วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ข้อควรรู้ในการเลือกใช้สารต้านจุลินทรีย์  ที่ปลอดภัยกับสุขอนามัยมนุษย์

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ข้อควรรู้ในการเลือกใช้สารต้านจุลินทรีย์ ที่ปลอดภัยกับสุขอนามัยมนุษย์

วันอาทิตย์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag :
  •  

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้ปริมาณการใช้สารต้านจุลินทรีย์ เพื่อนำไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมีอัตราเพิ่มมากขึ้น การเลือกใช้สารต้านจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยกับสุขอนามัยของประชาชนจึงมีความสำคัญและควรสร้างความตระหนักให้กับสังคมในมุมกว้าง

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ผ่านการดำเนินงานของ ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการวิเคราะห์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ตามมาตรฐาน และการทดสอบประสิทธิภาพการต้านเชื้อจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ มีข้อแนะนำควรรู้ในการเลือกใช้สารต้านจุลินทรีย์ที่มีความปลอดภัยกับสุขอนามัยของผู้ใช้ ดังนี้


ความรู้เกี่ยวกับสารต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial agent) ซึ่งเป็นสารที่สามารถฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ จำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้ได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1.สารฆ่าเชื้อ (Disinfectant) สามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย และไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวสิ่งของต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต เพื่อยับยั้งการแพร่การกระจายของเชื้อ 2.สารระงับเชื้อ (Antiseptic) ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนผิวหรือเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต เช่น ใช้ฆ่าเชื้อในระหว่างการผ่าตัด ดังนั้น disinfectant บางชนิดที่ไม่มีพิษต่อคนก็สามารถใช้เป็น antiseptic ได้ด้วย และ3.ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ภายในร่างกาย มีความเฉพาะเจาะจง เดิมจะหมายถึงแต่การกำจัดหรือควบคุมเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น แต่ปัจจุบันจะหมายถึงการกำจัดหรือควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ใดๆ

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้สารต้านเชื้อจุลินทรีย์ ประกอบด้วย 1.วัตถุประสงค์ในการใช้ พิจารณาว่าจะใช้สารต้านเชื้อจุลินทรีย์กับสิ่งที่ต้องการทำลายเชื้อประเภทใด และสิ่งเหล่านั้นมีเชื้ออะไรที่เกี่ยวข้อง 2.คุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีววิทยาของสารต้านเชื้อจุลินทรีย์นั้น ได้แก่ ความคงตัวของน้ำยา อายุของสารที่ใช้ เป็นต้น 3.ความปลอดภัยของผู้ใช้ โดยคำนึงถึง การดูดซึมเข้ากระแสเลือด การระคายเคืองต่อผิวหนัง อาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น และ 4.ความน่าเชื่อถือของสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ เช่น เอกสารกำกับยาที่แนบมาจากบริษัท เอกสารทางการแพทย์ องค์กรสากลที่เกี่ยวข้องรับรอง ไม่โฆษณาเกินความเป็นจริง และราคาเหมาะสม

คุณสมบัติของสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ดี ต้องมีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อได้รวดเร็วและหลายชนิด สามารถฆ่าเชื้อวัณโรคเชื้อไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้มเซลล์ (AIDS) และชนิดไม่มีเปลือกหุ้มเซลล์(ไวรัสตับอักเสบ) มีความคงตัวแม้อยู่ในสภาวะที่เป็นกรดหรือด่างมีประสิทธิภาพไม่ลดลงเมื่อสัมผัสสารอินทรีย์ และไม่กัดกร่อนพื้นผิว (โลหะ พลาสติก และยาง)

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน สารฆ่าเชื้อ (disinfectant) เป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ประเภทหนึ่งที่มีการนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อสำหรับใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขมากกว่าประเภทอื่น และเป็นวัตถุอันตรายที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ตัวอย่างเช่น น้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อ น้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อ สารต้านจุลชีพที่ช่วยลดแรงตึงผิว (เช่น โพลีเฮกซาเมทิลีน ไบกัวไนต์แผ่นแอลกอฮอล์ และยาใส่แผล เป็นต้น) และสารระงับเชื้อ (เช่น กรดไฮโปคลอรัสและสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ น้ำยาบ้วนปากเจลแอลกอฮอล์ ด่างทับทิม และทิงเจอร์ไอโอดีน เป็นต้น)

โดยสารฆ่าเชื้อมีความสามารถในการทำลายเชื้อได้ 3 ระดับ คือ

1.สารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง (High-level disinfectant) เป็นสารเคมีที่สามารถทำลายได้ทั้ง แบคทีเรีย (vegetative, mycobacteria, spore) เชื้อรา และไวรัส จึงเหมาะสำหรับใช้ทำให้ปลอดเชื้อในอุปกรณ์ที่ต้องการปลอดเชื้ออย่างยิ่ง สารฆ่าเชื้อในกลุ่มนี้ ได้แก่ กลูตาอัลดีไฮด์ที่ความเข้มข้นมากกว่า 2% ขึ้นไป (Glutaraldehydel) คลอรีนไดออกไซด์ (Chlorine dioxide) ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (7.3% Hydrogenperoxide) กรดเพออะซิติก (0.08% Peracetic acid) ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) หรือน้ำยาฟอร์มาลิน

2.สารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพปานกลาง (Intermediate-level disinfectant) เป็นสารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไมโครแบคทีเรีย รา และไวรัสบางชนิด แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของจุลชีพและไวรัสชนิด non-lipid small size สารฆ่าเชื้อในกลุ่มนี้ ได้แก่ เอทานอล (Ethanol) หรือไอโซโพรพานอล(Isopropanal) ที่ความเข้มข้น 70% ขึ้นไป สารประกอบประเภทคลอรีน ได้แก่ ไฮเปอร์คลอรัสหรือคลอรีนไดออกไซด์ (Chlorine compounds : hypochlorous acid gaseous chlorine หรือ Chlorine dioxide) ฟินอลิก (Phenolic) ไอโอโดฟอร์ (Iodophor) และทิงเจอร์ (Tincture)

3.สารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพต่ำ (Low-level disinfectants) เป็นสารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียชนิด vegetative form และเชื้อราได้ แต่ไม่สามารถทำลายเชื้อไมโครแบคทีเรียและเชื้อไวรัส สารเคมีบางชนิดในกลุ่มนี้เมื่อเพิ่มความเข้มข้นขึ้นจะมีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับใช้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องปลอดเชื้อมากนัก สารฆ่าเชื้อในกลุ่มนี้ ได้แก่ สารควอเทอร์นารีแอมโมเนียม (Quaternary ammonium compounds) คลอร์เฮกซิดีน(Chlorhexidine) คลอโรไซลีนอล (Chloroxylenol) เซตริไมด์(Cetrimide) และเบนซาลโคเนียมคลอไรต์ (Benzalkonium chloride)

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าสารต้านจุลินทรีย์มีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ หากเรามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณประโยชน์ในการใช้สารนั้นๆ ก็จะทำให้ใช้ได้อย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยต่อสุขอนามัยของผู้ใช้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • 2ทีมชาติประเดิมสวย! \'จิณห์นิภา-ปารมี\'ลิ่วหวดไอทีเอฟเวิล์ด 2ทีมชาติประเดิมสวย! 'จิณห์นิภา-ปารมี'ลิ่วหวดไอทีเอฟเวิล์ด
  • ทำสำเร็จ! ‘ก้อง สมเกียรติ’คว้าแต้มแรกโมโตจีพี ทำสำเร็จ! ‘ก้อง สมเกียรติ’คว้าแต้มแรกโมโตจีพี
  • \'กรมพลศึกษา\'หนุนเต็มที่\'กีฬาบริดจ์\' เล็งต่อยอดสู่\'กีฬานักเรียนแห่งชาติ+นักเรียนอาเซียน\' 'กรมพลศึกษา'หนุนเต็มที่'กีฬาบริดจ์' เล็งต่อยอดสู่'กีฬานักเรียนแห่งชาติ+นักเรียนอาเซียน'
  • ‘ประหยัด’จบ 14 อันเดอร์คว้าแชมป์สวิงอาวุโสไทย‘โตโยต้า ซีเนียร์’ รับ 1.2 แสนบาท ที่หัวหิน ‘ประหยัด’จบ 14 อันเดอร์คว้าแชมป์สวิงอาวุโสไทย‘โตโยต้า ซีเนียร์’ รับ 1.2 แสนบาท ที่หัวหิน
  • ยกระดับนักแข่งไทย!ศึกบิด\'อิเดมิตสึ ฮอนด้า ไทยแลนด์ คัพ\' ยกระดับนักแข่งไทย!ศึกบิด'อิเดมิตสึ ฮอนด้า ไทยแลนด์ คัพ'
  • ’กัมพูชา‘มาแน่! ยืนยัน1,500คนแข่งซีเกมส์ที่ไทย ’กัมพูชา‘มาแน่! ยืนยัน1,500คนแข่งซีเกมส์ที่ไทย
  •  

Breaking News

ภาพล่าสุด'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้

ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'

รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved