วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว (1)

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว (1)

วันอาทิตย์ ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของคนเรา ส่วนใหญ่ ไฟฟ้าก่อให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายหลายสิ่งหลายอย่างให้กับมนุษย์เรา และสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาล แต่ก็มีอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของเรามากเช่นกัน ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าควรศึกษาถึงอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าและทราบถึงวิธีการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อันตรายจากไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน มี 2 สาเหตุ คือ ไฟฟ้าลัดวงจร และ ไฟฟ้ารั่ว

ไฟฟ้าช็อต (Short Circuit) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไฟฟ้าลัดวงจร” คือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า (Load)


ไฟฟ้าดูด (Electric Shock) คือการที่ไฟฟ้าไหลเข้าร่างกาย จนเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ จนไม่สามารถขยับร่างกายได้ เรียกว่า ไฟฟ้าดูด ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ไฟฟ้าดูดที่เกิดจากการสัมผัสกับส่วนที่มีไฟฟ้า สามารถแบ่งออกได้ 2 แบบคือ

1.การสัมผัสร่างกายโดยตรง (Direct Contact) คือ การที่ส่วนของร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น บริเวณสายไฟฟ้าที่ฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด เมื่อเราจับสายไฟฟ้าในลักษณะเช่นนี้จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายโดยตรง

2. การสัมผัสโดยอ้อม (Indirect Contact) คือการที่ส่วนของร่างกายสัมผัสส่วนที่ไม่ได้มีไฟฟ้าโดยตรงของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่มีการรั่วของกระแสไฟฟ้าออกมาตรงส่วนที่เราจับ กระแสไฟฟ้าก็จะไหลเข้าสู่ตัวเราได้

อันตรายจากไฟฟ้าดูดที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์แตกต่างกันไปตามขนาดของกระแสไฟฟ้าและสุขภาพของบุคคล ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าที่ได้แตกต่างกันออกไปตามมาตรฐาน การทดสอบตัวอย่างผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์เป็นค่าที่ไม่จำกัดเวลาที่กระแสไหลผ่านร่างกาย (ไม่ได้ใช้เวลาเป็นตัวแปรในการทดลอง) ขนาดกระแสมีอาการดังนี้

ปัจจัยความรุนแรงจากไฟฟ้าดูด

เมื่อถูกไฟฟ้าดูดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย เป็นปัจจัยหนึ่งของอันตรายนั้น ตัวแปรที่สำคัญที่มีผลต่อความรุนแรงได้แก่

1.ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายยิ่งมีปริมาณสูง อันตรายยิ่งสูงตามไปด้วย

2.ระยะเวลาที่กระแสไหลผ่านร่างกายยิ่งระยะเวลานาน อันตรายยิ่งสูงตามไปด้วย

3.เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ถ้าเส้นทางกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหัวใจ อันตรายยิ่งสูง

การป้องกันไฟฟ้าดูด

การป้องกันไฟฟ้าดูดวิธีที่ดีที่สุดคือการไม่สัมผัสโดยตรงกับส่วนที่มีไฟฟ้า แต่คงจะทำได้ยากในการดำเนินชีวิตจริง แต่ก็ยังมีวิธีการอื่นที่ดีที่สามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้อย่างดีคือการใช้เครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว และการเดินสายดิน

วิชาญ อู่คชสาร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

‘วรวัจน์‘ พึ่ง ChatGPT ป้อง 'ยิ่งลักษณ์' อ้างนโยบายรัฐใช้คำว่าขาดทุนไม่ได้

'ตั้ม วราวุธ'ออกจากห้องไอซียูแล้ว ผู้จัดการโพสต์ภาพยกมือไหว้ขอบคุณกำลังใจ

โชคดีที่สุด! 'ปฐม อินทโรดม' ทึ่ง 'กรมสมเด็จพระเทพฯ'ทรงงานหนัก แม้บังเอิญเจอในสนามบินถึง 5 ครั้ง

แม่สายน้ำลด! ชาวบ้านเร่งฟื้นฟูบ้านเรือน ทหารช่างเร่งวางบิ๊กแบ็กสกัดน้ำซ้ำ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved