วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
ปัญหาของกองทุนชราภาพ

ปัญหาของกองทุนชราภาพ

วันจันทร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556, 06.00 น.
Tag :
  •  

 

"ขณะนี้ประเทศไทย ยังอ้างอิงการเก็บเงินสมทบตามอายุเกษียณ 50 ปี และ 60 ปี จึงทำระยะเวลาในการเก็บเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ไม่เพียงพอกับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืนให้ผู้ประกันตน ซึ่งหากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขในจุดนี้ อนาคตช่วงปีงบประมาณ 2588 อาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนได้"


ท่ามกลางการถกเถียงเรื่องการขยายอายุการทำงาน ประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายเกิดความกังวลเป็นอย่างมาก คือผลกระทบกับหลักประกันรายได้ และความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม เนื่องจากต้องแบกรับภาระการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ประกันตนในระยาว ซึ่งไม่สอดคล้องกับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบนั้น

เมื่อช่วงที่ผ่านมา มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) โดยแผนงานพัฒนาองค์ความรู้เพื่อมโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุและอายุเกษียณที่เหมาะสมสำหรับคนไทย สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จึงได้จัดเวทีเสวนามโนทัศน์ใหม่ผู้สูงอายุเรื่อง“ประกันสังคมจาก จัดเวทีเสวนามโนทัศน์ใหม่ผู้สูงอายุ เรื่อง "ประกันสังคมจาก 55 ปี เป็น 60 ปี กับความมั่นคงทางสังคมแรงงาน"

พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ รองเลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) เปิดเผยว่า เนื่องจากแนวโน้มการเคลื่อนย้ายทางประชากรศาสตร์ ของประเทศไทยกลายไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้แนวโน้มการเกษียณอายุของแรงงานไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพได้ เนื่องจากจำนวนเงินที่แรงงานผู้ประกันตน จ่ายสมทบเข้ากองทุนค่อนข้างน้อย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการจ่างเงินชดเชย จะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่เรียกเก็บ ทำให้ในอนาคตหลังจากที่มีการจ่ายเงินชดเชยผู้ประกันตน ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป อาจจะทำให้กองทุนประกันสังคม เกิดปัญหาเกี่ยวกับสภาพคล่องได้ในอนาคต

พญ.ลัดดา กล่าวว่า ด้วยมูลเหตุและสถานการณ์ในปัจจุบัน ทางมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย จึงได้พยายามผลักดันข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการวิจัยเกี่ยวกับการขยายอายุเกษียณ โดยเฉพาะประเด็นการขยายระยะเวลา ในการจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในให้มากขึ้น เพื่อให้กองทุนยังคงสเถียรภาพ ผ่านการผลักดันการขยายอายุการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรศาสตร์

สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กล่าวว่า ปัจจุบันแรงงานไทยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีอยู่มากถึง 1 ใน 4 ของจำนวนแรงงานในระบบทั้งหมด ดังนั้นหากการกำหนดอายุเกษียณในประเทศไทย ยังเป็นช่วงอายุ 55  ปีในภาคเอกชน และ 60 ปีในภาครัฐบาล จะทำให้ในอนาคตประเทศไทยจะต้องประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

ดังนั้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรพิจารณาถึงประเด็นการขยายอายุทำงาน พร้อมกับการเพิ่มอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมผู้ชราภาพให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ของแรงงานผู้กันตนภายหลังจากเกษียณอายุทำงาน

ดร.เฉลิมพล กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการเก็บเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ยังอ้างอิงตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2553 ที่กำหนดว่าผู้ประกันตนที่อายุ 55 ปีบริบูรณ์ และได้จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 180 เดือน โดยสามารถขอรับเงินชดเชยได้ เท่ากับร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉลี่ยเดือนสุดท้าย และผลประโยชน์จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1 ถ้าผู้ประกันตนสมทบเงินเพิ่มอีก 12 เดือน หลังจากครบ 180 เดือน หากหลักการจ่ายเงินยังคงเป็นแบบนี้ อนาคตจะกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพได้ เนื่องจากอัตราการจ่ายเงินชดเชย ไม่สอดคล้องกับอัตราที่เรียกเก็บสมทบ

"ขณะนี้ประเทศไทย ยังอ้างอิงการเก็บเงินสมทบตามอายุเกษียณ 50 ปี และ 60 ปี จึงทำระยะเวลาในการเก็บเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ไม่เพียงพอกับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืนให้ผู้ประกันตน ซึ่งหากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขในจุดนี้ อนาคตช่วงปีงบประมาณ 2588 อาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกองทุนได้"

ดร.เฉลิมพล กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการหาทางออกให้กับความสเถียรภาพของกองทุนประกันสังคม ทางคณะทำงานจึงเห็นตรงกันว่า ประเทศไทยควรพิจารณาขยายอายุการเกิดสิทธิฯ กรณีชราภาพ โดยเฉพาะการเกษียณในภาคเอกชนจาก 55 ปี เป็น 60 ปี เพื่อเป็นการขยายระยะเวลาการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุน ตามระยะเวลาการขยายอายุการเกิดสิทธิ ขณะเดียวกันทางฝั่งนายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบมากขึ้นตามไปด้วย

ดร.อลงกต วรกี สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กล่าวว่า จากการศึกษาระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการขยายอายุการทำงานไปจนถึงอายุ 66 ปี เนื่องจากประชาชนมีอายุยืนยาวมากขึ้น และอัตราการเกิดต่ำลง พบว่ากลุ่มแรงงานสูงอายุเข้ามาบทบาทมากขึ้น โดยเชื่อมโยงกับการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่ประเทศไทยควรนำมาปรับใช้ โดยการปรับเปลี่ยนการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุน ให้สอดคล้องกับการขยายอายุการทำงาน

"เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนประกันสังคม ภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนการขยายระยะเวลา ในแง่การจ่ายเงินกองทุนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม จากเดิมมีการกำหนดว่าจ่ายครบ 180 เดือน หรือ จ่ายครบ 15  ปี ผู้จ่ายเงินสมทบมีสิทธิรับเงินบำนาญ แต่หากเป็นเช่นนี้ เงินบำนาญที่ได้รับจะไม่มาก ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย" ดร.อลงกต กล่าว

สำหรับข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการขยายอายุเกษียณนั้น ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า จากผลการศึกษาวิจัยของสถาบันทีดีอาร์ไอ เรื่องการขยายอายุเกิดสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ของแรงงานในประเทศไทย จาก 55 ปี เป็น 60 ปี ตั้งแต่เมื่อปี 2551 พบว่า ประเด็นการขยายอายุการทำงาน ควรจะเริ่มที่สถานประกอบการขาดใหญ่ก่อน เนื่องจากมีความมั่นคงทางรายได้ ค่าล่วงเวลา และโบนัส และมีอัตราการออมเพื่อเกษียณอายุ โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายลูกจ้างที่มีเงินออมไม่เพียงพอ มีรายได้ไม่สูง และไม่ได้ทำงานในภาคอุตสาหกรรม

ดร.ยงยุทธ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ภาครัฐควรต้องปรับแก้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2553 เพื่อขยายอายุเกิดสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ จาก 55 ปี เป็น 60 ปี  เช่นเดียวกับประเทศที่อายุประชากรยืนยาว ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการจูงใจผู้ประกันตน ที่อายุ 55 ปีเป็นต้นไป และยังคงทำงานอยู่ ให้ยังจ่ายเงินสมทบต่อไป ด้วยวิธีการได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษ หรือควรได้รับการอุดหนุนค่าจ้างให้แก่สถานประกอบการ ที่จ้างแรงงานสูงอายุต่อไป

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สภาประชาชนฯ เตือนภัย! มิจฉาชีพลวงลงทุน Forex เสียหายมากกว่าปีละหมื่นล้าน สภาประชาชนฯ เตือนภัย! มิจฉาชีพลวงลงทุน Forex เสียหายมากกว่าปีละหมื่นล้าน
  • 6เดือนรบ.แพทองธาร เดินหน้ายกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกมิติ 6เดือนรบ.แพทองธาร เดินหน้ายกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกมิติ
  • ความเสี่ยงบนสองล้อ เมื่อใบขับขี่คือภูมิคุ้มกันชีวิต ความเสี่ยงบนสองล้อ เมื่อใบขับขี่คือภูมิคุ้มกันชีวิต
  • วงถก‘ธรรมศาสตร์’ตีแผ่สถานการณ์‘ตายลำพัง-The Long Goodbye’ ระดมสรรพกำลังดูแล‘สังคมสูงวัย’ วงถก‘ธรรมศาสตร์’ตีแผ่สถานการณ์‘ตายลำพัง-The Long Goodbye’ ระดมสรรพกำลังดูแล‘สังคมสูงวัย’
  • รับมือ‘สังคมสูงวัย’! วงถก‘ธรรมศาสตร์’ห่วงสถานการณ์‘จากไปโดยลำพัง’ รับมือ‘สังคมสูงวัย’! วงถก‘ธรรมศาสตร์’ห่วงสถานการณ์‘จากไปโดยลำพัง’
  • สภาทนายเตรียมจัดพิธีเยียวยาเหยื่อตึกถล่ม เสียชีวิต1ล้าน-เจ็บ2แสน ไม่มีผลผูกพันทางกม. สภาทนายเตรียมจัดพิธีเยียวยาเหยื่อตึกถล่ม เสียชีวิต1ล้าน-เจ็บ2แสน ไม่มีผลผูกพันทางกม.
  •  

Breaking News

'ไพบูลย์'เชื่อมติแพทยสภา เป็นหลักฐานสําคัญ ชี้ชะตา'ทักษิณ' 13 มิ.ย.วันศาลไต่สวน

ลอตแรกครบแล้ว! 'กกต.-DSI'ติดหมายเรียก'สว.พิศูจน์-สว.พิบูลย์อัฑฒ์'

มัลดีฟส์ลุกเป็นไฟ! 'มุก วรนิษฐ์'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดบิกินี่สดใส

สางไฟใต้!!! 'นายกฯ'ถก'รมว.กลาโหม-ผบ.ตร.-ปลัดมท.'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved