพิ่มขึ้นหรือไม่ ฯลฯ ตัวอย่างเช่นการเข้ามาของผู้ประกอบการจีนในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่ต้องพิจารณาคือลักษณะการลงทุนของผู้ประกอบการจีนบางส่วนในไทยสร้างผลประโยชน์ให้คนไทยมากน้อยเพียงใด เขากำลังใช้ต้นทุนและความได้เปรียบของตนเองจนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการไทยหรือไม่

รศ.ดร.อาชนัน กล่าวต่อไปด้วยว่า หากพิจารณาเฉพาะในส่วนของปัญหานอมินี ก็ต้องดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความซับซ้อนหรือความไม่ทันสมัยของกฎหมายหรือไม่ เช่น หากต่างชาติอยากจะเข้ามาดำเนินการให้มีความถูกต้อง มันเป็นเรื่องยากและซับซ้อนหรือไม่ หรือมีปัจจัยที่เอื้อให้นักลงทุนรู้สึกอยากทำตามกระบวนการที่ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ท่ามกลางปัญหาสังคมสูงวัยในไทยทรี่ประเทศขาดแคลนคนวัยแรงงาน การห้ามต่างด้าวประกอบกิจการเด็ดขาดตามบัญชี 1 ใน พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หรืออนุญาตแบบมีเงื่อนไข ตามบัญชี 2 และอนุญาตโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ต้องมีผู้ถือหุ้นคนไทยมากกว่าต่างด้าว ตามบัญชี 3 กฎหมายดังกล่าวควรจะต้องมีการกลับมาทบทวนและปรับปรุงกันใหม่หรือไม่ หรืออาจจะต้องปลดล็อคในบางธุรกิจให้ต่างชาติทำได้มากขึ้น แต่ต้องควบคุม ตรวจสอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ให้ธุรกิจเหล่านั้นเกิดการลงทุน หรือจ้างงานคนไทย ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และแก้ปัญหานอมินีได้ในระยะยาว

- 006

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ธรรมนัส\'เผย ความพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง ชูนโยบายเพื่อคนฐานราก 'ธรรมนัส'เผย ความพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง ชูนโยบายเพื่อคนฐานราก
  • ภาพมันฟ้อง! ‘อดีตบิ๊กข่าวกรอง’ถามดังๆ‘ทักษิณ’ร่วมประชุมทีมไทยแลนด์ได้อย่างไร ภาพมันฟ้อง! ‘อดีตบิ๊กข่าวกรอง’ถามดังๆ‘ทักษิณ’ร่วมประชุมทีมไทยแลนด์ได้อย่างไร
  • \'ธรรมนัส\'กร้าว!! ประกาศกวาดสส.แทบทุกพื้นที่ ลั่นพร้อมเป็นแกนนำตั้งรบ. 'ธรรมนัส'กร้าว!! ประกาศกวาดสส.แทบทุกพื้นที่ ลั่นพร้อมเป็นแกนนำตั้งรบ.
  • \'ชัยชนะ\'ย้ำจุดยืน\'ปชป.\'ต้านนิรโทษฯ ม.112–คดีทุจริตเลือกตั้ง 'ชัยชนะ'ย้ำจุดยืน'ปชป.'ต้านนิรโทษฯ ม.112–คดีทุจริตเลือกตั้ง
  • ประชุมทีมศก.รับมือ‘ภาษีทรัมป์’ ‘แม้ว’ร่วมวง ‘พิชัย’อ้างเชิญมาเพราะมีความรู้ ประชุมทีมศก.รับมือ‘ภาษีทรัมป์’ ‘แม้ว’ร่วมวง ‘พิชัย’อ้างเชิญมาเพราะมีความรู้
  • ครบ 1 ปี เป็น\'วุฒิสมาชิก\' \'หมอวี\'บอก\'ยังคงตรวจสอบตัวเองอยู่ทุกวัน\' ครบ 1 ปี เป็น'วุฒิสมาชิก' 'หมอวี'บอก'ยังคงตรวจสอบตัวเองอยู่ทุกวัน'
  •  

Breaking News

เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved