วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : รู้หรือไม่ว่า...น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาต่างกันอย่างไร

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : รู้หรือไม่ว่า...น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาต่างกันอย่างไร

วันอาทิตย์ ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

หลายคนคงสงสัยว่าน้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากน้ำมันทั้งสองชนิดนี้มีชื่อเรียกที่ใกล้เคียงกัน บางคนอาจคิดว่าเป็นน้ำมันชนิดเดียวกัน แต่รู้หรือไม่ว่าน้ำมัน
ทั้งสองชนิดมีแหล่งที่มา สารอาหารและคุณประโยชน์ที่แตกต่างกัน
อย่างสิ้นเชิง

น้ำมันปลา (Fish Oil) คือ น้ำมันที่ได้จากกระบวนการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากส่วนต่างๆ ของปลา เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางปลา หัวปลา โดยปลาทะเลที่นำมาสกัดนั้นเป็นปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกเขตหนาวเย็น ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ปริมาณมากกว่าปลาน้ำจืด อาทิ ปลาแองโซวี่
ปลาแมคเคอเรล หรือปลาทูน่ามีไขมัน เป็นต้น


สารอาหารสำคัญของน้ำมันปลา น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty acid) ชนิดโอเมก้า-3 อยู่มาก ประกอบด้วยกรดไขมันสำคัญ 2 ชนิด ก็คือ EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้จึงจำเป็นต้องรับจากอาหารเท่านั้น

EPA มีชื่อเต็มว่า EICOSAPANTAENOIC ACID เป็นกรมไขมันเชิงซ้อนไม่อิ่มตัว จัดอยู่ในกลุ่มกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีมวลโมเลกุลจัดเรียงกัน 20 ตัว กรดไขมัน EPA ยังช่วยลดการเกาะตัวเป็นก้อนของเม็ดเลือดหรือที่เรียกว่า ลิ่มเลือด ทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดการตีบตันของหลอดเลือดซึ่งเป็นที่มาของโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมองแตกเป็นอัมพฤต อัมพาต

DHA มีชื่อเต็มว่า DOCOSAHEXANOIC ACID เป็นหนึ่งในกรดไขมันโอเมก้า 3 โดยความยาวของคาร์บอนโมเลกุลเท่ากับ 22 DHA เป็นกรดไขมันเชิงซ้อนที่สำคัญต่อระบบประสาทโดยตรง โดยพบว่าในสมองของมนุษย์มีปริมาณ DHA สูงถึง 40% และในดวงตามี DHA 60% DHA ช่วยในการรักษาระดับของเหลวในเซลล์ประสาท ทำให้การนำพา Na+K+Ca++ เป็นไปได้ปกติซึ่งกรดไขมันโอเมก้า-3 ทั้ง 2 ชนิดนี้ (DHA และ EPA) พบได้ในปลาทะเลเขตน้ำเย็นชนิดต่างๆ อาทิ ซาดีน แม็คคาเรล แซลมอล และปลาทูน่า เป็นต้น ซึ่งจะพบมากในสัดส่วนระหว่าง 2 ถึง 8 กรัมในเนื้อปลา 200 กรัม โดยปกติ และจากการวิจัยพบว่าปลาทะเลไทยเช่น ปลาทู ปลากะพง ปลาเก๋า ปลาสำลี ปลาอินทรีย์ ปลาโอ มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่เหมาะสมเช่นกัน หากไม่มีปลาทะเลก็สามารถเลือกรับประทานปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลาบู่ เป็นต้น

น้ำมันปลาเหมาะกับใคร? เหมาะกับผู้ที่ต้องการบำรุงหัวใจ สมอง ป้องกันหลอดเลือดหัวใจ และสมองอุดตัน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูงหรือต้องการลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ลดอักเสบโรคข้อรูมาตอยด์ โรคซึมเศร้า และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น

น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) คือ น้ำมันตับปลาจะสกัดมาจากตับของปลาทะเลน้ำลึก โดยเฉพาะปลาคอด หรือที่หลายคนคุ้นหูกันในชื่อของ Cod liver oil

สารอาหารสำคัญของน้ำมันตับปลาจะมีกรดไขมัน EPAและ DHA ในปริมาณที่น้อยกว่าน้ำมันปลา แต่มีวิตามินเอและวิตามินดีสูง

น้ำมันตับปลาเหมาะกับใคร น้ำมันตับปลาเหมาะกับผู้ที่ต้องการดูแลในเรื่องของสายตาและกระดูก เนื่องจากวิตามินเอได้ชื่อว่าเป็นวิตามินสำหรับดวงตา เพราะมีประโยชน์ต่อสมรรถภาพในการมองเห็น ช่วยให้มองเห็นในที่ที่มีแสงสว่างน้อยได้ดีขึ้นในส่วนของวิตามินดีเองนั้นก็มีคุณสมบัติในการบำรุงกระดูก ป้องกันกระดูกพรุนและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง รวมถึงยังถูกนำมาใช้เสริมในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดวิตามินเอและวิตามินดีอีกด้วย

ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันปลา (Fish oil) เนื่องจากน้ำมันปลามีโอเมก้า-3 ปริมาณที่สูง ซึ่งโอเมก้า-3 มีคุณสมบัติในการต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด และทำให้เลือดหยุดไหลช้าลงได้ หากผู้ที่รับประทานเป็นประจำอาจทำให้เสี่ยงต่อการมีเลือดออก เช่น ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่ดื่มสุรามากๆ หรือผู้ที่รับประทานยาจำพวกแอสไพริน หรือวอร์ฟาริน ที่มีคุณสมบัติลดการแข็งตัวของเลือด อาจจะต้องทานน้ำมันปลาอย่างระมัดระวัง

ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) น้ำมันตับปลามีปริมาณของวิตามินเอและวิตามินดีสูงซึ่งวิตามินทั้งสองตัวนี้เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอาจเกิดการสะสมและก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อาหารไม่ย่อย ผิวหนังเป็นผื่น และนอนไม่หลับได้ในบางคน รวมถึงในหญิงตั้งครรภ์ควรระมัดระวังการรับประทานสารอาหารชนิดนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากปริมาณวิตามินเอที่สูง อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติได้

สุพิชชา ปรีชาเรืองฤทธิ์

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

กระท้อนทองบางเจ้าฉ่า หวานฉ่ำถึงใจ! สวนลุงจ่า-แม่จงกล พร้อมให้ลิ้มลองและสั่งจอง

'เด็จพี่'ชูคอ! เชียร์'กกต.-ดีเอสไอ-ปปง.' เช็กบิลต้นตอ ฮั้วเลือก สว.

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2568

งานชุมนุมสายมูคึกคักจัดกลางสวนสาธารณะคุกเก่าลุ้นเลขธูปผู้ว่าฯหลังเคยเข้ามา2งวดซ้อน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved