วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเสื่อมสภาพของสีทาบ้าน  อันเนื่องมาจากจุลินทรีย์

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเสื่อมสภาพของสีทาบ้าน อันเนื่องมาจากจุลินทรีย์

วันอาทิตย์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

จุลินทรีย์จัดเป็นสาเหตุสำคัญในลำดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของสีทาบ้าน สร้างปัญหาทั้งต่ออุตสาหกรรมการผลิตสีและผู้อยู่อาศัย แม้จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อโครงสร้างของบ้าน แต่ก็นำมาซึ่งการสูญเสียสุนทรียภาพด้านความงามและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและสุขภาพทางกาย ตลอดจนการสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อผู้บริโภคและบริษัทผู้ผลิตจำหน่าย

จุลินทรีย์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีศักยภาพในการเจริญบนสีที่แตกต่างกันไป แบ่งคราวๆ ออกเป็น 3 ชนิด คือ แบคทีเรีย รา และสาหร่ายหรือตะไคร่


เชื้อแบคทีเรีย สามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเนื้อสีภายในกระป๋อง โดยเฉพาะในสีทาบ้านที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก เช่น สีอิมัลชันใช้งานทั่วไป สีอิมัลชันทนสภาวะอากาศ ฯลฯ เมื่อเชื้อเจริญเติบโตจะทำให้สีสูญเสียคุณสมบัติที่สำคัญต่างๆ ความหนืดลดลง สีเปลี่ยน สีเน่าและเกิดแก๊สส่งกลิ่นเหม็น เกิดฟอง และอาจเกิดการตกตะกอนแยกชั้น เชื้อแบคทีเรียที่มักพบปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สีและในวัตถุดิบของกระบวนการผลิตสีมีหลายพันธุ์ เช่น แบคทีเรียในตระกูล Pseudomomas, Aeromonas, Serratia, Bacillus, E.Coli ฯลฯ เป็นต้น

เชื้อรา สามารถก่อปัญหากับสีในกระป๋องได้เช่นกันแต่พบไม่มากเท่าแบคทีเรีย ปัญหาจากเชื้อราส่วนใหญ่มักจะเกิดกับฟิล์มสีที่ทาภายในอาคาร โดยเชื้อรามักจะเจริญบนพื้นผิวสีที่ทาภายในห้องที่มีความชื้น เช่น ห้องน้ำห้องครัว หรือที่ที่มีน้ำรั่วซึม เมื่อเชื้อราเจริญจะสร้างเส้นใยและสปอร์ ซึ่งโดยมากจะมีสีดำ สีเขียว ทำให้เกิดภาพที่ไม่ชวนดู ส่งกลิ่นเหม็นอับชื้น และอาจทำให้ฟิล์มสีหลุดร่อนง่าย นอกจากนี้สปอร์ยังก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้อันเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพด้วย ตัวอย่างของเชื้อราที่มักพบว่าก่อปัญหากับฟิล์มสี เช่น Aspergillus, Cladosporium, Penicillium ฯลฯ

ในส่วนของสาหร่าย พบว่า สาหร่ายไม่เจริญภายในกระป๋องสี เพราะสาหร่ายต้องการแสงเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง แต่สามารถเจริญได้เป็นอย่างดีบนฟิล์มสีหลังทาสำหรับสีที่ทาภายนอก โดยเฉพาะในฤดูฝน หรือที่มีฝนตกชุกและมีแสงสว่าง สาหร่ายก่อให้เกิดคราบสีเขียวสีดำและการหลุดร่อนของฟิล์มสี ซึ่งมักก่อให้เกิดปัญหาทางทัศนียภาพเป็นหลัก สายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่ Nostoc, Chlorococcum, และ Phormidium เป็นต้น

เนื่องจากปัญหามากมายที่เกิดจากจุลินทรีย์ บริษัทผู้ผลิตจึงต้องใส่สารฆ่าเชื้อลงในสี เพื่อป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ประเภทต่างๆ ซึ่งสารฆ่าเชื้อมีหลากหลายชนิด เช่น สารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สารฆ่าเชื้อรา และสารป้องกันการเจริญของตะไคร่ สารฆ่าเชื้อบางชนิดมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์หลายประเภทในเวลาเดียวกัน บางชนิดใช้ป้องกันการเจริญของแบคทีเรียและราในกระป๋องสี สารฆ่าเชื้อประเภทนี้ผู้ผลิตจำเป็นต้องใส่อยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอายุการเก็บและป้องกันการเสื่อมสภาพของสี สำหรับสารฆ่าเชื้อที่ป้องกันการเจริญของเชื้อบนฟิล์มสี ผู้ผลิตมักให้ความสนใจน้อยกว่า เพราะสารฆ่าเชื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้อาศัย และมีคุณสมบัติติดทนทานกับเนื้อสีมักมีราคาแพง ในขณะที่ปัญหากว่าจะเกิดหรือถูกตรวจพบก็ใช้เวลานานแรมเดือนแรมปี ที่สำคัญสีที่ใส่สารฆ่าเชื้อแล้วยังมีโอกาสเสียได้ โดยเฉพาะถ้าวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตเกิดการปนเปื้อน เช่น น้ำ ผงสี สารยึด สารกระจายผงสีสารลดฟอง ฯลฯ ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้นของวัตถุดิบที่สูงทำให้สีเสียเร็วกว่าปริมาณเชื้อเริ่มต้นที่ต่ำ ทำให้ต้องใช้สารฆ่าเชื้อในปริมาตรที่มากกว่า ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม เชื้อจุลินทรีย์เองก็อาจทำให้วัตถุดิบเสียสภาพก่อนนำมาผลิต ส่งผลต่อคุณภาพที่ลดลงของฟิล์มสีหลังทา การปนเปื้อนระหว่างกระบวนการผลิตและการบรรจุก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ การประยุกต์ใช้มาตรการต่างๆ ของโรงงานผลิต เช่น การตรวจสอบกระบวนการผลิตและวัตถุดิบ การเฝ้าระวัง และมาตรการป้องกัน จะเป็นการลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เมื่อถึงมือผู้ใช้แล้ว ผู้บริโภคเองก็ต้องระมัดระวังในการเลือกซื้อสีที่มีคุณภาพ เลือกใช้ชนิดสีที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ และที่สำคัญต้องเลือกสีที่มีตรามาตรฐานรับรองจากโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน ซึ่งแม้จะไม่สามารถหยุดปัญหาที่เกิดขึ้นได้เต็มร้อยแต่อย่างน้อยก็ช่วยป้องกันปัญหาข้างต้นได้ในระดับหนึ่ง

ดร.พลายแก้ว ไชยเบญจวงศ์, ขวัญจิต ควรดี

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เปิดใจหลวงพ่อ! รับ'พัดยศ'เดินเท้ากลับวัด 'นครปฐม-เพชรบุรี'138กม.

ทุบเปรี้ยง! แฉ 3 ข้อ‘ปชน.-พท.’ประสานเสียง‘วาระซ่อนเร้น’ ชนวนปชช.ฮือไล่‘ฝ่ายค้าน-รัฐบาล’ล่ม

อุ๊งเอ้งออกไป! เพลงหลุดโลกจาก'อ.ไม้ร่ม' กวาด9ล้านวิว 'ฟังไม่รู้เรื่อง แต่โดนใจสุดๆ'

คุรุสภาเปิดสอบวิชาเอก 66 กลุ่มวิชา เตรียมตัวสมัคร 16 - 25 ก.ค.นี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved