รู้จัก'อนุสัญญาออตตาวา' จะเกิดอะไรขึ้น!? หากบางประเทศแหกคอก
เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2568 น.ส.กัญวลัญชณ์ เอี่ยมสุพรรณ บุตรสาวของ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ หรือ ลุงเอี่ยม อดีตรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า "รู้หรือไม่? อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดบุคคลสังหาร ไม่มี "บทลงโทษ" ที่เราคิด!
หลายคนอาจเข้าใจว่า อนุสัญญาออตตาวา (Ottawa Treaty) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล มีกลไกการลงโทษที่รุนแรงเหมือนกฎหมายทั่วไป แต่ความจริงแล้ว อนุสัญญานี้มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไป!
แล้วถ้าประเทศไหนไม่ทำตาม จะเกิดอะไรขึ้น?
อนุสัญญาออตตาวาไม่ได้มีมาตรการลงโทษแบบแซงก์ชันทางเศรษฐกิจหรือการใช้กำลังทหารโดยตรง แต่เน้นไปที่ "แรงกดดันทางสังคมและการเมือง" เป็นหลัก
ถูกประณามจากทั่วโลก: ประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามอาจถูกประณามอย่างรุนแรงจากประชาคมระหว่างประเทศ องค์กรระดับโลก เช่น สหประชาชาติ และกลุ่มภาคประชาสังคมที่รณรงค์เรื่องนี้ (อย่าง International Campaign to Ban Landmines - ICBL)
เสียชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ: การละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศย่อมส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์และความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ
ขาดความร่วมมือ: อาจส่งผลให้ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การเก็บกู้ทุ่นระเบิด หรือการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
หัวใจสำคัญของอนุสัญญา: คือการสร้างบรรทัดฐานทางศีลธรรมและการเมืองที่แข็งแกร่ง เพื่อให้ทุกประเทศร่วมกันยุติการใช้อาวุธร้ายแรงที่สร้างความเสียหายแก่พลเรือนอย่างทุ่นระเบิดสังหารบุคคล"
ทั้งนี้ อนุสัญญาออตตาวา หรือชื่อเต็มคือ อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิต และโอน และการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ค.ศ. 1997 เป็นสนธิสัญญาที่มุ่งกำจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคลทั่วโลก
มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ
- ห้ามการใช้ พัฒนา ผลิต สะสม และถ่ายโอนทุ่นระเบิดสังหารบุคคล เพื่อหยุดวงจรการผลิตและการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
- ทำลายทุ่นระเบิดที่สะสมไว้ ประเทศภาคีต้องทำลายทุ่นระเบิดที่เก็บสะสมไว้ทั้งหมดภายใน 4 ปีหลังเข้าร่วมอนุสัญญา
- เก็บกวาดพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิด โดยต้องดำเนินการเก็บกวาดทุ่นระเบิดในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของตนภายในระยะเวลา 10 ปีหลังเข้าร่วมอนุสัญญา โดยอาจขอขยายเวลาได้หากจำเป็น
- ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด รวมถึงการดูแลรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคมของผู้ที่ได้รับผลกระทบ
โดยปัจจุบันมีประเทศมากกว่า 160 ประเทศทั่วโลกที่เป็นภาคีของอนุสัญญาออตตาวา โดยประเทศไทยและกัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมลงนาม และให้สัตยาบันในอนุสัญญานี้ตั้งแต่ปี 1997 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อปี 1999 และกัมพูชาในปี 2000
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี