วันพฤหัสบดี ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ประชาสัมพันธ์
สศก. ถอดบทเรียนปัญหาพื้นที่เพาะปลูกทับซ้อน เตรียมใช้Machine Learning หนุนการจัดทำแผนที่เกษตรกรรม

สศก. ถอดบทเรียนปัญหาพื้นที่เพาะปลูกทับซ้อน เตรียมใช้Machine Learning หนุนการจัดทำแผนที่เกษตรกรรม

วันพฤหัสบดี ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 10.11 น.
Tag : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
  •  

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่ สศก. มีภารกิจในการจัดทำและบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศการเกษตร ที่ผ่านมา ศูนย์สารสนเทศการเกษตร ได้ดำเนินการจัดทำแผนที่แหล่งเพาะปลูกจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลังโรงงาน สับปะรด ปาล์มน้ำมัน และยางพารา โดยอาศัยการแปลวิเคราะห์ด้วยสายตาจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดปานกลาง (Medium Resolution Satellite Image) จากกลุ่มดาวเทียม Sentinel-2 และ Landsat 8-9 OLI/TIRS เพื่อสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีความแม่นยำสูง สำหรับนำมาจัดทำแผนที่แหล่งเพาะปลูกที่มีความเป็นเอกภาพ สอดคล้องกัน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สศก. ได้ดำเนินการแปลวิเคราะห์พื้นที่เพาะปลูกเป็นการดำเนินงานแยกรายสินค้าพืช เพื่อให้ทราบขนาดเนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่ยืนต้นของพืชแต่ละชนิด ซึ่งจากการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในปี 2567 พบว่า ผลการแปลและวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมในพืชแต่ละชนิด มีการแปลพื้นที่เพาะปลูกของพืชเหล่านี้ที่ซ้อนทับกันมากกว่า 1 ล้านไร่ อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านรายละเอียดเชิงพื้นที่และรายละเอียดเชิงคลื่นของภาพถ่ายดาวเทียม จึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของผลการแปล ทาง สศก. จึงจำเป็นต้องลงพื้นที่ตรวจสอบและสำรวจจริง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ซ้ำซ้อนกัน และจะนำข้อผิดพลาดนี้มาถอดบทเรียน (Lesson learned) ในกระบวนการจัดทำข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายว่าจะใช้แบบจำลอง Machine Learning (ML) มาช่วยวิเคราะห์และจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเป็นระบบ


ล่าสุด เจ้าหน้าที่ศูนย์สารสนเทศการเกษตร ได้ลงพื้นที่สำรวจในจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว ระหว่างวันที่ 19 - 23 พฤษภาคม 2568 เก็บตัวอย่างแปลงเพาะปลูกจำนวน 300 แปลง โดยมุ่งเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีผลการแปลวิเคราะห์เนื้อที่เพาะปลูกทับซ้อนกัน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับเทคโนโลยีดัชนีพืชพรรณ (Vegetation Index) 4 วิธี ได้แก่ ดัชนีความแตกต่างของพืชพรรณแบบนอร์มอลไลซ์ (Normalized Difference Vegetation Index: NDVI), ดัชนีพืชพรรณปรับแก้หน้าดิน (Soil-Adjusted Vegetation Index: SAVI), ดัชนีความแตกต่างในช่วงขอบความยาวคลื่นสีแดงแบบนอร์มอลไลซ์ (Normalized Difference Red Edge: NDRE) และดัชนีปริมาณคลอโรฟิลด์ (Chlorophyll Index: CHI) ซึ่งใช้วัดปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบพืชและคุณลักษณะการสะท้อนแสงเชิงคลื่นของใบ เพื่อดูว่าแปลงนั้นปลูกพืชอะไรอยู่ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่สำรวจได้ มาแบ่งเป็นชุดข้อมูลฝึกหัดและทดสอบ เพื่อฝึกแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เรียกว่า XGBoostให้สามารถวิเคราะห์และแยกประเภทการใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการแปลและวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมผิดพลาด อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพื้นที่ทับซ้อนของเนื้อที่เพาะปลูกพืชแต่ละชนิดได้

ผลการทดลองพบว่า แบบจำลองดังกล่าวสามารถทำนายประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน  ได้ถูกต้องประมาณร้อยละ 55 ตัวอย่าง กล่าวคือ หากเกิดปัญหาผลการแปลพื้นที่เพาะปลูกของพืชทับซ้อนกันจำนวน 100 แปลง แบบจำลองนี้ จะสามารถทำนายการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แท้จริงของบริเวณดังกล่าวได้ถูกต้องถึง 55 แปลง  ซึ่งแม้ยังไม่แม่นยำมาก แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาต่อไป อย่างไรก็ตาม ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการเก็บตัวอย่างในแปลงที่เพิ่งเริ่มปลูก ซึ่งต้นพืชยังเล็ก มีจำนวนใบน้อย ทำให้การสะท้อนแสงเชิงคลื่นจากพื้นดินรบกวนการประมวลผล ดังนั้น สศก. จะมีการปรับปรุงและคัดเลือกแปลงที่ต้นพืชเติบโตเต็มที่ เพื่อให้การวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียมมีความแม่นยำมากขึ้น และนำไปใช้ประกอบการวางแผนด้านการเกษตรของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สศก. มุ่งพัฒนาข้อมูลเอกภาพด้านการเกษตร สร้างความเชื่อมั่น ด้วยข้อมูลที่แม่นยำ เชื่อถือได้ สศก. มุ่งพัฒนาข้อมูลเอกภาพด้านการเกษตร สร้างความเชื่อมั่น ด้วยข้อมูลที่แม่นยำ เชื่อถือได้
  • รวมพลัง สืบสาน รักษา  ต่อยอดพระราชปณิธาน  สศก. ร่วมภาคีเครือข่าย เปิดเวทีสัมมนาผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2568 รวมพลัง สืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชปณิธาน สศก. ร่วมภาคีเครือข่าย เปิดเวทีสัมมนาผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2568
  • ส่องทิศทางการค้าสินค้าเกษตรไทย สศก. เผย ยังคงเติบโตได้ดีในตลาดอาเซียนและตลาดโลก ส่องทิศทางการค้าสินค้าเกษตรไทย สศก. เผย ยังคงเติบโตได้ดีในตลาดอาเซียนและตลาดโลก
  • จีดีพีเกษตร ไตรมาส 1 ทิศทางสดใส เติบโตร้อยละ 3 ทุกสาขาขยายตัว คาดทั้งปี ขยายตัวร้อยละ1.8 - 2.8 จีดีพีเกษตร ไตรมาส 1 ทิศทางสดใส เติบโตร้อยละ 3 ทุกสาขาขยายตัว คาดทั้งปี ขยายตัวร้อยละ1.8 - 2.8
  • เกษตร เปิดขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการทางการเกษตร ผ่านออนไลน์ เกษตร เปิดขึ้นทะเบียนผู้ให้บริการทางการเกษตร ผ่านออนไลน์
  • สศก. จัดงานสถาปนา ครบรอบ 46ปี  ปลดล็อกเกษตรไทย สร้างโอกาสใหม่ให้เกษตรกร สศก. จัดงานสถาปนา ครบรอบ 46ปี ปลดล็อกเกษตรไทย สร้างโอกาสใหม่ให้เกษตรกร
  •  

Breaking News

ผอ.สำนักพุทธฯ ยอมรับ การทำงานมีปัญหาจริง ย้ำไม่มีการหมกเม็ด

'บิ๊กเล็ก'จี้'กัมพูชา' เก็บกู้กับดักเก่าให้หมด หากพบของใหม่เท่ากับละเมิด MOU43

กรมอุตุฯประกาศ‘ฉบับ 2’ เตือนฝนตกหนักถึงหนักมาก ช่วง 19-24 ก.ค.นี้

'หมอวรงค์' เหน็บ 'ภูมิธรรม' ปมโดน'ฮุนเซน'โต้กลับ ชี้ผลจากการกินข้าว 10 ปีหรือไม่?

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved