วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ถ่านชีวภาพ (Biochar)  ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ถ่านชีวภาพ (Biochar) ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

สาเหตุของการเกิด “ภาวะโลกร้อน” ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการอุปโภคหรือบริโภค ซึ่งเป็นการเพิ่มบริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับบรรยากาศ และก่อให้เกิดภาวะขาดสมดุลของธรรมชาติ หรือแม้แต่ในอาชีพการทำเกษตรกรรม ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ก็มีผลโดยตรงต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิต จึงมีการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรมมากขึ้น อาทิ การใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืช สารเคมีในการเร่งผลผลิต และสารเคมีที่ใช้ปรับปรุงและบำรุงดิน ซึ่งล้วนส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพดิน ก่อให้เกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อม และส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รวมทั้งการส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร

จากปัญหาดังกล่าวทำให้ในปัจจุบันมีการนำ “ถ่านชีวภาพ”มาใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพดินและช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น แล้วผลิตภัณฑนี้มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการทำเกษตรอย่างไร เรามาทำความรู้จักถ่านชีวภาพให้มากขึ้นกันค่ะ


ถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์ (Biochar) คือ ผลิตภัณฑ์ของแข็งที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ของเสียจากสิ่งมีชีวิต (organic waste) เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า ฟางข้าว เหง้ามันสําปะหลัง ซังและต้นข้าวโพด มูลสัตว์ กากตะกอนของเสียหรือแม้กระทั่งมูลสัตว์ นำมาผ่านกระบวนการเผาไหม้ที่มีการควบคุมอุณหภูมิและอากาศที่ให้เข้าไปเผาไหม้น้อยที่สุด ซึ่งเรียกว่า “การแยกสลายด้วยความร้อนหรือกระบวนการไพโรไลซิส” มีสองวิธีหลักๆ คือ

1.การแยกสลายด้วยความร้อนอย่างช้า (Slow Pyrolysis) ที่อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 300-600 องศาเซลเซียส  แต่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง หากใช้อุณหภูมิเฉลี่ยในการเผาไหม้ประมาณ 500 องศาเซลเซียส จะได้ผลผลิตของถ่านชีวภาพมากกว่า 20-50% ที่เหลือเป็นแก๊สที่จุดติดไฟได้และมีของเหลวบางส่วนที่ควบแน่นได้

2.การแยกสลายด้วยความร้อนอย่างเร็ว (Fast Pyrolysis) ที่อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 700 องศาเซลเซียส ใช้เวลาเป็นวินาที ผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ำมันชีวภาพ (Bio-oil) แก๊สสังเคราะห์ (Syngas) และถ่านชีวภาพ (Biochar) 

ถ่านชีวภาพ จะมีโครงสร้างที่แกร่งและแข็งแรง เพื่อดูดยึดแร่ธาตุอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช คุณสมบัติพิเศษ ประกอบด้วยรูพรุนจำนวนมากช่วยการระบายอากาศ มีประจุไฟฟ้า ลดความเป็นกรดของดิน และช่วยกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ลงดิน ซึ่งเป็นการตัดวงจรก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศ ลดปัญหาหมอกควัน ไม่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

ถ่านชีวภาพ (Biochar) มีความหมายแตกต่างจากถ่านทั่วไป (Charcoal) ตรงจุดมุ่งหมายของการใช้ประโยชน์ ดังนี้

ถ่านทั่วไป หมายถึง ถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ส่วน ถ่านชีวภาพ นักวิจัยให้เป็นเสมือนทองสีดำของชาวเกษตรกรรม ด้วยคุณสมบัติที่มีสารคาร์บอนไดออกไซด์สูงและมีรูพรุนตามธรรมชาติช่วยให้สามารถอุ้มน้ำและธาตุต่างๆ รวมถึงการป้องกันจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน ซึ่งเป็นการเพิ่มการย่อยสลายและแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ในดิน

ถ่านชีวภาพ จะทำหน้าที่เสมือนกับอ่างคาร์บอนธรรมชาติ ช่วยในการทำความสะอาดอากาศได้ 2 ทาง คือ การป้องกันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสารชีวภาพขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและการช่วยให้พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างช้าๆ ในขณะที่พืชสังเคราะห์แสง ซึ่งแตกต่างจากปุ๋ยหมัก ตรงที่ถ่านชีวภาพมีลักษณะเป็นรูโพรง เมื่อนำถ่านมาผสมกับปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก รูโพรงนี้เมื่ออยู่ในดินจะช่วยเก็บธาตุอาหารจากปุ๋ย และเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้นาน อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าทำให้ลดระยะเวลาในการหมักและลดการปลดปล่อยไนโตรเจน ทำให้ปุ๋ยหมักที่ผสมถ่านชีวภาพจะมีปริมาณไนโตรเจนมากกว่า ช่วยให้ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงได้

นอกจากถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ (Biochar) จะมีประโยชน์ในการปรับปรุงดิน ดูดซับแก๊สและลดกลิ่น ดูดซับแร่ธาตุที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำแล้ว มวลสารชีวภาพสามารถพัฒนาออกมาในรูปแบบของไบโอชาร์ ซึ่งมีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการพาณิชย์ในด้านต่างๆ เช่น การสกัดสารชีวภาพและองค์ประกอบของยา เพื่อกักเก็บคาร์บอนลงดินและปรับปรุงดิน (Ricks,2007) หรือเป็น เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อการขนส่งและในระบบอุตสาหกรรมได้

นอกจากนี้ยังช่วยในกระบวนการจัดการของเสียประเภทอินทรีย์วัตถุได้ เนื่องจากเทคโนโลยีไบโอชาร์ มีศักยภาพในการกำจัดของเสีย ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ลดภาระการลงทุนในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคในภาวะโลกปัจจุบัน หากเราทุกคนสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ก็จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมโดยรวมมีความยั่งยืนสืบไป

เรียบเรียงข้อมูลจาก : https://www.scimath.org/

https://erp.mju.ac.th/

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

'ฮุน เซน'ขู่ตัดขาดไทย! จี้รัฐบาลกัมพูชาเลิกหนุนสินค้าทุกชนิด กร้าว'แม้ไม่มีจะกินก็อย่าพึ่งเขา'

จับหนุ่มหนีคดีพยายามฆ่าซุกตัวในซากเรือ

สุดโรแมนติก! 'โปรต้า'คุกเข่าขอ'ครูเบียร์'แต่งงานริมทะเล

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved