วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : โปรตีนทางเลือกทดแทนเนื้อสัตว์

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : โปรตีนทางเลือกทดแทนเนื้อสัตว์

วันอาทิตย์ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

อัตราการเติบโตของจำนวนประชากรโลกนั้นมีการเพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว ความยั่งยืนทางการบริโภคนั้นจึงเป็นประเด็นที่หลายประเทศและภาคส่วนให้ความสำคัญ หรือแม้กระทั่งกระแสรักสุขภาพที่ต้องการงดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีรายงานวิจัยบางงานได้กล่าวถึงการบริโภคเนื้อแดงว่ามีปริมาณไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูงและเมื่อนำไปแปรรูปเป็นเบคอนหรือไส้กรอกนั้นมีความเชื่อมโยงกับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2โรคหัวใจและโรคมะเร็งด้านสิ่งแวดล้อมนั้นเองก็เข้ามามีบทบาทเช่นเดียวกัน พบว่ากระบวนการตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์จนถึงมือผู้บริโภคนั้นมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมากเมื่อเทียบกับโปรตีนทางเลือกอื่นๆ จากรายงานของ The World Economic Forum (WEF) พบว่าหากเปลี่ยนจากการบริโภคเนื้อวัวเป็นโปรตีนทางเลือกชนิดอื่นนั้นทำให้ก๊าชเรือนกระจกลดลงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการตายลดลงถึง 5 เปอร์เซ็นต์

โปรตีนทางเลือกนั้นสามารถผลิตจากสิ่งมีชีวิตหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นสาหร่าย พืชตระกูลถั่วหรือเมล็ดของพืช แมลง กระบวนการหมักยีสต์ซึ่งจะได้เวย์โปรตีนและเคซีน หรือแม้กระทั่งการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์จากห้องปฏิบัติการ โปรตีนจากแมลงนั้นนอกจากประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ประเทศแถบยุโรปสนใจในการบริโภคแมลงและมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี นอกจากจะมีโปรตีนที่มีคุณภาพสูงแล้วยังมีรสชาติอร่อย สามารถเลี้ยงเพิ่มปริมาณได้ง่ายในโรงเรือนเพื่อจะให้ปราศจากสารเคมีและเพิ่มจำนวนได้รวดเร็วเนื่องจากช่วงชีวิตสั้น โปรตีนจากถั่วเป็นแหล่งธัญพืชที่มีกากใย ธาตุเหล็ก โพแทสเซียมและกรดอะมิโนบางชนิดสูง สามารถหาบริโภคได้ง่ายเนื่องจากมีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบและแหล่งจำหน่ายมีทั่วไป สาหร่ายอาหารสุขภาพซึ่งบางสายพันธุ์นั้นมีธาตุอาหารใกล้เคียงกับไข่ไก่สามารถรับประทานได้ง่ายและหลากหลายรูปแบบ เป็นอาหารหรือแม้กระทั่งนำไปผสมกับเครื่องดื่มเพื่อเพิ่มรสชาติ ควบคุมน้ำหนักและให้สารอาหารที่มีประโยชน์สูง ซึ่งสาหร่ายที่มีการบริโภคกันมายาวนานแล้ว เช่น สายพันธุ์สาหร่ายสไปรูลิน่ามากกว่าห้าปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบโปรตีนที่มาจากนมและไข่ที่นำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค high-level DNA sequence analysis และสังเคราะห์ออกมาเป็นโปรตีนจำลองที่สามารถผลิตได้จากห้องปฏิบัติการและพบว่าด้วยเทคนิคนี้เราจะสามารถสังเคราะห์โปรตีนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์จริงๆ ได้ในไม่ช้าเพื่อเป็นโปรตีนทางเลือกและสร้างความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต


ในอนาคตอุตสาหกรรมโปรตีนจากเนื้อสัตว์และโปรตีนทางเลือกนั้นมีศักยภาพที่จะไปต่อและเสริมซึ่งกันและกันเพื่อความยั่งยืนทางด้านอาหารในอนาคต อุตสาหกรรมจะแบบเดิมจะผันตัวเป็นอุตสาหกรรมโปรตีนไม่ใช่แต่เพียงอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์อีกต่อไป ทั้งยังต้องสร้างระบบการผลิตทั้งกระบวนการจนกระทั่งการจัดจำหน่ายให้ถึงมือผู้บริโภคให้เข้าถึงได้มั่นคงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด

ปกฉัตร กุศลกรรมบถ

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1)  (Sleep Equity for Global Health) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1) (Sleep Equity for Global Health)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1)
  •  

Breaking News

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved