วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
'ธปท.'ตั้งโต๊ะแจงสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก อ้างไม่ใช่เพราะเก็งกำไร

'ธปท.'ตั้งโต๊ะแจงสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก อ้างไม่ใช่เพราะเก็งกำไร

วันอังคาร ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563, 13.46 น.
Tag : ค่าเงินบาท ธปท. บาทแข็ง เศรษฐกิจ
  •  

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงสถานการณ์ค่าเงินบาท โดยยืนยันสาเหตุของค่าบาทที่แข็งค่าขึ้นในปี 2562 ไม่ใช่การแข็งค่าเพื่อการเก็งกำไรแต่เป็นเพราะการเกินดุลของบัญชีเดินสะพัด และไทยมีการลงทุนในประเทศอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งปัญหาค่าเงินบาทเป็นอาการของปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมแก้ไข

"ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด จากการที่ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกและท่องเที่ยวสูงกว่ารายจ่ายจากการนำเข้า    ไม่ได้เป็นผลจากการเก็งกำไรระยะสั้นของนักลงทุนต่างชาติ สะท้อนจากตัวเลขการลงทุนของต่างชาติสุทธิทั้งปี 2019 ที่เป็นการไหลออก" นายเมธี กล่าวย้ำ

รองผู้ว่า ธปท. กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติได้มีการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป ผ่านการเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และขายเงินบาท ซึ่งส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเงินทุนสำรองฯ เพิ่มขึ้นเกือบ 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้จากการค้าขายสินค้าและบริการกับต่างประเทศ โดยหากแบงก์ชาติไม่ได้เข้าไปดูแล เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมากกว่าที่เห็นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติเห็นว่าการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า เป็นเพียงแค่อาการของปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ คือ การเกินดุลการค้าต่อเนื่อง และการออกไปลงทุนในต่างประเทศที่ยังมีน้อย ดังนั้น การเข้าไปดูแลค่าเงิน รวมถึงนโยบายการคลังอื่น ๆ ในระยะสั้น ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่จำเป็นในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยหากสังเกตประเทศอื่น ๆ ที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ค่าเงินไม่ได้แข็งค่าขึ้นเท่าประเทศไทย เนื่องจากมีการนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น และยังช่วยลดความกดดันต่อค่าเงินได้ด้วย

ดังนั้น ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไขโดยทุกภาคส่วน โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเพิ่มการนำเข้าเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหรือลงทุนเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงการผลิต ซึ่งจะมีข้อได้เปรียบในช่วงที่เงินบาทมีการแข็งค่า การลดแรงซื้อบาทจากภาคส่งออก เช่น การเก็บรายได้ไว้ในบัญชีเงินตราต่างประเทศ (FCD) และการเพิ่มการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศของนักลงทุนสถาบันที่ยังมีสัดส่วนน้อยอยู่

"ที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้ดำเนินมาตรการเพื่อเฝ้าระวังเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น และผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแลกเปลี่ยนเงินเพื่อเอื้อให้การนำเงินออกไปลงทุนทำได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้แบงก์ชาติ และ ภาครัฐ ยังคงติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาท และมีการหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องถึงแนวทางในการช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท และพร้อมใช้มาตรการเพิ่มเติมหากเห็นว่าจำเป็น"  รองผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวย้ำ

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง
  • ค่าเงินบาทประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2568 ค่าเงินบาทประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2568
  • กรุงศรีหนุนอุตฯหลักใหม่ เชื่อมญี่ปุ่น-อาเซียนสู่อนาคตยั่งยืน กรุงศรีหนุนอุตฯหลักใหม่ เชื่อมญี่ปุ่น-อาเซียนสู่อนาคตยั่งยืน
  • SCB EIC คาด กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.25% ภายในสิ้นปีนี้ SCB EIC คาด กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.25% ภายในสิ้นปีนี้
  • ค่าเงินบาทประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2568 ค่าเงินบาทประจำวันที่ 26 มิถุนายน 2568
  • กนง.มีมติคงดอกเบี้ยนโยบาย 1.75% จับตาเศรษฐกิจครึ่งปีหลังชะลอ กนง.มีมติคงดอกเบี้ยนโยบาย 1.75% จับตาเศรษฐกิจครึ่งปีหลังชะลอ
  •  

Breaking News

ภาพล่าสุด'เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ' เตรียมเข้าพิธีบวชสามเณรีในวันนี้

ด่วน!!! โปรดเกล้าฯ'ครม.อุ๊งอิ๊งค์ 1/2' 'นายกฯ'ควบ'รมว.วัฒนธรรม'

รวบแล้ว!! 2 ใน 7 คนร้ายปล้น 3.4 ล้านบาท ห้างดังย่านลาดพร้าว

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved