วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / สกู๊ปพิเศษ
‘ทุนข้ามชาติVSวิถีท้องถิ่น’ วิกฤติใหญ่ในยุคโลกาภิวัตน์

‘ทุนข้ามชาติVSวิถีท้องถิ่น’ วิกฤติใหญ่ในยุคโลกาภิวัตน์

วันจันทร์ ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558, 02.00 น.
Tag :
  •  

ปัจจุบันกระแสโลกเริ่มให้ความสนใจกับเรื่องของ “สิ่งแวดล้อม” เห็นได้จากสินค้ายุคใหม่ๆ จุดขายอย่างหนึ่งคือ
ต้องโฆษณาว่าเป็น “ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก” ประหยัดพลังงานบ้าง ย่อยสลายง่ายบ้าง รวมถึงอุตสาหกรรมที่อาจก่อมลพิษก็เริ่มถูกต่อต้านจากผู้คนในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย หลายชุมชนลุกขึ้นมาคัดค้านโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพราะหวั่นเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในท้องถิ่น

เนื่องจากที่ผ่านมาพวกเขาได้เห็น “บทเรียนราคาแพง” ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีโครงการอุตสาหกรรมแล้วประชาชนในพื้นที่ไม่อาจดำรงชีวิตได้ปกติสุขจากปัญหามลพิษทั้งเสียง น้ำและอากาศ หลายคนเจ็บป่วยและเสียชีวิต แต่ขณะเดียวกันก็เกิดคำถามว่า...ถ้าไม่มีอุตสาหกรรม ไม่มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ไม่มีแหล่งพลังงานที่เพียงพอต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมเมือง ที่ความต้องการใช้พลังงานมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร?


“บาดแผล” ในใจประชาชน

“ตั้งแต่ พ.ศ.2540 จนถึงปัจจุบัน เราจะเห็นว่าสังคมไทยมีภาวะวิกฤติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสูงมาก ลักษณะการคัดค้านของชาวบ้าน ก็จะมีทั้งการปิดป่าบ้าง ปิดถนนบ้าง ปิดพื้นที่เพื่อไม่ให้มีการศึกษาอีไอเอ (EIA-รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม) บ้าง ปัญหาเหล่านี้มันมีที่มาที่ไป”

เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวในการอภิปราย “มุมมองขององค์กรภาคเอกชนต่อการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม” ปลายเดือนต.ค. 2558 ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานศาลปกครอง ว่านับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่รับรอง “สิทธิของชุมชน” ประกาศใช้ ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ก็เริ่มลุกขึ้นมาตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ ไปจนถึงประท้วงต่อต้านโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่ว่าของรัฐหรือเอกชน

เพ็ญโฉม อธิบายว่า ที่เป็นเช่นนี้ ต้องมองย้อนไปในอดีตที่ผ่านมาที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมมามาก เช่น แรงงานหลายรายออกมาร้องเรียนว่าป่วยเพราะทำงานในโรงงานที่ใช้สารเคมี โดยเฉพาะในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ซึ่งอุตสาหกรรมแถบนั้นใช้สารเคมีค่อนข้างมาก, แหล่งน้ำสาธารณะที่เน่าเสีย แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรงงานใดที่ปล่อยน้ำเสียลงไป, การทิ้งขยะอันตรายในที่ใกล้กับชุมชนหรือพื้นที่เกษตร

“เราจะเห็นว่าตั้งแต่ปีนั้นมา เราจะเห็นการชุมนุมคัดค้านกันแทบทุกพื้นที่เลย แล้วก็มีชาวบ้านจากหลายพื้นที่ไปดูงานที่มาบตาพุดและแม่เมาะ อันนี้มันเป็นผลพวงจากการละเลยปัญหาของภาครัฐในอดีตที่ผ่านมา ฉะนั้นในช่วงสิบกว่าปีมานี้ บ้านเรามีวิกฤตการณ์มากเลยทีเดียว ที่โครงการขนาดใหญ่เดินไปได้ยาก” เพ็ญโฉม กล่าว

ยุคที่ “ทุน” มีอำนาจเหนือ “รัฐ”

เป็นเวลาหลายร้อยปีนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในโลกตะวันตก สังคมมนุษย์ได้เข้าสู่ยุคสมัยแห่ง “ทุนนิยม” ที่การค้า การลงทุน การทำธุรกิจเป็นไปอย่างเสรี ด้านหนึ่งระบบเศรษฐกิจแบบนี้ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าสอดคล้องกับนิสัยใจคอของคนทั่วไปมากที่สุด เพราะเปิดโอกาสให้แสวงหาผลประโยชน์ได้เต็มที่ตามความสามารถ

ทว่าอีกด้านหนึ่ง เมื่อทุนได้ขยายตัวไปแล้วก็ยากที่จะมีอะไรหยุดยั้ง หากประเทศบ้านเกิดของตนเริ่มอิ่มตัว ทุนก็จะย้ายไปยังประเทศอื่นๆ ที่ประชาชนในท้องถิ่นยังไม่รู้เท่าทันแล้วก็มักจะไปก่อปัญหา ซ้ำร้ายในยุคโลกาภิวัตน์ ดูเหมือนว่ากลุ่มทุนขนาดใหญ่เหล่านี้จะมีอำนาจเหนือกว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ ไปเสียแล้ว

“ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เฉพาะปัญหาภายในประเทศ มันเป็นปัญหาระดับระหว่างประเทศแล้ว คุณดูอย่างเหมืองทอง 
เขามาจากออสเตรเลีย คนไทยในออสเตรเลียบอกว่าที่นั่นมีทองเยอะ มีแร่ยูเรเนียมเยอะ แต่ประชาชนที่นั่นเขาเข้มแข็ง 
เขาไม่ยอมให้ทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ยอมให้มีการขุดทอง ฉะนั้นบริษัทพวกนั้นเขาก็เลยมาขุดทองในประเทศอย่างพวกเรา และศาลของเราก็อาจจะยังไม่สามารถไปจัดการกับปัญหาเหล่านี้”

รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร (สว.กทม.) กล่าวถึงผลกระทบของทุนข้ามชาติต่อประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งนอกจากเหมืองทองแล้ว ยังมีเรื่องใหม่ๆ ที่ต้องระวัง เช่น การขุดเจาะปิโตรเลียมด้วยวิธี“แฟร็คกิ้ง” (Fracking) ซึ่งแม้จะนำน้ำมันและก๊าซจากใต้ดินขึ้นมาใช้ได้มากขึ้น แต่ก็สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้มากเช่นกันจากสารเคมีที่ปนเปื้อนในดินและน้ำ กระทั่งหลายรัฐของสหรัฐอเมริกายังต้องออกกฎหมายห้ามใช้วิธีดังกล่าวขุดเจาะ ทว่ากฎหมายไทยยังไม่มีการห้าม จึงสุ่มเสี่ยงที่บริษัทขุดเจาะพลังงานจะนำมาใช้ในประเทศไทย

ถึงกระนั้น..แม้ในอนาคตรัฐบาลไทยจะออกกฎหมายห้ามประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมขึ้นมาจริงๆ รวมถึงจัดตั้ง “ศาลสิ่งแวดล้อม” ขึ้นมารับผิดชอบคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยตรงก็ตาม แต่สิ่งที่ทั้งรัฐบาลและหน่วยงานยุติธรรมไทยต้องเผชิญ คือ กลุ่มทุนข้ามชาติจะไปร้องต่อ “อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ” ด้วยเหตุว่ารัฐบาลประเทศนั้นๆ ออกมาตรการกีดกันการค้าของตน

รสนา ยกกรณีรัฐบาลออสเตรเลีย ถูกบริษัทยาสูบยักษ์ใหญ่
ข้ามชาติฟ้องละเมิด เนื่องจากพยายามออกกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ซึ่งบริษัทอ้างว่าขัดต่อหลักการค้าเสรี ขณะที่
รัฐบาลแดนจิงโจ้ยืนยันว่ามีอำนาจทำได้เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน

“แฟร็คกิ้งเป็นการใช้แรงไปกระทบกับแผ่นหินดินดานให้แตกเพื่อจะดึงก๊าซหรือน้ำมันออกมาใช้ ซึ่งอันนี้มันอัดสารเคมีเป็นร้อยๆ ชนิดลงไป มันก็จะระบาดไปสู่ระบบน้ำใต้ดิน สหรัฐอเมริกาตอนนี้หลายรัฐมีกฎหมายห้ามทำ แต่ประเทศไทยยังไม่ได้ห้าม สมมุติที่นาดูนมูลสาด (พื้นที่สำรวจก๊าซธรรมชาติใน จ.ขอนแก่น) ใช้แฟร็คกิ้ง กระทบน้ำใต้ดินและสุขภาพชาวบ้านแน่นอน เกิดศาลสิ่งแวดล้อมสั่งห้าม ระงับความเสียหายด้วยการไม่ให้ทำ รัฐบาลก็ถอนสัมปทาน อ้าว...ถูกบริษัทฟ้อง คุณต้องไปใช้อนุญาโตตุลาการ แล้วท่านจะทำยังไงต่อไป?

เดี๋ยวนี้คดีหลายอย่าง กฎหมายระหว่างประเทศเข้ามามีบทบาทต่อประเทศหรือประชาชน ออสเตรเลียเขาออกกฎหมายเรื่องบุหรี่ บริษัทฟ้องว่ารัฐไม่สามารถออกหลักเกณฑ์แบบนี้ เพราะมันทำให้เขาขาดทุนหรือลดกำไรลง ออสเตรเลียก็บอกว่าเขามีสิทธิ์เพราะต้องปกป้องสุขภาพประชาชน

ก็ปรากฏว่าบริษัทนี้เขาไปฟ้องที่ฮ่องกง เพราะรัฐบาลออสเตรเลียเขาไปทำเอฟทีเอ (FTA-ข้อตกลงเขตการค้าเสรี) 
กับฮ่องกง ฟ้องย้อนกลับมาว่ารัฐบาลออสเตรเลียออกหลักเกณฑ์ที่เป็นนโยบายสาธารณะแล้วมากระทบต่อสิทธิ์ของเขา” อดีต สว.กทม. ระบุ พร้อมกับฝากประเด็นทิ้งท้ายไว้ว่า...

แล้วรัฐและหน่วยงานยุติธรรมของไทยจะรับมือสถานการณ์แบบนี้อย่างไร?

SCOOP@NAEWNA.COM

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'อิงฟ้า'เผยภาวะอารมณ์สวิงจากการทำงานหนัก จนวางแผนเกษียณ!?

‘ปชน.’ปัดเล่นเกมนับองค์ประชุมป่วน‘สภาล่ม’ เหน็บสะท้อนรัฐบาลไม่มั่นคง

’ทรู‘ยิงสด! คว้าสิทธิ์ถ่ายทอดซีเกมส์-พาราเกมส์

ความแค้น คำสาปหรือจะสู้ แผงหน้าอก!! ‘ณเดชน์’ ทำแฟนละครฟิน แบกเรตติ้งพุ่ง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved