วันอังคาร ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
'พาณิชย์'จับมือ'สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย' ถอดบทเรียนธุรกิจรับมือ'โควิด-19'

'พาณิชย์'จับมือ'สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย' ถอดบทเรียนธุรกิจรับมือ'โควิด-19'

วันพุธ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563, 14.59 น.
Tag : กระทรวงพาณิชย์ ถอดบทเรียน ธุรกิจ รับมือโควิด ส.อ.ท. สนค สภาอุตสาหกรรม โควิด-19
  •  

"กระทรวงพาณิชย์"จับมือ"สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย" ถอดบทเรียนธุรกิจรับมือ"โควิด-19" ชู8ยุทธศาสตร์หน่วยงานภาครัฐ พร้อม10มาตรการสู่ภาคธุรกิจ เน้นปรับตัวและแข่งขันได้

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ จับมือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถอดบทเรียนด้านเศรษฐกิจและการค้า ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่มีประโยชน์กับผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา


น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค.กล่าวว่า สนค.จับมือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงานเสวนา "การเผยแพร่ผลสำเร็จโครงการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติ จากการถอดบทเรียนในช่วงการแพร่กระจายของโรคโควิด-19" เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการศึกษาดังกล่าว จนนำมาสู่ชุดข้อมูลที่เปรียบเสมือนโรดแมปด้านเศรษฐกิจที่มีประโยชน์อย่างมากกับผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากโรคระบาด และแนวทางในการเดินหน้าเพื่อให้สามารถปรับตัวและมีศักยภาพในการแข่งขันได้

อย่างไรก็ตามโครงการศึกษาดังกล่าว ยังส่งผลดีต่อการคาดการณ์และจัดเตรียมมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการรับมือภัยพิบัติในสถานการณ์โลกที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาได้ทันที อาทิ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และภัยพิบัติในอนาคตรวมทั้งให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากวิกฤต ซึ่งโครงการศึกษาดังกล่าว ได้ศึกษามาอย่างรอบคอบ รวมถึงแนวทางความเป็นไปได้ในอนาคต ที่จะมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาประเทศ โดยตั้งเป้าให้เกิดการนำไปใช้ในทุกพื้นที่ของไทย

สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และภัยพิบัติในอนาคตรวมทั้งให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากวิกฤต ประกอบด้วย 8 มาตรการ ประกอบด้วย

1. ให้ความช่วยเหลือในการลดต้นทุนผู้ประกอบการ โดยการชะลอเวลาการชำระภาษี ชะลอการชำระหนี้ ลดราคาค่าไฟฟ้าและสาธารณูปโภค ค่าเช่าพื้นที่ รวมถึงขยายเวลาการบังคับใช้กฎระเบียบหรือโครงการใหม่ที่จะเพิ่มต้นทุน

2. ให้ความช่วยเหลือในการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ ผ่อนปรนเกณฑ์การปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อให้เอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาเข้าถึงเงินกู้และแก้ไขปัญหาธุรกิจได้จริง

3. ให้ความช่วยเหลือในการจ้างแรงงานและการสร้างงานใหม่ พิจารณาการมีมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการจ้างงานให้กับภาคเอกชนชั่วคราวเพื่อลดปัญหาการว่างงาน โดยการให้เงินอุดหนุนบางส่วน รวมทั้งการอุดหนุนการจ้างงานสำหรับนักศึกษาจบใหม่

4. ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในการค้าออนไลน์ในยุคดิจิทัล

5. ส่งเสริมการเจรจาจับคู่ทางธุรกิจระหว่างประเทศผ่านออนไลน์ (Virtual Business Matching)

6. สร้างพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการเอกชนกับภาครัฐในการจัดการวิกฤต

7. เปิดประเทศด้วยความระมัดระวัง สื่อสารนโยบายที่เป็นเอกภาพของภาครัฐในสถานการณ์ภัยพิบัติ

8. สนับสนุนให้องค์กรจัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan, BCP)

"องค์ประกอบสำคัญที่จะนำผลการศึกษานี้ไปสู่ความสำเร็จ ต้องอาศัยกลไกด้านอื่นควบคู่ไปพร้อมกัน อาทิ การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ลดกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้ดีขึ้น รวมทั้งวางระบบให้ความช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการในวิกฤตหรือภัยพิบัติเพื่อรองรับอนาคต นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังมีข้อเสนอที่น่าสนใจเกี่ยวกับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการค้า โดยขอให้มีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้มีความสมดุลและยืดหยุ่นต่อวิกฤต วางตำแหน่งด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจด้านสุขภาพ เศรษฐกิจความเป็นอยู่ที่ดี เศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green) ภาคเกษตรและท่องเที่ยวยั่งยืน รวมถึงการปรับโครงสร้างด้านการเกษตร การผลักดันการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การผลิตแห่งอนาคตและภาคบริการคุณภาพสูง และสนับสนุนการวางตำแหน่งด้านการท่องเที่ยวของประเทศใหม่ โดยยกระดับการท่องเที่ยวสุขภาพ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประเทศในอีก 1 - 2 ปี" น.ส.พิมพ์ชนก กล่าว

นอกจากนี้ โครงการศึกษาดังกล่าว ยังมีข้อข้อเสนอแนะที่มีประโยน์อย่างมากต่อภาคธุรกิจ ประกอบด้าน 10 มาตรการ ดังนี้

1. ให้มีการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องขององค์กร ตั้งแต่คาดการณ์เพื่อลดความเสี่ยง ตอบสนองต่อความเสี่ยง แก้ไขฟื้นฟู  กลับคืนปกติ  และฝึกซ้อมอยู่เสมอ

2. จัดตั้งทีมพิเศษเพื่อบริหารจัดการวิกฤตอย่างทันท่วงที ไม่ยึดติดสายบังคับบัญชา

3. ให้ความสำคัญกับสภาพคล่อง กระแสเงินสด และการลดต้นทุนทางธุรกิจ

4. ปรับตัวและพัฒนาช่องทางการค้าหรือผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ให้สอดรับกับสถานการณ์ และการปรับโมเดลทางธุรกิจใหม่ ให้เข้ากับโอกาสที่จะเกิดขึ้นทั้งระหว่างและโอกาสภายหลังวิกฤต

5. รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าและคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ

6. ปรับโมเดลการทำงานในช่วงวิกฤตให้สอดรับการสถานการณ์

7. ปรับระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในช่วงวิกฤต  ดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน ให้ความเชื่อมั่นกับพนักงานว่าจะไม่มีการปลดพนักงานเพื่อลดต้นทุนหรือหากจะมีการปลดพนักงานในอนาคตก็จะเป็นทางเลือกสุดท้าย

8. ยกระดับทักษะพนักงานและองค์กรให้มีขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีสูงขึ้น

9. จัดการข้อมูลในองค์กรให้ปลอดภัยในช่วงวิกฤต สำรองข้อมูลไว้หลายแห่ง เตรียมพร้อมและมีความระมัดระวังในเรื่องความมั่นคงด้านข้อมูลและไซเบอร์เป็นพิเศษโดยเฉพาะในอนาคตที่เศรษฐกิจการค้าจะปรับตัวไปในทิศทางด้านดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

10. หาโอกาสใหม่จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเตรียมการปรับธุรกิจสู่โอกาสใหม่ โอกาสจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เน้นการใช้ดิจิทัลมากขึ้นและการลดพื้นที่สำนักงาน และให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น หรือจับกลุ่มตลาดที่ยังมีกำลังซื้อ อาทิ จีน เวียดนาม เป็นต้น

​ด้าน น.ส.ไปยดา หาญชัยสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ข้อมูลที่น่าสนใจที่ได้รับจากโครงการศึกษาดังกล่าว พบว่า ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมามีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะมาตรการควบคุมโรคในสถานประกอบการ เพื่อลดผลกระทบต่อภาคการผลิตและการให้บริการ ซึ่งอุตสาหกรรมที่เห็นการปรับตัวได้อย่างชัดเจน ได้แก่ กลุ่มอาหารและสินค้าเพื่อสุขภาพ โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการภายในประเทศ อาทิ หน้ากากผ้าและอุปกรณ์เสริม การพัฒนาชุด PPE เพื่อรองรับการใช้งานในสถานพยาบาลในระยะยาว และกลุ่มยอดขายที่ทำอันดับรองลงมาคือสินค้าที่ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้ามปี เป็นต้น

​ขณะเดียวกันข้อกังวลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของประเทศไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีข้อแนะนำว่าในระยะแรกให้จับตลาดผู้บริโภคในประเทศก่อน โดยพัฒนารูปแบบการตลาดที่มีความแปลกใหม่เพื่อดึงเม็ดเงินการบริโภคจากกลุ่มที่มีศักยภาพ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการควรใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาคุณภาพและสร้างสรรค์งานบริการเพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดย SMI มองว่า จะเกิดพลังในการบริโภคเป็นทวีคูณ เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการสูง แต่มีปัจจัยสำคัญเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบระรอก 2 คือ การสร้างความเชื่อมั่นในระบบการบริหารจัดการ การป้องกันการแพร่ระบาด มีศักยภาพในการชูให้เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พาณิชย์เผยดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนไตรมาส 2 ปรับตัวสูงขึ้น พาณิชย์เผยดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนนไตรมาส 2 ปรับตัวสูงขึ้น
  • กกร.หารือแบงก์ชาติ ยกระดับดีกรีการแข่งขันของไทย กกร.หารือแบงก์ชาติ ยกระดับดีกรีการแข่งขันของไทย
  • ส.อ.ท.กังวลหนัก หวั่น47กลุ่มอุตสาหกรรมบักโกรก ชงรัฐบาลช่วยสู้กำแพงภาษีทรัมป์ ส.อ.ท.กังวลหนัก หวั่น47กลุ่มอุตสาหกรรมบักโกรก ชงรัฐบาลช่วยสู้กำแพงภาษีทรัมป์
  • ‘ส.อ.ท.’เร่งรวมข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯยื่นคลังเจรจาลด‘ภาษีทรัมป์’-ชง 4 มาตรการด่วนรับมือ ‘ส.อ.ท.’เร่งรวมข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯยื่นคลังเจรจาลด‘ภาษีทรัมป์’-ชง 4 มาตรการด่วนรับมือ
  • ‘กรมพัฒน์’ยกทัพกลุ่ม 40 แบรนด์ไทย SMART Local ME-D สร้างโอกาสการค้า ‘กรมพัฒน์’ยกทัพกลุ่ม 40 แบรนด์ไทย SMART Local ME-D สร้างโอกาสการค้า
  • ‘จตุพร’ลงพื้นที่ราชบุรี แก้นมค้างสต๊อก-มะพร้าวราคาตก ‘จตุพร’ลงพื้นที่ราชบุรี แก้นมค้างสต๊อก-มะพร้าวราคาตก
  •  

Breaking News

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศ สธ. ให้ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาควบคุมพิเศษ

'ปราชญ์ สามสี' วิเคราะห์กำแพงภาษี 36% ทรัมป์ บททดสอบความ'ศิโรราบ'ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจ

'กินเนสส์ฯ'ประกาศสุดยอดบลูชีสจากสเปน ขึ้นแท่น'ชีสที่แพงที่สุดในโลก'ด้วยราคา1.35ล้าน

(คลิป) เจรจาภาษีอย่าหวังได้อะไรจาก'ทรัมป์' อย่าเสีย 'ฐานทัพเรือพังงา' เป็นพอ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved