วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : อากาศหนาวและผลกระทบต่อสุขภาพ

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : อากาศหนาวและผลกระทบต่อสุขภาพ

วันอาทิตย์ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

อากาศหนาวในช่วงนี้เป็นสิ่งที่หลายคนชอบและอยากให้อยู่นานๆ โดยเฉพาะเมืองร้อนอย่างประเทศไทย เพราะอากาศหนาวทำให้รู้สึกเย็นสบาย และไม่มีเหงื่อออกให้เหนียวตัว แต่ใช่ว่าความหนาวเย็นจะส่งผลดีเสมอไป เนื่องจากอากาศลักษณะเช่นนี้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่ทำให้ผิวแห้ง ไปจนถึงอาการร้ายแรงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากฤดูหนาวนั้นอากาศค่อนข้างปิด มีหมอกหนาแน่น ลมสงบ ซึ่งส่งผลให้ฝุ่นละอองและมลพิษสะสมในอากาศสูงกว่าฤดูอื่นๆ ซึ่งเราอาจจะไม่รู้สึกได้ ทั้งนี้เพื่อให้เท่าทันกับอันตรายในอากาศ และปกป้องระบบทางเดินหายใจของตัวเอง เราจึงควรรู้จักเกี่ยวกับสัญญาณเตือน ผลกระทบ รวมทั้งวิธีการรับมืออากาศหนาวให้มากขึ้น ดังนี้

สัญญาณเตือนที่ทุกคนสามารถรับรู้ถึงความผิดปกติทางอากาศในฤดูหนาวได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง


1.ทัศนวิสัยในการมองเห็นเปลี่ยนไป เนื่องจากมีหมอกควันปกคลุมมากขึ้น ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่า จำนวนหมอกควันที่เกิดขึ้น และสีที่ผิดปกติเป็นหนึ่งในสัญญาณของสภาวะที่อากาศเริ่มมีค่ามลพิษมากผิดปกติ

2.ควันที่ปล่อยออกจากโรงงานมีปริมาณมากผิดปกติ สำหรับชุมชนที่ตั้งอยู่ในบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการเผาไหม้ปล่อยควันออกสู่ธรรมชาติเกินมาตรฐาน ซึ่งหากชุมชนพบว่ามีปริมาณการปล่อยควันจากโรงงานที่มากผิดปกติ ก็เป็นสัญญาณที่ต้องจับตามองถึงความผิดปกติของมลพิษทางอากาศที่อาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

3.ตรวจสอบผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวกในการตรวจสอบความผิดปกติของอากาศ ที่ทุกคนสามารถทำได้ นั่นก็คือ การตรวจสอบผ่านแอพพลิเคชั่นที่มีฟังก์ชั่นตรวจวัดระดับปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ และแปรค่าออกมาในรูปแบบที่คนทั่วไปเข้าใจได้

ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว อากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เชื้อโรคบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีและมีมากขึ้น จนอาจเกิดความผิดปกติและเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งมีหลายโรคที่พึงระวัง เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด สุกใส และอุจจาระร่วง โดยกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่าย ได้แก่ เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี สตรีมีครรภ์ รวมทั้งผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ต้องได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพให้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้อาจมีปัญหาด้านสุขภาพจิต เป็นผู้มีรายได้น้อยจนไม่สามารถซื้อเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องใช้ที่ช่วยป้องกันอากาศหนาวได้

การดูแลตนเองและป้องกันภัยจากอากาศหนาว อากาศหนาวอาจทำให้เกิดผลกระทบกับร่างกายได้หลายรูปแบบ จึงควรดูแลร่างกายตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพโดยอาจปฏิบัติตามวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้

l ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย

l สวมเครื่องแต่งกายที่ช่วยป้องกันความหนาวเย็นและทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น เช่น สวมเสื้อผ้าหลายชั้น สวมเสื้อกันหนาวสวมแว่นตา ผ้าพันคอ หมวก ถุงมือ ถุงเท้า หรือรองเท้าบู๊ทกันน้ำ เป็นต้น

l ทาครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง

l รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำอุ่นหรือดื่มเครื่องดื่มที่สามารถให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย อย่างเช่น ช็อกโกแลต ข้าวโอ๊ตบด ซุปฟักทอง น้ำขิง หรืออาหารที่มีรสเผ็ด

l หากเป็นผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ หรือเคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ไม่ควรออกนอกบ้านในวันที่มีอากาศเย็นจัด และควรทำให้อุณหภูมิภายในบ้านสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส

l งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในช่วงภาวะอากาศหนาว เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้และไม่ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น

l ระมัดระวังและสังเกตอาการผู้ป่วยที่กินยาบางชนิด เช่นยากล่อมประสาท ยารักษาอาการชัก และอื่นๆ ที่มีผลทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง

l ในช่วงอากาศหนาวอาจทำให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งให้ยึดหลัก “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ปิด คือ ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม หากเจ็บป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ ควรใส่หน้ากากอนามัย ล้าง คือ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่เมื่อสัมผัสสิ่งของสงสัย เลี่ยง คือ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หยุด คือ เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด ส่วนโรคติดต่อทางอาหารและน้ำที่ต้องระมัดระวังคือ โรคอุจจาระร่วง ในช่วงฤดูหนาวจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วง โดยขอให้ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ”

l หมั่นดูแลรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ และอาศัยอยู่ในที่อบอุ่นสามารถป้องกันลมหนาวอย่างเหมาะสม

จะเห็นได้ว่าอากาศที่หนาวเย็นนั้นอาจเป็นสาเหตุของอาการป่วยได้หลายชนิด ซึ่งอาการบางอย่างอาจร้ายแรงถึงชีวิตได้ ดังนั้นการทำร่างกายให้อบอุ่น สุขภาพแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์ที่เสี่ยงก็จะทำให้เราปลอดภัยและสามารถรับมือกับอากาศหนาวเย็นได้ อย่างไรก็ตามหากเกิดความผิดปกติขึ้นภายในร่างกายภายหลังจากสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นและมีอาการดังที่แนะนำในบทความ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

เรียบเรียงและอ้างอิงจาก : https://www.pobpad.com

https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1284619

https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000001977

https://www.thaihealth.or.th/Content/3475

https://news.thaipbs.or.th/content/286748

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

'El Clásico2025' เมื่อเก้าอี้ดนตรีเริ่มบรรเลง

‘SCB’แจงปมเก็บค่าโอนเงินต่างธนาคารผ่าน SCB Business Anywhere

เลือกตั้งสมุทรสาคร! จยย.ขนคนไปลงคะแนน คอยคุมแจกติ้ว-ขึ้นเงินหลังปิดหีบ

วัดใจคนธัญบุรี! ‘นายกเบี้ยว-ลูกพีช’ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเทศบาล ลั่นพร้อมแถลงไม่ว่าแพ้-ชนะ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved