วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ทำไมจึงต้องจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าให้เอกชน

ทำไมจึงต้องจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าให้เอกชน

วันอาทิตย์ ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 16.22 น.
Tag : กฟผ. การไฟฟ้าผ่ายผลิต ค่าซื้อไฟฟ้า ไฟฟ้าสำรอง โรงไฟฟ้า เอกชน
  •  

ท่ามกลาง “ความจำเป็น” ของการที่ต้องดึงภาคเอกชนเข้ามาช่วยเสริมสถานะด้านกำลังการผลิตและความมั่นคงทางพลังงาน เพื่อลดข้อจำกัดด้านภาระการเงินและงบประมาณการลงทุนของหน่วยงานรัฐ และร่วมกันขับเคลื่อนบริการสาธารณูปโภคให้เข้าถึงครอบคลุมการใช้งานทั้งระดับครัวเรือนและภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในฝั่งของภาครัฐเอง จึงต้องหามาตรการอุดหนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจดึงดูดเงินลงทุนจากเอกชน

หนึ่งในมาตรการดังกล่าว คือ การจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าให้เอกชน (แม้จะไม่มีการผลิต) ซึ่งในส่วนของประเทศไทย มีข้อมูลจากเว็บไซต์การไฟฟ้าผ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อธิบายความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นการจ่ายค่าซื้อไฟฟ้าให้เอกชนโดยไม่มีการผลิตไว้ว่า


“ในการบริหารจัดการไฟฟ้า มีความจำเป็นที่จะต้องสรรหากระแสไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าต่างๆ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทั้งจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. การนำเข้ากระแสไฟฟ้า และการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน หลักการรับซื้อไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากเอกชน จะแบ่งจ่ายเป็น 2 ส่วน คือ ค่า AP และ EP (สำหรับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว ซึ่งใช้กับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหินนั้น เป็นแนวปฏิบัติในทางสากล)”

ทั้งนี้ ค่าไฟฟ้า AP (Availability Payment) หรือค่าความพร้อมจ่าย เป็นค่าไฟฟ้าที่จ่ายให้โรงไฟฟ้าประเภทใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน จะจ่ายให้ “เมื่อโรงไฟฟ้ามีความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (available)” ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่สัญญาว่า จะจ่ายไฟฟ้าได้มั่นคง

สาเหตุที่มีการจ่ายค่า AP ก็เพื่อเป็นเงื่อนไขให้โรงไฟฟ้าต้องเตรียมโรงไฟฟ้าให้มีความพร้อมจ่ายไฟฟ้าตลอดเวลา เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดวัน และสำรองให้พร้อมจ่ายไฟฟ้ากรณีมีข้อขัดข้องเกิดกับโรงไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า หรือระบบส่งเชื้อเพลิง รวมทั้งช่วยเสริมการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน คือ พลังงานแสงแดด พลังงานลม ชีวมวล และชีวภาพ ซึ่งการจ่ายไฟฟ้ามีความไม่แน่นอน

ขณะที่ ค่า EP (Energy Payment) หรือค่าพลังงานไฟฟ้า เป็นค่าเชื้อเพลิงที่โรงไฟฟ้าเอกชนจะได้รับก็ต่อเมื่อศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าสั่งการให้โรงไฟฟ้าจ่ายไฟฟ้า โดยโรงไฟฟ้าต้องรับประกันประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าว่า ผลิตไฟฟ้า 1 หน่วย ต้องใช้เชื้อเพลิงเท่าไหร่ ถ้าหากมีการใช้เชื้อเพลิงมากกว่าที่รับประกัน เจ้าของโรงไฟฟ้าต้องรับภาระในส่วนนี้เอง

ทั้งนี้ ค่าความพร้อมจ่าย และค่าพลังงานไฟฟ้า มาจากการแข่งขันประมูลเสนอขายไฟฟ้า หรือมาจากการที่หน่วยงานรัฐกำหนด แล้วแต่รอบการรับซื้อไฟฟ้า และจากการที่มีเงื่อนไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ชัดเจนขึ้น ในการเสนอประมูลขายไฟฟ้า ผู้ลงทุนก็จะไม่บวกความเสี่ยงในค่าไฟฟ้ามากเกินไฟ ทำให้ค่าไฟฟ้าเสนอขายมีค่าต่ำ เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ไฟฟ้า

ในทางตรงข้าม หากผลักเรื่องความเสี่ยงให้ผู้ลงทุนมาก ผู้ลงทุนก็จะต้องบวกความเสี่ยงโดยการเพิ่มค่าไฟฟ้า ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น โดยเห็นได้จากระบบตลาดกลางการซื้อขายไฟฟ้า (Power Pool) ที่มีการประมูลซื้อขายไฟฟ้าในระยะสั้นในยุโรปหลายประเทศ และบางประเทศในกลุ่มอาเซียนคือ ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ซึ่งมีค่าไฟฟ้าสูงกว่าประเทศไทย เช่น ข้อมูลจากปี 2558 พบว่า ค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายในฟิลิปปินส์ซึ่งใช้ระบบ Power Pool อยู่ที่ประมาณ 6.50 บาทต่อหน่วย ทั้งๆ ที่ฟิลิปปินส์ใช้ถ่านหินซึ่งมีต้นทุนถูกผลิตไฟฟ้าประมาณ 30% ขณะที่ ไทยที่เป็นระบบจ่ายค่า AP มีค่าไฟฟ้าที่ประชาชนจ่ายคือ ประมาณ 3.80 บาทต่อหน่วย

หนุนตั้งโรงไฟฟ้าใหม่ๆ = เตรียมไฟฟ้าสำรอง

เมื่อพิจารณาตัวเลขกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย อาจเห็นว่ายังมีส่วนที่เกินจากความต้องการอยู่ จนบางคนอาจเข้าใจผิดว่าประเทศไทยมีไฟฟ้าล้นเกิน ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้ว สถานะกำลังการผลิตส่วนเกินนั้น คือความจำเป็นของการที่ประเทศจะต้องเตรียมไฟฟ้าสำรองไว้ ทั้งในกรณีฉุกเฉิน การบำรุงรักษา และค้ำระบบจากการที่พลังงานหมุนเวียนผลิตได้ไม่แน่นอนอีกด้วย รวมทั้งรองรับภาวะเศรษฐกิจ

ในการวางแผนกำหนดจำนวนโรงไฟฟ้า จึงต้องกำหนดให้ระดับกำลังผลิตของโรงไฟฟ้า “มีมากกว่า” ระดับความต้องการใช้ไฟฟ้า เพื่อจ่ายไฟฟ้าเมื่อเกิดกรณี โรงไฟฟ้าหรือระบบส่งขัดข้อง การขัดข้องด้านการส่งเชื้อเพลิง ความต้องการใช้ไฟฟ้าเติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ โรงไฟฟ้าใหม่ใช้เวลาพัฒนาโครงการ 4 - 7 ปี เกิดความล่าช้า การจ่ายไฟฟ้าที่ไม่แน่นอนของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น

ดังนั้น ทั้งการจ่ายค่าไฟฟ้าให้รูปค่า AP ให้เอกชน และการเปิดให้เอกชนเข้ามาตั้งโรงไฟฟ้าเพิ่มจึง “ไม่ใช่” เป็นการเพิ่มภาระค่าไฟให้กับประชาชน แต่เป็นมาตรการที่สร้างความมั่นใจให้ว่า โรงไฟฟ้าเอกชนจะต้องมีการเตรียมโรงไฟฟ้าให้พร้อมจ่ายไฟฟ้า และผลิตไฟฟ้าตามการสั่งการของศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้ามากน้อยให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้า ณ เวลาขณะนั้น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • บางจาก ชูแนวคิด ‘จากความยั่งยืนสู่การฟื้นฟู’ ขับเคลื่อนภาคธุรกิจ บางจาก ชูแนวคิด ‘จากความยั่งยืนสู่การฟื้นฟู’ ขับเคลื่อนภาคธุรกิจ
  • EGCO Group คว้า 2 รางวัลด้านความยั่งยืน AREA 2025 ต่อเนื่องครั้งที่ 4 EGCO Group คว้า 2 รางวัลด้านความยั่งยืน AREA 2025 ต่อเนื่องครั้งที่ 4
  • บางจากจัดกิจกรรม ‘Road to Number One – เราจะเป็นพลังให้กัน’ บางจากจัดกิจกรรม ‘Road to Number One – เราจะเป็นพลังให้กัน’
  • GPSC คว้า 7 รางวัล Finance Asia Awards 2025 GPSC คว้า 7 รางวัล Finance Asia Awards 2025
  • CKPower ติดทำเนียบหุ้น ESG100 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 CKPower ติดทำเนียบหุ้น ESG100 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4
  • BLCP จับมือ ญี่ปุ่น ศึกษานำแอมโมเนียคาร์บอนต่ำเเป็นเชื้อเพลิงร่วมผลิตไฟฟ้า BLCP จับมือ ญี่ปุ่น ศึกษานำแอมโมเนียคาร์บอนต่ำเเป็นเชื้อเพลิงร่วมผลิตไฟฟ้า
  •  

Breaking News

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

รัฐบาลเปิดระบบ‘มอก.วอทช์’ ดึง AI ล่าล้างบางของเถื่อน ผ่านทางออนไลน์ 24 ชม.

'ตะไลชนโคม' สีสันกีฬาพื้นบ้าน-สร้างความสนุกสนาน'งานบุญวันเข้าพรรษา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved