วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต (The Seed of Life)

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต (The Seed of Life)

วันอาทิตย์ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่า ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเริ่มมีการถูกทำลายมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน ประเทศ และระดับโลกล้วนแล้วแต่ส่งผลทำให้ทรัพยากรทางธรรมชาติโดยเฉพาะทรัพยากรทางด้านพืชพรรณได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก เนื่องจากทรัพยากรทางด้านพืชส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม การสร้างถนนหรือที่อยู่อาศัยของมนุษย์ เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นแล้ว พืชไม่สามารถที่จะอพยพหรือหลบหนีได้ อาจทำให้สูญพันธุ์หรือมีจำนวนที่น้อยลง

โดยธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตจะมีกระบวนการในการกระจายพันธุ์หรือดำรงเผ่าพันธุ์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยพืชจะใช้เมล็ดพันธุ์เพื่อการกระจายพันธุ์ ธรรมชาติจะมีกลไกในการปกป้องรักษาเมล็ดพันธุ์ เช่น การสร้างผนังเมล็ดพันธุ์ (Seed Coat ) ให้มีความหนาเพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ การสร้างสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเมล็ด เป็นต้น


เมล็ดพันธุ์ (Seed) เป็นส่วนหนึ่งของพืชที่ใช้ในการขยายพันธุ์หรือกระจายสายพันธุ์เพื่อความคงอยู่ของสายพันธุ์นั้นๆ จากสถานการณ์ที่กล่าวเบื้องต้นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติโดยเฉพาะการอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมพืชในรูปของเมล็ดพันธุ์สามารถเก็บรักษา โดยการนำมาเก็บไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการดำรงและคงอยู่ของสายพันธุกรรมพืชต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาและวิจัย

สถานีวิจัยลำตะคอง หน่วยงานภายใต้ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เข้าร่วม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) เพื่อดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยผ่านกิจกรรมของทางสถานีฯ เช่น การสร้างอาคารจัดแสดงพรรณไม้หายาก พรรณไม้ใช้ประโยชน์ การปลูกแปลงสักเพื่อการอนุรักษ์สายพันธุกรรม และการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น

ธนาคารเมล็ดพันธุ์ (Seed Bank) เป็นวิธีการหนึ่งสำหรับใช้ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแบบนอกถิ่นที่อยู่อาศัย (Ex situ Conservation) โดยการสร้างสภาพแวดล้อมในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้คงความมีชีวิต อยู่ได้นานที่สุด โดยธนาคารเมล็ดพันธุ์จะทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรมที่ดีและมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่ใกล้สูญพันธุ์

นอกจากมีธนาคารเมล็ดพันธุ์แล้ว การมีบุคลากรในการดำเนินกิจกรรมก็ย่อมมีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากต้องใช้บุคลากรออกไปสำรวจตามระบบนิเวศต่างๆ ประเมินความเสี่ยงการสูญพันธุ์ของพืช การจัดทำตัวอย่างพืช การขนส่งตัวอย่างทั้งเมล็ดและตัวอย่างพืชล้วนแล้วแต่ต้องใช้บุคลากรที่มีความชำนาญและมีทักษะความรู้ทั้งด้านอนุกรมวิธานพืช ด้านสรีรวิทยาทางเมล็ดพันธุ์ ด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นต้น ซึ่งต้องทำงานเป็นทีมเพื่อความถูกต้องของการระบุชนิดพันธุ์พืช

วว.เชื่อมั่นว่าการปลูกจิตสำนึกแก่ประชาชน ให้มีความเข้าใจ ตระหนัก และมีความสนใจด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะด้านเมล็ดพันธุ์ที่มีบทบาทสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศไทย จะนำไปสู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืนต่อไป

นายพงศกร นิตย์มี

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved