วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ประชาสัมพันธ์
ผลสำรวจ UOB Business Outlook Study 2025 เผยภาคธุรกิจไทยมุ่งขยายโอกาส ในภูมิภาค รับมือภาษีนำเข้าสหรัฐฯ

ผลสำรวจ UOB Business Outlook Study 2025 เผยภาคธุรกิจไทยมุ่งขยายโอกาส ในภูมิภาค รับมือภาษีนำเข้าสหรัฐฯ

วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 16.45 น.
Tag :
  •  

ผลสำรวจ UOB Business Outlook Study 2025 เผยภาคธุรกิจไทยมุ่งขยายโอกาส ในภูมิภาค รับมือผลกระทบจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ
 
8 กรกฎาคม 2568 – ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยรายงาน UOB Business Outlook Study ประจำปี 2568 สะท้อนแนวทางการปรับตัวของภาคธุรกิจไทยท่ามกลางความท้าทายจากการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา และความไม่แน่นอนของห่วงโซ่อุปทานโลก

การสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อมกราคม 2568 และสัมภาษณ์เพิ่มเติมในเดือนเมษายน 2568 พบว่า แม้ภาคธุรกิจไทยจะดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง แต่ยังแสดงศักยภาพในการปรับตัว ผ่านการขยายโอกาสในภูมิภาคอาเซียน เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยผลสำรวจพบว่า ภายหลังจากการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา มากกว่าร้อยละ 90 ของภาคธุรกิจคาดว่าจะเผชิญกับภาวะหยุดชะงักในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันร้อยละ 68 คาดว่าจะปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเร็วยิ่งขึ้น และร้อยละ 60 มองว่าความยั่งยืนมีความสำคัญ โดยมีมาตรการภาษีของสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยเร่งสำคัญ


นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Deputy CEO &  Wholesale Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ผลสำรวจ UOB Business Outlook Study ประจำปี 2568 สะท้อนถึงความสามารถของภาคธุรกิจไทยในการปรับตัวต่อความท้าทายระดับโลก ด้วยการมองหาโอกาสใหม่ในระดับภูมิภาค การประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัล และการให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ล้วนเป็นแนวทางที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตในภาคธุรกิจในระยะยาว อย่างมั่นคง ธนาคารยูโอบีพร้อมสนับสนุนภาคธุรกิจไทยอย่างเต็มที่ ด้วยโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ ความเชี่ยวชาญในตลาดภายในประเทศ และเครือข่ายที่แข็งแกร่งในภูมิภาคอาเซียน”

ภาษีสหรัฐฯ ฉุดความเชื่อมั่น จุดประกายธุรกิจเร่งปรับตัว

ผลสำรวจพบว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลงจากร้อยละ 58 ในปี 2024 เหลือร้อยละ 52 ภายหลังการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กแสดงความกังวลมากที่สุด ปัจจัยหลักที่สร้างแรงกดดันคือ ต้นทุนการดำเนินงานและเงินเฟ้อ โดยร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้น และร้อยละ 57 คาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คืออสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการให้บริการ

ภาคธุรกิจไทยได้ริเริ่มมาตรการสำคัญเพื่อรับมือสถานการณ์ ดังนี้

• ลดต้นทุน: ธุรกิจ 3 ใน 5 โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลาง (ร้อยละ 67) ได้ดำเนินการมาตรการลดต้นทุน 

• เพิ่มรายได้: ธุรกิจจำนวนมากมุ่งขยายฐานลูกค้าใหม่และแสวงหาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์

• ต้องการการสนับสนุน: ธุรกิจให้ความสำคัญกับความช่วยหลือทางการเงิน (ร้อยละ 92) การสนับสนุนด้านการค้าและห่วงโซ่อุปทาน (ร้อยละ 65) และการให้คำปรึกษาหรือฝึกอบรม (ร้อยละ 50) เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการปรับตัว

ความกดดันในห่วงโซ่อุปทานผลักดันให้ธุรกิจไทยมุ่งเน้นตลาดภูมิภาค

ร้อยละ 90 ของธุรกิจไทยมุ่งเน้นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทว่ามาตรการภาษีของสหรัฐอเมริกากลับส่งผลให้ภาวะหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานทวีความรุนแรงขึ้น ร้อยละ 80 ของธุรกิจคาดว่าจะเผชิญความท้าทายเพิ่มเติมจากภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูง แนวทางสำคัญที่ธุรกิจจะใช้ในการรับมือ ได้แก่

• การวิเคราะห์ข้อมูล: ธุรกิจ 4 ใน 10 ราย นำการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้เพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งกลายเป็นกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2024 แซงหน้ากลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง

• การค้าภายในภูมิภาคอาเซียน: ธุรกิจเปลี่ยนไปใช้ทางเลือกในภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้การค้าภายในภูมิภาคเติบโต

• ความต้องการสนับสนุน: ธุรกิจมองหามาตรการจูงใจทางภาษี การเข้าถึงเทคโนโลยี และการฝึกอบรมแรงงาน

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเร่งเสริมความสามารถในการปรับตัว

การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจ โดยเกือบร้อยละ 40 ของธุรกิจได้นำเครื่องมือดิจิทัลมาผสานรวมอย่างเต็มรูปแบบ และร้อยละ 68 คาดว่าจะเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลหลังการประกาศมาตรการภาษีของสหรัฐฯ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง ทั้งนี้ ธุรกิจไทยมองว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ อาทิ การสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การขยายการเข้าถึงลูกค้า และการเข้าสู่ตลาดที่รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ดี ความกังวลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ต้นทุน และความเสี่ยงจากการละเมิดข้อมูล ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ต้องเผชิญ และกระตุ้นความต้องการด้านการฝึกอบรมและการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะอุตสาหกรรม

ธุรกิจไทยเร่งเดินหน้าสู่ความยั่งยืน แม้ต้องเผชิญความท้าทาย

แม้ว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจจะตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน แต่มีเพียงร้อยละ 53 เท่านั้นที่ได้นำแนวทางปฏิบัติไปใช้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม หลังการประกาศมาตรการภาษีของสหรัฐฯ มากกว่าร้อยละ 60 คาดว่าจะเร่งดำเนินมาตรการเพื่อความยั่งยืน อุปสรรคสำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน ต้นทุนที่สูง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมจ่ายราคาพรีเมียมสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ มากกว่าร้อยละ 30 อยู่ระหว่างการพิจารณานำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ พร้อมทั้งแสวงหาข้อมูลและคำปรึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางดังกล่าว

ธุรกิจไทยเร่งขยายสู่ต่างประเทศ โดยเน้นภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก

ธุรกิจไทยเกือบร้อยละ 90 มีแผนขยายตลาดสู่ต่างประเทศ โดยมากกว่าร้อยละ 50 คาดว่าจะเร่งดำเนินการหลังมาตรการเก็บภาษีของสหรัฐฯ ประเทศเป้าหมายหลัก ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม รองลงมาคือจีนและภูมิภาคเอเชียเหนือ ทั้งนี้ แรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากการเติบโตของรายได้และกำไร แม้ยังเผชิญความ ท้าทายด้านจำนวนลูกค้าและความเข้าใจตลาดที่จำกัดในแต่ละประเทศก็ตาม ภาคธุรกิจจึงต้องการข้อมูลเชิงลึก การสนับสนุนทางการเงิน และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อขยายตลาดข้ามพรมแดน
แรงงานยังคงเป็นปัญหาหลักที่ธุรกิจต้องเผชิญ

ครึ่งหนึ่งของธุรกิจไทยยังคงเผชิญปัญหาด้านแรงงาน โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนและความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้และความคาดหวังของบุคลากรรุ่นใหม่ ผลการสำรวจยังชี้ว่า ธุรกิจเกือบร้อยละ 40 จึงประสบปัญหาในการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ แนวทางรับมือกับปัญหานี้ ได้แก่ การเพิ่มค่าตอบแทน การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และการสลับบทบาทหน้าที่ภายในองค์กร

อ่านรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https://www.uobgroup.com/asean-insights/articles/uob-business-outlook-study-2025-thailand.page


เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • COMMART UNLIMIT 2025 ประกาศความสำเร็จ!กระแส AI PC แรงไม่หยุด กระตุ้นยอดขายโน้ตบุ๊กสูงสุดในงาน COMMART UNLIMIT 2025 ประกาศความสำเร็จ!กระแส AI PC แรงไม่หยุด กระตุ้นยอดขายโน้ตบุ๊กสูงสุดในงาน
  • จุดไฟฝันการศึกษาไทย กับโครงการ \'พระแม่พาติว Season 2\' ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสที่เท่าเทียม จุดไฟฝันการศึกษาไทย กับโครงการ 'พระแม่พาติว Season 2' ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสที่เท่าเทียม
  • ห้องพักติดทะเลพัทยา สำหรับทริปเดี่ยวอยู่เงียบ ๆ กับคลื่น ห้องพักติดทะเลพัทยา สำหรับทริปเดี่ยวอยู่เงียบ ๆ กับคลื่น
  • ทาวน์เฮ้าส์ ตัวเลือกที่อยู่อาศัยตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง ทาวน์เฮ้าส์ ตัวเลือกที่อยู่อาศัยตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง
  • Zeekr X รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ สเปกจัดเต็ม ราคาน่าจับตา Zeekr X รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ สเปกจัดเต็ม ราคาน่าจับตา
  • Honda City มือสองราคาเท่าไหร่ เหมาะกับ First Jobber ไหม Honda City มือสองราคาเท่าไหร่ เหมาะกับ First Jobber ไหม
  •  

Breaking News

'ปู่เดือนชัย'ชี้ 'พระ'มีเมียไม่ใช่เรื่องใหม่ แนะสึกดีกว่าทำเสื่อม เชื่อบาปมีอยู่จริง

'สีกากอล์ฟ'ฟาดเรียบ ทั้งเจ้าอาวาส ทั้งคนขับรถ สารภาพถูกชวนมีสัมพันธ์ลึกซึ้ง

ลอนดอนไม่ปลอดภัย! 'เพจดัง'เตือนคนไทยมาเที่ยวช่วงหน้าร้อนอย่าใส่นาฬิกาแบรนด์หรู

'ดร.อานนท์'จวกยับ! คำพูด 'สทร.' ชี้ขู่ศาล-โคตรกร่าง-หลงตัวเอง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved