วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สารต้านเชื้อแบคทีเรียจากสาหร่ายน้ำเค็ม

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สารต้านเชื้อแบคทีเรียจากสาหร่ายน้ำเค็ม

วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และศูนย์วิจัยผลลัพธ์ทางสุขภาพและโอสถกรรมานุบาลคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณ 700,000 คน/ปี หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง คาดว่าในปี ค.ศ.2050 การเสียชีวิตจะสูงถึง 10 ล้านคน สำหรับประเทศไทย ข้อมูลปี 2552 พบมีการผลิตและนำเข้ายาปฏิชีวนะสูงมากถึง 11,000 ล้านบาท และพบว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลส่งผลให้ปัญหาเชื้อดื้อยาในประเทศไทยมีแนวโน้มมากขึ้น นอกจากการได้รับยาปฏิชีวนะทางตรงแล้วเรายังได้รับยาปฏิชีวนะทางอ้อมซึ่งเป็นผลจากการบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารทะเลที่มียาปฏิชีวนะตกค้างอยู่ เนื่องจากต้องการที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์ให้ได้ปริมาณมากๆ ให้สัตว์อยู่บริเวณที่แออัดหรือแม้กระทั่งการใช้ยาปฏิชีวนะเกินจำเป็นจึงทำให้เกิดเชื้อดื้อยาขึ้นซึ่งเชื้อเหล่านี้และยาปฏิชีวนะในสัตว์อาจปนเปื้อนมาสู่เราได้

น้ำทะเลนั้นเป็นแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ในระบบนิเวศไม่ว่าจะเป็น หอย ปลาหมึก ปะการัง หรือสาหร่ายเองก็ตามสิ่งมีชีวิตเหล่านี้นั้นได้มีการปรับตัวผ่านวิวัฒนาการเพื่อให้สามารถอยู่รอดและทนทานต่อแบคทีเรียที่มีอยู่ในน้ำทะเล ทั้งสาหร่ายขนาดใหญ่ (seaweed) และสาหร่ายขนาดเล็ก(diatom) ต่างสามารถผลิตสารออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอย่างเช่น สารสีต่างๆ, กรดไขมัน, โพลิแซคคาไรด์, เปปไทด์,โฟลโรแทนนินและเทอปีน ซึ่งต่างมีฤทธิ์ในการต่อต้านแบคทีเรียโดยเฉพาะแบคทีเรียก่อโรค อย่างที่ทราบกันว่าสาหร่ายนั้นถูกอุปโภคและบริโภคมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีรายงานว่าลามินารินและฟูคอยแดนซึ่งเป็นพอลิแซคคาไรต์ที่ได้จากสาหร่ายนั้นมีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียและปลอดภัยสำหรับการบริโภคมีการทดลองป้อนสารสกัดจากสาหร่าย สาหร่าย Laminaria digitate ซึ่งมีสารลามินารินและฟูคอยแดนสามสัปดาห์ในหมูก่อนที่จะนำไปโรงเชือด พบว่าเนื้อที่ได้นั้นมีคุณภาพของกรดไขมันที่ดีขึ้น และมีไขมันที่อิ่มตัวลดลง ส่วนในอาหารทะเลนั้นพบว่าบ่อยครั้งมีการปนเปื้อนเชื้อในจีนัส Vibrio ก็พบเช่นเดียวกันว่าปลาที่บริโภคสาหร่ายนั้นมีอัตราการตายจากการติดเชื้อที่ลดลง


สารออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียนั้นยังคงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างที่เคยมีมาและปัจจุบันผู้บริโภคก็หันมาสนใจสารที่ได้จากธรรมชาติและสมุนไพร สารสกัดหรือแม้กระทั่งตัวสาหร่ายเองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งนอกจากจะให้สารที่มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียแล้วยังทำให้ได้สารหรือผลผลิตทางอ้อมที่มีสารอันมีประโยชน์แก่สุขภาพทางด้านอื่นๆ อีกด้วย

ที่มา: https://www.allaboutfeed.net/

Feed-Additives/Articles/2019/7/A-holistic-approach-to-enhanced-gut-health-450215E/

ปกฉัตร กุศลกรรมบถ

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1)  (Sleep Equity for Global Health) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1) (Sleep Equity for Global Health)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วว./บพท. บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก ผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน (1)
  •  

Breaking News

จับลุงหนีคดีฆ่านับ10ปีถูกตร.ขึ้นบัญชีดำ

‘ดร.เอ้’เปิดใจ! ลั่นเปลี่ยนเป้าเล่นการเมืองระดับประเทศ

ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 'ตี้ วรรณวลี' 2 ปี 8 เดือน ไม่รอลงอาญา คดี ม.112

จับแหล่งผลิตน้ำกระท่อม4x100สูตรใหม่ส่งขายขาโจ๋

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved