วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
เมื่อลูกฉัน...เป็นนักกีฬา : โภชนาการการกีฬา (1)

เมื่อลูกฉัน...เป็นนักกีฬา : โภชนาการการกีฬา (1)

วันเสาร์ ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : โภชนาการ นักกีฬา
  •  

สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามเมื่อมีลูกเป็นนักกีฬา คือ “ความรู้ด้านโภชนาการ” โภชนาการเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและสมรรถภาพของนักกีฬา โดยฉพาะอย่างยิ่งในนักกีฬาเด็กและเยาวชนที่ผู้ปกครองยังต้องดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นหลัก ซึ่งนอกเหนือจากความรู้ด้านโภชนาการทั่วไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรมีความรู้ในเรื่องของโภชนาการสำหรับนักกีฬาเพิ่มขึ้นด้วย แต่เนื่องจากความรู้ในส่วนนี้เป็นความรู้เฉพาะสำหรับกลุ่มนักกีฬาและอาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ทำให้คนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้โดยง่าย วันนี้จึงขอสรุปรายละเอียดในเรื่องของ “ความรู้ด้านโภชนาการที่พ่อแม่ควรรู้” เอาไว้เป็นบทๆ เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดและง่ายต่อการไปศึกษาเพิ่มเติม ดังนี้

บทเรียนที่ 1 : โภชนาการ 101


วัตถุประสงค์ : อธิบายให้เห็นภาพรวมของหลักโภชนาการทั่วไปและองค์ประกอบที่สำคัญของโภชนาการการกีฬาที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ สมดุลพลังงาน ปริมาณอาหารที่ควรรับประทานต่อครั้ง เวลาที่เหมาะสมในการรับประทานอาหาร และสมดุลน้ำ ซึ่งในบทเรียนนี้จะทำให้นักกีฬาเข้าใจความสำคัญของอาหารว่าเป็นมากกว่าสิ่งที่รับประทานเมื่อรู้สึกหิว และส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย เช่น ช่วยเพิ่มอัตราการฟื้นตัวและสมรรถภาพของร่างกาย ทำให้มีองค์ประกอบของร่างกายที่เหมาะสม ลดอัตราการบาดเจ็บและเจ็บป่วย และส่งผลในระยะยาวต่อสุขภาพของนักกีฬา

รูปที่ 1 รูปจานอาหารนักกีฬาสำหรับวันซ้อมเบา

เนื้อหาที่สำคัญ : อาหารเป็น “แหล่งเชื้อเพลิง” ที่สำคัญสำหรับนักกีฬาในการฝึกซ้อมและฟื้นตัว เหมือนรถยนต์ที่ต้องการน้ำมัน ฉันใดก็ฉันนั้น นักกีฬาควรรับประทานอาหารที่มีพลังงานเพียงพอต่อพลังงานที่ถูกใช้ไปกับการฝึกซ้อม ตามหลักของสมดุลพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักกีฬาเด็กและเยาวชนที่ร่างกายยังคงมีการเจริญเติบโตอยู่ ควรได้รับการดูแลทางด้านโภชนาการเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้รับอาหารในปริมาณที่เพียงพอและหลากหลาย โดยสารอาหารหลักที่สำคัญ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน คาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งของพลังงานหลักที่ร่างกายใช้ขณะออกกำลังกายที่ระดับปานกลางถึงหนัก โดยในนักกีฬาจะแนะนำให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตมากกว่าร้อยละ 50 ของพลังงานที่ต้องการทั้งวัน หรือ ประมาณ 3-8 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความหนักของการออกกำลังกาย โปรตีนมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกายในหลายๆส่วน รวมถึงการสร้างกล้ามเนื้อและการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับนักกีฬา แหล่งของโปรตีนคุณภาพดี เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว เป็นต้น สำหรับนักกีฬาเยาวชน ในนักกีฬาจะแนะนำให้รับประทานโปรตีนร้อยละ 10-35 ของพลังงานที่ต้องการทั้งวัน หรือ ประมาณ 1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน (พยายามแบ่งให้เท่าๆกันในแต่ละมื้อ เช่น 20-30 กรัม/มื้อ*5 มื้อ) ไขมันถูกใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงสำหรับการออกกำลังกายที่ระดับความหนักต่ำ ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายใน และเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ไขมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไขมันชนิดอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ นม เนย ชีส และไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว เป็นต้น ในนักกีฬาจะแนะนำให้รับประทานไขมันร้อยละ 20-35 ของพลังงานที่ต้องการทั้งวัน โดยเน้นรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวในสัดส่วนที่มากกว่าไขมันอิ่มตัว

รูปที่ 2 จานอาหารนักกีฬาสำหรับวันซ้อมปานกลาง

บทเรียนที่ 2 : จานอาหารสำหรับนักกีฬา

วัตถุประสงค์ : ความต้องการพลังงานของนักกีฬาอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นกับความหนักและระยะเวลาในการฝึกซ้อม ในบทที่ 2 นี้จะเป็นการอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องของหลักสมดุลพลังงาน และอธิบายให้เห็นภาพถึงการเพิ่ม/ลดปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่หมู่เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อม รวมถึงให้ความรู้เรื่องการอ่านฉลากโภชนาการเพื่อให้นักกีฬาสามารถเลือกรับประทานอาหารได้อย่างเหมาะสม

รูปที่ 3 จานอาหารนักกีฬาสำหรับวันซ้อมหนัก

เนื้อหาที่สำคัญ : เป็นการนำเอาครื่องมือง่ายๆ ที่เรียกว่า “Athlete’s Plate” หรือ “จานอาหารสำหรับนักกีฬา” เข้ามาใช้ในการอธิบายเพื่อให้นักกีฬาเข้าใจความต้องการพลังงานที่เปลี่ยนไปตามปริมาณของการฝึกซ้อม โดยจานอาหารจะถูกแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. จานสำหรับวันซ้อมเบา : สำหรับวันที่ไม่มีซ้อม/ ซ้อมทักษะเบา จะมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต+ธัญพืช (25%), ผัก+ผลไม้ (50%), เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน (25%) ตามรูปที่ 1
  2. จานสำหรับวันซ้อมปานกลาง : สำหรับวันซ้อมปกติ เน้นให้รับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตจำพวกธัญพืชมากขึ้น (เพื่อให้พลังงานรวมมากขึ้น) จะมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต+ธัญพืชเพิ่มขึ้น (35%), ผัก+ผลไม้ลดลง (40%), เนื้อสัตว์ไม่ติดมันเท่าเดิม (25%) ตามรูปที่ 2
  3. จานสำหรับวันซ้อมหนัก : สำหรับวันที่ซ้อมหนัก(2 ครั้ง/วัน) หรือแข่งขันที่ใช้เวลามากกว่า 90 นาทีขึ้นไป โดยเน้นให้รับประทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตมากไปอีก จะมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต+ธัญพืชเพิ่มขึ้น (50%), ผัก+ผลไม้ลดลง (25%), เนื้อสัตว์ไม่ติดมันเท่าเดิม (25%) ตามรูปที่ 3

    จบไปแล้ว 2 บทเรียน แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้นะคะ คราวหน้ามาต่อกันอีก 3 บทเรียนในเรื่องของ เวลาในการรับประทานอาหาร สมดุลน้ำ และเทคนิคในการเลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

    ข้อมูลเพิ่มเติม: Gibbs Jr, R. L., & Becker, T. B. (2021). An evidence-based sports nutrition curriculum for youth.

โดย ผศ.ดร. ปิยาภรณ์ ตุ้มนาค

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

นักโภชนาการการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘วินด์เซิร์ฟ’เดินสาย! เก็บตัวตะลุยยุโรป ‘วินด์เซิร์ฟ’เดินสาย! เก็บตัวตะลุยยุโรป
  • นักกีฬา..ต้องกินโปรตีนอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด? (ตอนที่ 2) นักกีฬา..ต้องกินโปรตีนอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด? (ตอนที่ 2)
  • นึกว่านางแบบ! \'เทนนิส\'ฮีโร่โอลิมปิกเปิดโหมดเซ็กซี่ในชุดว่ายน้ำ นึกว่านางแบบ! 'เทนนิส'ฮีโร่โอลิมปิกเปิดโหมดเซ็กซี่ในชุดว่ายน้ำ
  • \'นายกฯ\'ร่วมรับ\'วิว\'กลับไทย พร้อมอัดฉีดนักกีฬาชวดรางวัล 1 แสน 'นายกฯ'ร่วมรับ'วิว'กลับไทย พร้อมอัดฉีดนักกีฬาชวดรางวัล 1 แสน
  • \'รมว.ท่องเที่ยว\'เผยไปรับ\'วิว กุลวุฒิ-นักกีฬาไทย\'กลับจากโอลิมปิกพรุ่งนี้ 'รมว.ท่องเที่ยว'เผยไปรับ'วิว กุลวุฒิ-นักกีฬาไทย'กลับจากโอลิมปิกพรุ่งนี้
  • ชื่นชมทัพนักกีฬาพาราลิมปิกไทย คว้าโควตาเข้าร่วมพาราลิมปิกเกมส์ที่ฝรั่งเศส ชื่นชมทัพนักกีฬาพาราลิมปิกไทย คว้าโควตาเข้าร่วมพาราลิมปิกเกมส์ที่ฝรั่งเศส
  •  

Breaking News

โลกจับตาบินรบ‘จีน’ หลังถูกใช้โดยปากีสถานสอยเครื่อง‘ฝรั่งเศส’ของอินเดียร่วง

'ดิว อริสรา'เคลื่อนไหวแล้ว! โพสต์เศร้าถึง'คุณพ่อวิชิต' คนในวงการส่งกำลังใจแน่น

'บิว'นำทัพ!กรีฑาลุยศึกใหญ่‘WorldRelay’ล่าตั๋วชิงแชมป์โลก

'ทักษิณ'หมดทางแล้ว! 'เสรีพิสุทธ์' ชี้ยัดคุกได้เลย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved