วันศุกร์ ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน :  โสนกับเห็ดเพื่อนต่างอาณาจักร

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : โสนกับเห็ดเพื่อนต่างอาณาจักร

วันอาทิตย์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

โสน (Sesbania aculeate) เป็นไม้ล้มลุก ขนาดทรงพุ่มไม่ใหญ่มากนัก เป็นพืชฤดูเดียว ไม่มีแก่นไม้ สูง 2-3 เมตรจัดเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่สามารถนำเอาส่วนต่างๆ มาบริโภคและใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นดอก ฝัก และยอดอ่อน เป็นต้น นอกจากนั้น ดอกโสนยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ทั้งนี้ เมื่อนำต้นโสนมาเผาไฟให้เกรียม แล้วเอามาต้มชงเอาน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ ดอกโสนนำมาผัดน้ำมันเล็กน้อย หรือเอามาลวกจิ้มน้ำพริกรับประทาน เป็นยาแก้ปวดมวนท้อง


พบการกระจายพันธุ์ของโสนอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะริมแม่น้ำ ลำคลองต่างๆ โดยทั่วไปสามารถกระจายพันธุ์ได้ดี ไม่ต้องดูแลรักษาอะไร ในพื้นที่ภาคกลางพบการกระจายพันธุ์ของโสนอย่างหนาแน่นตลอดสองฝั่งคลอง

จากประโยชน์ของโสนดังกล่าว การปลูกโสนยังได้ประโยชน์อย่างยิ่งกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดตับเต่า อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในพื้นที่มีการปลูกโสนและมีการดูแลรักษาอย่างจริงจัง ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการพึ่งพาอาศัยระหว่างโสนกับเห็ดตับเต่า ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

โดยทั้งเห็ดตับเต่าและโสนมีความสัมพันธ์กันแบบมายคอไรซา(Mycorrhiza) ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้จะมีการแบ่งปันเอื้ออาศัยน้ำและธาตุอาหารซึ่งกันและกัน บางครั้งพบว่าต้นโสนบางต้นมีเห็ดตับเต่าขึ้นมากกว่า 3-4 ดอก สามารถทำให้ต้นโสนชะงักการเจริญเติบโตและตายได้ในที่สุด ฉะนั้นการดูแลรักษาโสนให้มีความสมบูรณ์มากที่สุดจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตเห็ดตับเต่าที่เพิ่มขึ้นด้วย

เห็ดตับเต่า มีชื่อสามัญว่า Bolete หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Thaeogyroporus porentosus (berk. ET. Broome) อยู่ในวงศ์ Boletaceae ทางภาคเหนือจะเรียกกันว่าเห็ดห้า เพราะจะขึ้นบริเวณใต้ต้นหว้าซึ่งชาวเหนือเรียกต้นหว้าว่าต้นห้า ส่วนในภาคอีสานเรียกว่าเห็ดน้ำผึ้ง ถิ่นกำเนิดของเห็ดตับเต่าจะพบในแถบภูมิประเทศที่มีอากาศชื้น พบได้ในป่าทั่วไปตามภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ หรือจะพบในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน

เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดตามฤดูกาล ที่มีคนนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มีแหล่งผลิตหลักๆ ที่สำคัญในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดอกเห็ดมีขนาดใหญ่ได้ถึง 25-30 เซนติเมตร สามารถขยายใหญ่ได้เมื่อมีอายุมากขึ้น ผิวของเห็ดเมื่อได้รับความชื้นจะมีลักษณะเหนียวเป็นเมือกลื่นๆ เมื่อสัมผัส สีของดอกเห็ดจะแตกต่างกันไปตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้มเกือบดำ

เห็ดตับเต่ามักจะชอบขึ้นอยู่กับพื้นที่ป่าโสนได้ดีและสามารถเก็บผลผลิตได้มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่นๆ ที่สามารถขึ้นได้ เช่น มะกอกน้ำ ทองหลางบ้าน หางนกยูง และพบบ้างที่ขึ้นกับต้นเซ่ง (วัชพืชอวบน้ำขึ้นริมน้ำ) จากคุณประโยชน์ทางด้านสมุนไพรและความนิยมในการบริโภค พบว่าผลผลิตเห็ดจากธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการบริโภคทำให้ราคาขายขยับสูงขึ้นทุกปีในปัจจุบันมีเกษตรกรในพื้นที่ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเห็ดตับเต่า คลองโพธิ์ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน สามารถผลิตผลผลิตเห็ดเฉลี่ยได้ 600-1,000 กิโลกรัมต่อไร่

จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีนโยบายส่งเสริมการปลูกและจัดงานวันเห็ดตับเต่าบานที่ตำบลสามเรือนเป็นประจำทุกๆ ปีติดต่อกันมานาน ส่งผลถึงความสัมพันธ์และความสำเร็จของเกษตรกรที่ปลูกโสนเพื่อผลิตเห็ดตับเต่า ซึ่งเป็นเพื่อนต่างอาณาจักรสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน การรวมตัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ดังกล่าว เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์เชื้อพันธุ์เห็ดตับเต่าไม่ให้สูญหาย และดำรงไว้ซึ่งทุ่งโสนไม้ดอกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่นับวันจะหาดูได้ยากในปัจจุบันให้คงอยู่ควบคู่กับอาชีพของเกษตรกรสืบไป

ประธาน โพธิสวัสดิ์

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

บึงกุ่มจัดงานศาสนิกสัมพันธ์ ปลูกต้นไม้ ปลูกธรรม ปลูกอนาคต

รองผู้ว่าฯทวิดาเปิดงาน 127 ปีรพ.กลาง ชื่นชมใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่รักษาประชาชน

สกัดจับกลางดึก! ยาบ้า5แสนเม็ดคาเก๋งที่เชียงราย 2หนุ่มสระแก้วโดนรวบ-4คนหนีหาย

ศาลนนท์นัดชี้ชะตาคดี'แตงโม'พลัดตกเรือ 4 จำเลยลุ้นคำพิพากษาวันนี้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved