วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ทำไม ? นํ้าแข็งถึงเกาะติดนิ้วของเรา

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ทำไม ? นํ้าแข็งถึงเกาะติดนิ้วของเรา

วันอาทิตย์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน
  •  

ประเทศไทยรู้จัก “น้ำแข็ง” ในยุคสมัยของรัชกาลที่ 4 จากการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการทำไอศกรีมเป็นของเสวยให้กับเจ้าขุนมูลนายในบางมื้อ ซึ่ง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้บันทึกเป็นหลักฐานในพระนิพนธ์ความทรงจำว่า

“ดูมิใคร่มีใครชอบ มักบ่นว่ากินน้ำแข็งปวดฟัน”


ทั้งนี้ น้ำแข็งที่พบในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีหลายประเภท อาทิ น้ำแข็งกั๊ก น้ำแข็งหลอดเล็ก น้ำแข็งหลอดใหญ่ น้ำแข็งยูนิต น้ำแข็งเกล็ด และน้ำแข็งแห้งซึ่งน้ำแข็งแห้งไม่ใช่น้ำแต่เป็นก๊าซ รับประทานไม่ได้ จะนำมาใช้เพื่อการรักษาความเย็นของอาหาร

น้ำแข็งที่ใช้ในครัวเรือนส่วนใหญ่จะผลิตเอง โดยบรรจุน้ำใส่ในภาชนะต่างๆ ในบางบ้านจะแช่น้ำเย็นในขันน้ำโลหะและนำไปใส่ในช่องทำน้ำแข็ง (ช่องฟรีซ) ของตู้เย็น

เคยสังเกตไหมว่า ทำไมน้ำแข็งที่แช่ในตู้เย็น เวลาเราเอามือจับน้ำแข็ง หรือจับภาชนะประเภทโลหะแล้ว มักจะเกาะติดนิ้วมือหรือดูดนิ้วมือเรา

จากโจทย์ดังกล่าว วิทยาศาสตร์มีคำตอบในเรื่องนี้คือ น้ำจะแข็งตัวที่จุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิ 32 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 0 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิของน้ำแข็งที่ดูดเกาะมือเราอาจต่ำได้มากกว่า 0 องศาเซลเซียส ดังนั้น น้ำแข็งที่แช่ในช่องฟรีซซึ่งใช้เวลาในการแช่นานจนเย็นจัดจะดูดเกาะนิ้วมือเรา เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายของเราอุ่นกว่าก้อนน้ำแข็งหรือโลหะที่แช่เย็นในระยะเวลานาน แต่ถ้านำน้ำแข็งหรือภาชนะดังกล่าวออกจากช่องฟรีซเป็นระยะเวลานาน ความเย็นจะเริ่มละลาย น้ำแข็งหรือโลหะนั้นๆ ก็จะไม่ติดนิ้วมือของเรา

ปัจจัยที่มีผลต่อการเกาะติดระหว่างผิวหนังกับน้ำแข็งดังกล่าว ไม่ได้มีแรงดึงดูดที่ผิดปกติเช่นนี้เสมอไป โดยชิ้นส่วนของน้ำแข็งจะเกาะติดกับผิวของเราหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ความชื้นของส่วนต่างๆ ของร่างกาย (ที่สัมผัสกับน้ำแข็ง) และอุณหภูมิของน้ำแข็งหรือภาชนะบรรจุน้ำแข็ง

นอกจากนั้นยังมีตัวแปรอื่น คือ ระดับความชื้นของผิวหนัง โดยความชื้นในมือส่วนใหญ่มักจะมีน้ำติดมือ แขน ขา ฯลฯ ในรูปของความชื้นตามธรรมชาติอยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น เหงื่อ ลิ้น จะยังคงเปียกตลอดเวลา เนื่องจากมีน้ำลายอยู่ในปาก ดังนั้นจึงเป็นตัวแปรสำหรับการเกาะติดกับน้ำแข็งที่อุณหภูมิเย็นจัด

นอกจากนี้โดยพื้นฐานแล้วโมเลกุลของน้ำ (H2O)ที่ประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจน ต้องการจับกับอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนในมือของเรา โดยอะตอมของไฮโดรเจนจะสร้างพันธะที่แข็งแกร่ง เป็นพันธะไฮโดรเจน ทำให้มือของเราติดกับน้ำแข็ง ยิ่งน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นต่ำกว่ามือของเรามากเท่าไหร่จะยิ่งเกาะติดมือหรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่สัมผัสได้มากเท่านั้น

เรียบเรียงข้อมูลจาก

https://science.howstuffworks.com

https://www.scienceabc.com

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : สาหร่ายสีนํ้าเงินแกมเขียว (Cyanobacteria) วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : สาหร่ายสีนํ้าเงินแกมเขียว (Cyanobacteria)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เครื่องดื่มเสริมสุขภาพมังคุด
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า‘ไลเคน’
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : วุ้นนํ้ามะพร้าว (วุ้นสวรรค์)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1)  (Sleep Equity for Global Health) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : นอนหลับสมดุล เป็นต้นทุนสุขภาพสากล (1) (Sleep Equity for Global Health)
  •  

Breaking News

‘สุวินัย’เปิดข้อมูล‘RAND สหรัฐ’ เปรียบไทยไทยตกอยู่ในสถานะ‘ยูเครน 2’ไปครึ่งตัวแล้ว

'รมว.ยุติธรรม'หารือ UNODC ผนึกกำลังคุมเข้มยาเสพติด-สารตั้งต้นในภูมิภาค เตรียมเป็นเจ้าภาพประชุมยาบ้าโลกปี68

จับไต๋เคสอินโดฯเคลียร์ภาษีทรัมป์ ‘กรณ์’ยก 7 ข้อกรณี‘ไทย’ ไม่เปิดตลาด0% ปิดดีลไม่ลง

หนุ่มเกาหลีสุดแสบ! หลอกสาวใต้ 'พี้กัญชา-กินเยลลี่' เมาหนักวิ่งหนีขอชาวบ้านช่วย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved