วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2565
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
สรท.จี้รัฐลดต้นทุนขนส่ง  ฉีดวัคซีนให้กับภาคโลจิสติกส์

สรท.จี้รัฐลดต้นทุนขนส่ง ฉีดวัคซีนให้กับภาคโลจิสติกส์

วันพุธ ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : สรท. ภาคโลจิสติกส์
  •  

 

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข้อเสนอแนะให้รัฐบาลดำเนินการ 1.ควรเร่งรัดการฉีดวัคซีนในภาคโลจิสติกส์และภาคการผลิต โดยเฉพาะ ท่าเรือ ท่าอากาศยาน หรือจุดเสี่ยงที่เป็น Gateway สำคัญของประเทศ 2.เร่งให้มีนำเข้าตู้เปล่าเข้ามาเพิ่มเติมโดยเร็วและบริหารจัดการจัดสรรพื้นที่ Space Allocation เนื่องจากปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเริ่มฟื้นตัวในระดับสูง และภาคเอกชนไทยมีความพร้อมและมีศักยภาพที่จะส่งออก จึงขอให้ภาครัฐทำการเช่าเรือ เพื่อไปนำตู้สินค้าเปล่าจากประเทศที่มีตู้ตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก กลับเข้ามาในประเทศไทย


“คาดการณ์ว่าการส่งออกทั้งปีอาจเติบโตได้ถึง 10-15% ภายใต้เงื่อนไขประเทศไทยต้องมีตู้คอนเทนเนอร์เปล่า เฉลี่ยประมาณ 2.01-2.25 ล้าน TEU/ปี (หรือ 1.76-2.07 แสนTEU/เดือน)
การจัดสรรพื้นที่ (Space Allocation) และค่าระวางอยู่ในอัตราที่เหมาะสมเพื่อให้เพียงพอและรองรับต่อการเติบโตของภาคการส่งออก” ดร.ชัยชาญ กล่าว

3.เร่งนำแรงงานเข้าสู่ภาคการผลิต โดยเร่งรัดการหารือเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบและเงื่อนไขรูปแบบการจ้างแบบ Part time ให้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งในเรื่องของอัตราจ้าง ชั่วโมงการทำงาน และสวัสดิการที่นายจ้างและลูกจ้างได้ประโยชน์ร่วมกันและ 4) เร่งปรับลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ อาทิ ภาษีสินค้าเหล็กในภาคการผลิตรวมถึงต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งออกสินค้า

ดร.ชัยชาญกล่าวว่า สำหรับการเสนอแนะเรื่องดังกล่าวเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 มาจาก 1.สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่มีความรุนแรงทั้งในประเทศและ
กลุ่มประเทศในอาเซียน ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ล่าช้าออกไป 2.ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนและอัตราค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูง

3.สถานการณ์ความผันผวนของวัตถุดิบที่สำคัญ คือ ชิปขาดแคลน ส่งผลกระทบเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ต้องชะลอการผลิตเนื่องด้วยจำนวนสินค้าคงคลังที่เริ่มลดลง รวมทั้งสถานการณ์ราคาเหล็กในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น

4.สถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศจำนวนมากและไม่ยังไม่ได้เดินทางกลับเข้ามา ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคเกษตรที่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานประมาณ 2-3 แสนคน และรวมถึงผลต่อการต้องชะลอคำสั่งซื้อจากต่างประเทศออกไป

  •  

Breaking News

‘พรรคเล็ก’เล็งยื่นศาลรธน.ตีความสูตรหาร100 ยันสัมพันธ์‘บิ๊กป้อม’ต่อไป

ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 6 ปี ‘พอร์ท ไฟเย็น’ โพสต์หมิ่นสถาบัน

เร่งหาสาเหตุ! ม.6ดิ่งตึกเรียนชั้น6 เพิ่งอบรมป้องกันภาวะซึมเศร้าไปหมาดๆ

ศาลอนุมัติหมายจับ'บักกระปื้อ'โจรทุบกระจกขโมยทรัพย์สินแม่ค้าออนไลน์ ฟัน 4 ข้อหา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved