วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
คลังทำใจโตไม่ถึงเป้า4%-ต้องหวังพึ่งท่องเที่ยวช่วยพยุงเศรษฐกิจ

คลังทำใจโตไม่ถึงเป้า4%-ต้องหวังพึ่งท่องเที่ยวช่วยพยุงเศรษฐกิจ

วันศุกร์ ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

คลังทำใจโตไม่ถึงเป้า4%-ต้องหวังพึ่งท่องเที่ยวช่วยพยุงเศรษฐกิจ

อ้างศก.โลกซบลากส่งออกทรุด

รมว.คลัง ยอมรับส่งออกไทยเข็นไม่ขึ้น หารือครม.สัญจร ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำกว่าเป้า ด้าน ก.พาณิชย์ อ้างภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย เป็นเหตุให้ตัวเลขส่งออกเดือนก.พ.ติดลบหนัก สินค้าเกษตรสำคัญอาการร่อแร่ เตรียมรวบรวมปัญหา เสนอคณะกรรมการพัฒนาการส่งออกระดับชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากตัวเลขการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาติดลบ 6.14% เป็นผลมาจากเศรษฐกิจและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักขยายตัวลดลง โดยพบว่าในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกเติบโตลดลงจาก 6% เหลือ 3% ขณะที่การค้าโลกเคยขยายตัวได้ 4.5% เหลือเพียง 3% เท่านั้น ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของทุกประเทศ โดยเฉพาะในปีนี้สถานการณ์การส่งออกได้รับผลกระทบมากขึ้น จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ทำให้รายได้จากการส่งออกยิ่งลดลง


ดังนั้นในการประชุมครม.สัญจรในวันศุกร์ที่ 27 มีนาคมนี้ กระทรวงการคลังจะหารือสถานการณ์การส่งออกและภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังเติบโตต่ำให้ครม.รับทราบ โดยกระทรวงการคลังยังยืนยันเป้าหมายการส่งออกที่ 1.4% และเศรษฐกิจขยายตัว 3.9% ซึ่งคาดว่าการท่องเที่ยวจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก โดยในเดือนมกราคมการท่องเที่ยวขยายตัว 10% และ 30% ในเดือนกุมภาพันธ์ และด้านการส่งออกจะพยายามเน้นการส่งออกไปยังประเทศกลุ่ม CLMV และอาเซียน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศเหล่านี้มีการเติบโตสูง

“การส่งออกของไทยในเดือน ก.พ. 2558 ขยายตัวติดลบ 6.2% ถือเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เนื่องจากการค้าและเศรษฐกิจของโลกขยายตัวได้ต่ำมาก ส่วนไทยเองถ้าจีดีพี ขยายตัวได้ 4% ก็ถือว่าเก่งแล้ว แต่หน่วยงานต่างๆ ได้คาดการณ์ออกมาแล้วว่าเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวไม่ถึง 4% ซึ่งต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์ จริง ซึ่งการประชุม ครม. กระทรวงการคลังจะรายงานข้อมูลเศรษฐกิจให้ ครม. ได้รับทราบ” นายสมหมาย กล่าว

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แม้การส่งออกของไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2558 จะติดลบ 6.14% สูงที่สุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 ที่ติดลบ 7.4% หนักสุดในรอบ 6 เดือน แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่กังวล เพราะหากไม่รวมน้ำมันสำเร็จรูปกับทองคำส่งออกจะลดลงเพียง 2.4% ซึ่งไทยถือว่ามีปัญหาระดับกลางๆ ยังดีกว่าอีกหลายประเทศที่ต่างก็กำลังมีปัญหาการค้าหดตัว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เช่น อินโดนีเซีย การส่งออกลดลง 11.9% อินเดียลดลง 11.2% และสหรัฐอเมริกา ลดลง 5% รวมทั้งสาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกไทยขยายตัวติดลบมาจากยอดส่งออกในกลุ่มสินค้าเกษตร ซึ่งติดลบถึง 12.5% โดยเฉพาะยางพารา ติดลบถึง 38% จากการชะลอคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้า

ขณะที่สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม ลดลง 3.7% ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ลดลง 26.8% เคมีภัณฑ์ ลดลง 20.3% ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง รวมทั้งการส่งออกทองคำที่ลดลงถึง 66% เนื่องจากราคาปรับลดลงทำให้ผู้ส่งออกหันไปนำเข้า เพื่อเก็งกำไรแทน แต่หากไม่รวมทองคำกับน้ำมันสำเร็จรูปส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมจะยังขยายตัวได้ 1.9% ส่งผลให้ระยะ 2 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่าการส่งออกรวม 34,478 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังติดลบ 4.82%

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังมั่นใจว่าภาพรวมการส่งออกปีนี้จะยังขยายตัวเป็นบวกได้ โดยจากการประชุมร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลกเห็นสัญญาณที่ดีภายใต้เงื่อนไขว่าต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์อย่างเข้มข้น ซึ่งหลังสิ้นสุดไตรมาสแรกปีนี้จะทำการรวบรวมข้อมูล เพื่อทบทวนเป้าหมายการส่งออกปีนี้ใหม่ จากเดิมเคยตั้งเป้าหมายไว้ว่าการส่งออกจะขยายตัว 4% หลังจากนี้จะรวบรวมปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการส่งออกระดับชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ระบบโลจิสติกส์ ศุลกากร และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ลดภาระผู้ส่งออก แต่ในส่วนของสินค้าเกษตร หากเศรษฐกิจจีนดีขึ้น ก็มั่นใจว่ายอดส่งออกจะดีขึ้นได้

ขณะที่การนำเข้าเดือนกุมภาพันธ์ 2558 มีมูลค่า 16,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.47% เป็นการขยายตัวเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะสินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบ สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการผลิตและการลงทุนในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัว ส่งผลให้ดุลการค้าไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ไทยได้ดุลการค้า 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกเดือน มี.ค. 2558 น่าจะมีโอกาสติดลบใกล้เคียงกับเดือน ก.พ.เนื่องจากมูลค่าการส่งออกเดือน มี.ค.ปีที่ผ่านมาสูงถึง 19 พันล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งตอนนี้เศรษฐกิจโลกซบเซา ความต้องการสินค้าลดลง เห็นได้จากตลาดส่งออกหลักๆ ชะลอตัวติดลบเกือบหมด ทั้ง ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป มีเพียงสหรัฐ ที่ยังดี ตลาดจีนก็ติดลบ ภาพรวมตลาดอาเซียนที่เป็นความหวังติดลบ เนื่องจากส่วนใหญ่ไทยส่งออก เป็นสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบที่ต้องนำไปผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่ 3 เมื่อ เศรษฐกิจโลกไม่ดี ทำให้ส่งออกลดลงไปด้วย

สำหรับแนวโน้มการส่งออกครึ่งปีแรก มีโอกาสสูงที่ส่งออกไทยจะติดลบ เพราะกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม อย่างน้ำมัน และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน มีมูลค่าลดลงไปถึง 50% และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่เกี่ยวข้องกับฝ้าย และใยสังเคราะห์ที่ทำมาจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน ราคาก็ลดลงเช่นกัน ประกอบกับค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลง 20% ทำให้การส่งสินค้าไปตลาดยุโรปมูลค่าลดลง

“ในเดือน เม.ย.นี้ทางสภาผู้ส่งออกจะปรับเป้าหมายการส่งออกไทยใหม่ โดยขณะนี้ยังหวังว่าเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลังจะดีขึ้น ที่จะช่วยฉุดให้การส่งออก เป็นบวกได้ โดยตลาดที่เป็นความหวังและมีโอกาสโตมากที่สุด คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม แต่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขายสินค้า ส่งเสริมให้เอสเอ็มอี ขายสินค้าได้โดยตรงในตลาดหัวเมืองใหญ่ๆ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง”

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การส่งออกไทยในปีนี้น่าจะมีลักษณะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา อาจจะไม่โตเพิ่มขึ้น เพราะปีนี้ราคาสินค้าเกษตรคงจะไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว ประเทศผู้ซื้อยังไม่มีกำลังซื้อมากนัก ดังนั้นเราคงหวังรายได้จากการส่งออก จะเข้ามาช่วยดึงจีดีพี ให้เพิ่มขึ้นยังไม่ได้

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ชีพจรโลกธุรกิจ : 12 กรกฎาคม 2568 ชีพจรโลกธุรกิจ : 12 กรกฎาคม 2568
  • หมูไทยเจ๊งแสนล้าน หากเปิดให้สหรัฐเข้ามาตีตลาด หมูไทยเจ๊งแสนล้าน หากเปิดให้สหรัฐเข้ามาตีตลาด
  • “กรุงไทย” ดึง “เบลล่า ราณี” ร่วมแห่เทียนพรรษา “กรุงไทย” ดึง “เบลล่า ราณี” ร่วมแห่เทียนพรรษา
  • ทีทีบี ชวนเปลี่ยนความเชื่อ “ผ่อนรถที่ไหนก็เหมือนกัน”  ส่ง “รีไฟแนนซ์สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ แบบไม่โอนเล่ม” ทีทีบี ชวนเปลี่ยนความเชื่อ “ผ่อนรถที่ไหนก็เหมือนกัน” ส่ง “รีไฟแนนซ์สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ แบบไม่โอนเล่ม”
  • เมืองไทยประกันชีวิต เปิดให้บริการ “ยื่นเคลมผู้ป่วยนอก (OPD)” แบบไม่ต้องสำรองจ่าย เมืองไทยประกันชีวิต เปิดให้บริการ “ยื่นเคลมผู้ป่วยนอก (OPD)” แบบไม่ต้องสำรองจ่าย
  • ศาลสั่งกลุ่มมหากิจศิริส่งบัญชีรับจ่ายและทรัพย์สินรายเดือนให้ศาลและเนสท์เล่ ศาลสั่งกลุ่มมหากิจศิริส่งบัญชีรับจ่ายและทรัพย์สินรายเดือนให้ศาลและเนสท์เล่
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved