วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : พิษภัยในอากาศรอบตัว

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : พิษภัยในอากาศรอบตัว

วันอาทิตย์ ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ
  •  

อากาศเป็นก๊าซที่อยู่รอบตัวเรา ประกอบด้วย อนุภาคขนาดเล็กมากๆ ที่เรียกว่า โมเลกุล เราไม่สามารถมองเห็นโมเลกุลได้ด้วยตาเปล่า แต่โมเลกุลนี้ก็มีน้ำหนักและต้องการที่อยู่อาศัย เราสามารถสัมผัสอากาศตลอดเวลา แม้ว่าเราจะมองไม่เห็นอากาศ แต่บางครั้งเราก็รู้สึกสัมผัสได้เช่น เมื่อลมพัดมาโดนตัวเรา ลมที่สัมผัสตัวเราก็คือ “อากาศ” นั่นเอง

อากาศมีความสำคัญกับสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือพืชล้วนแล้วต้องการก๊าซออกซิเจนจากอากาศเพื่อหายใจ ซึ่งในปัจจุบันอากาศที่บริสุทธิ์ยิ่งสำคัญมากที่สุด เนื่องจากค่าฝุ่นละอองในหลายประเทศ หรือแม้แต่ประเทศไทยเราไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ ปริมณฑล และอีกหลายจังหวัดที่มีข่าวเมื่อไม่นานมานี้ อยู่ในเกณฑ์สูงจนถึงระดับ “ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ” อาจทำให้หลายคนเริ่มตระหนักถึงภัยอันตรายจากฝุ่นละอองในอากาศมากขึ้น แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ มลพิษทางอากาศ ซึ่งไม่เพียงแค่ฝุ่นละอองตามท้องถนนเท่านั้น แต่ยังมีมลพิษทางอากาศอีกมากมายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเราควรใส่ใจให้ความระมัดระวังกับอากาศรอบตัวกันให้มากขึ้นด้วย


มลพิษในอากาศ มีหลายอย่าง เช่น

1.ฝุ่นละออง เป็นปัญหาหลักในชุมชนขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ผ่านโพรงจมูกเข้าไปถึงถุงลมในปอด ทำให้เกิดการอักเสบ และฝุ่นละอองจะมีพิษมากขึ้น หากฝุ่นละอองนั้นเกิดจากการรวมตัวของก๊าซบางชนิดโดยอาจก่อให้เกิดการแพ้ และระคายเคืองผิวหนัง ทางเดินหายใจและดวงตาได้

2.สารตะกั่ว มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาท และมีผลต่อกระบวนการรับรู้ และการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์

3.ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อหายใจเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไป จะทำให้ความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ลดลง ทำให้เลือดขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และหัวใจทำงานหนักขึ้น

4.ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง และเยื่อบุตา ทำให้เกิดการแสบจมูก หลอดลม ผิวหนัง และตา

5.ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน มีผลต่อระบบการมองเห็น
และผู้ที่มีอาการหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไป จะทำให้มีอาการกำเริบขึ้นได้

6.ก๊าซโอโซน มีฤทธิ์กัดกร่อน ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา และเยื่อบุระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อจมูก และปอดได้

7.สารอินทรีย์ที่ระเหยง่าย มีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ โดยทำให้เกิดการอักเสบ และการระคายเคืองเรื้อรัง นอกจากนี้สารบางชนิดเป็นสารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ และเสี่ยงต่อการก่อมะเร็งอีกด้วย

การใช้ชีวิตในปัจจุบันเป็นไปได้ยากที่จะปฏิเสธที่จะไม่เจอมลพิษทางอากาศ แต่เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศได้หลายวิธี เช่น

1.หลีกเลี่ยงการเดินทางในถนนที่มีการจราจรคับคั่ง เพราะมักพบความเข้มข้นของมลพิษอยู่บริเวณนั้น

2.ใช้ถนนที่ไม่ใช่เส้นหลัก เพราะมีรถสัญจรน้อย

3.หลีกเลี่ยงแหล่งกระจุกตัวของอากาศเป็นพิษ ซึ่งหมายถึงบริเวณที่รถจอดนิ่งโดยที่ติดเครื่องยนต์ไว้

4.หน้ากากกันฝุ่นละอองแบบธรรมดาไม่สามารถป้องกันฝุ่นละอองเป็นพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่หน้ากากป้องกันมลพิษแบบเต็มประสิทธิภาพก็มักเทอะทะ
ไม่สะดวกในการใช้งาน นักวิทยาศาสตร์จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงถนนที่มีการจราจรคับคั่งแทน

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1)  (Sleep Equity for Global Health) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1) (Sleep Equity for Global Health)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1)
  •  

Breaking News

(คลิป) เมื่อกล้องวงจรปิด 'ชั้น14และบ้านจันทร์ส่องหล้า' เสียพร้อมกัน นอนบ้านไม่ได้นอนชั้น14 ด้วยหรือไม่

KNU ประกาศชัยชนะตีฐานทหารเมียนมาตรงข้ามช่องทางพุน้ำร้อนเมืองกาญจน์แตกกระเจิง

คดี‘ชั้น 14’พ่นพิษ! ‘บิ๊กต่าย’สั่งกองวินัยเตรียมสอบ‘หมอ รพ.ตำรวจ’

ได้โอกาสส่งออก! ‘อินโดนีเซีย’เผยปี’68คาดผลผลิตข้าวเหลือเกินบริโภคในปท.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved