วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
รายงานพิเศษ : น้ำลดตอผุดที่‘บ้านเอื้ออาทร เทพารักษ์4’ (ภาคต่อ)

รายงานพิเศษ : น้ำลดตอผุดที่‘บ้านเอื้ออาทร เทพารักษ์4’ (ภาคต่อ)

วันเสาร์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : รายงานพิเศษ
  •  

nn วันก่อน “แนวหน้า โลกธุรกิจ” และสื่ออีกหลายสำนักได้นำเสนอรายงานพิเศษเกี่ยวกับข้อพิรุธของโครงการบ้านเอื้ออาทร เทพารักษ์ 4 ซึ่งเป็นเหตุที่การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ถูกบริษัทเอกชนคู่สัญญาฟ้องร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

เมื่อวันก่อนจากการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ได้ทำเอกสารชี้แจงกรรีดังกล่าว ซึ่งได้มีการนำเสนอผ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้า ไปแล้วเช่นกัน...เนื้อใหญ่ใจความของข้อความชี้แจงสรุปก็คือ นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าฯการเคหะแห่งชาติ ยืนยันว่า การเคหะแห่งชาติได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้เป็นการบุกรุกยึดโครงการ แต่เป็นโครงการที่การเคหะเป็นเจ้าของอยู่แล้ว เพราะได้ทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการกับบริษัทเอกชนคือ บริษัทเพียงประกายก่อสร้าง จำกัด เมื่อปี 2549 แต่ท้ายที่สุดบริษัทไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จตามสัญญา แม้จะขยายเวลาก่อสร้างให้แล้วกว่า 3 ปี แต่ก็ไม้สามารถดำเนินการต่อได้ จึงต้องใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาและดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในที่สุด ซึ่งปัจจุบันคดีความฟ้องร้องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด


โครงการนี้ กคช.ได้ทำสัญญากับบริษัทเอกชนเพื่อจัดสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทรจังหวัดสมุทรปราการ (เทพารักษ์ 4) ประกอบด้วย อาคารชุดพักอาศัยสูง 5 ชั้น ขนาด 33 ตารางเมตร จำนวน 5,830 หน่วยวงเงิน 2,448 ล้านบาท โดยเอกชนต้องจัดหาที่ดินและเงินทุนเพื่อก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จพร้อมเข้าอยู่ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การจัดหาที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับการเคหะจำนวน 9 แปลง เนื้อที่รวม 124 ไร่เศษ ซึ่งบริษัทได้ทำการโอน ที่ดินตามสัญญาเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2549และการเคหะได้จ่ายค่าที่ดินไปแล้ว จึงถือว่า การเคหะแห่งชาติเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยสมบูรณ์ส่วนที่ 2 การก่อสร้างโครงการซึ่งเอกชนจะเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 และ 2 ก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยจำนวน 4,529 หน่วย ค่าก่อสร้าง 1,589 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 540 วันและได้มีการขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีกกว่า 900 วันรวม 1,440 วัน มีการแก้ไขสัญญาขอลดหน่วยก่อสร้างโครงการระยะที่ 1 เหลือ 896 หน่วย และ ระยะที่ 2เหลือ 986 หน่วย แต่เมื่อสิ้นสุดสัญญาก่อสร้างมีความคืบหน้าไปเพียง 70% จึงได้ยกเลิกสัญญาและฟ้องเรียกค่าเสียหาย ส่วนระยะที่ 3 1,121 หน่วย วงเงินก่อสร้าง 384 ล้าน บาทนั้น ได้ยกเลิกโครงการไป ด้วยเหตุที่บริษัทไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อได้ ด้วยเหตุนี้สิ่งปลูกสร้างในโครงการฯ จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของการเคหะแห่งชาติตามสัญญา เนื่องจากมีการส่งมอบงวดงานให้กับการเคหะแห่งชาติแล้ว

และการเคหะฯได้ฟ้องร้องดำเนินคดีกับบริษัทต่อศาลปกครองเมื่อปี 2556 และศาลได้มีคำพิพากษาเมื่อ 24 ก.ย.2562 ให้บริษัทจ่ายค่าเสียหายจากการผิดสัญญา 131.55 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ส่วนการเคหะต้องชำระเงินแก่บริษัทเป็นค่าก่อสร้างที่ยังไม่ได้เบิกจำนวน 28.71 ล้านบาท แต่ทั้งสองฝ่ายได้ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ขณะนี้คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้นการเข้าไปปรับปรุงโครงการของการเคหะฯนั้น ย่อมสามารถดำเนินการได้ ไม่เกี่ยวข้องกับคดีความที่ฟ้องร้องกันอยู่

อ่านจากคำชี้แจงก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่อปกติธรรมดา เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างการเคหะฯและบริษัทเอกชนธรรมดาๆ และเมื่อบริษัทเอกชนไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา แม้จะขยายเวลาก่อสร้างให้แล้วกว่า 3 ปีก็ยังทำไม่ได้ การเคหะย่อมใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาและฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

แต่บังเอิญว่าคนที่เขารู้เขาอยู่ในเหตุการณ์ เราบอกว่ายังมีประเด็นที่ท่านผู้ว่าเคหะไม่ได้พูดถึงเช่นว่า จริงหรือไม่ที่โครงการนี้มีขบวนการบีบให้บริษัทเอกชนต้องจัดซื้อที่ดินตาบอดนอกเหนือจากสัญญาโครงการที่มีต่อกัน และยังนำเอาบริษัทรับเหมาก่อสร้าง มีการสั่งให้ปรับผังโครงการก่อสร้าง โยกพื้นที่ก่อสร้างเพื่อเปิดทางให้มีการนำเอาที่ดินตาบอดเข้ามาผนวกร่วมในโครงการจนนำไปสู่การฟ้องร้องในช่วงปี 2552 ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้การเคหะพ่ายแพ้คดีและต้องถอนบริษัทรับเหมาก่อสร้างดังกล่าวออกไป

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องที่บอร์ดและฝ่ายบริหารการเคหะสั่งหั่นโครงการลงมาเหลือ 1 ใน 3ของสัญญาโดยอ้างว่า บริษัทเอกชนก่อสร้างได้ล่าช้าไม่เป็นไปตามสัญญา ทั้งที่การก่อสร้างโครงการในระยะที่ 1 และ 2 จำนวน 84 อาคาร 4,500 กว่าหน่วยก่อนหน้านั้น บริษัทสามารถดำเนินการก่อสร้างได้เร็วกว่าแผนภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี แต่เมื่อถูกสั่งให้ลดขนาดโครงการลงมาเหลือแค่ 1 ใน 3 ของสัญญา คือ ให้ทำแค่ 42 อาคาร 900 กว่าหน่วยก็ทำเอาบริษัทล้มทั้งยืน ก่อนจะนำมาซึ่งการยุติการก่อสร้าง และถูกบอกเลิกสัญญาตามมา โดยที่ทั้งบริษัทและการเคหะต่างก็ใช้สิทธิ์ฟ้องร้องกันตามมา

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ยังรอคดีความในชั้นศาลปกครองสูงสุดนั้น จู่ๆ การเคหะฯกลับไปดึงเอาบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหม่เข้ามาดำเนินการปรับปรุงอาคารเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นโครงการบ้านเคหะเปี่ยมสุข โดยมีแผนที่จะขายโครงการให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้างรัฐที่เกษียณแล้วมาใช้ โดยอ้างเป็นกรรมสิทธิ์ของการเคหะอยู่แล้ว ทั้งที่ยังมีคดีความฟ้องร้องกันอยู่ โดยบริษัทเอกชนยังคงยืนยัน ว่าตนเองยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตั้งโครงการ โดยยืนยันว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในอดีตไปยังการเคหะฯนั้น เป็นการโอนที่ดินอย่างมีเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่วางไว้ เมื่อทั้งสองฝ่าย ไม่ประสงค์จะดำเนินโครงการต่อก็ต้องกลับไปสู่สถานะเดิมของแต่ละฝ่าย เพราะโครงการนี้เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หาใช่โครงการก่อสร้างที่การเคหะฯตั้งงบขึ้นมาดำเนินการแล้วว่าจ้างเอกชนหรือรับเหมาเข้ามาดำเนินการ ซึ่งหากเอกชนไม่ทำตามสัญญาย่อมสามารถใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้ทุกเมื่อ

เหนือสิ่งอื่นใด หากทุกฝ่ายจะได้ย้อนกลับไปพิจารณาบทเรียนจาก “ค่าโง่โฮปเวลล์” ที่การรถไฟและกระทรวงคมนาคม ใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญากับบริษัทเอกชน ด้วยมูลเหตุที่เอกชนก่อสร้างโครงการล่าช้า ไม่เป็นไปตามสัญญาจึงต้องใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาและสั่งห้ามเอกชนเข้าโครงการ ก่อนจะนำมาซึ่งการฟ้องร้องระหว่างกัน จนในท้ายที่สุดกลับกลายมาเป็นค่าโง่ เมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคาสั่งการการรถไฟฯและกระทรวงคมนาคมต้องร่วมกันชดใช้ความเสียหายให้แก่เอกชน วงเงินกว่า 25,000 ล้านบาท (เงินต้น 11,888ล้านบาท บวกดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ตั้งแต่ปี 2552) นั้นหากเทียบเคียงกับกรณีที่การเคหะฯใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาโครงการนี้และอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของโครงการทั้งที่ตลอดระยะเวลากว่า 11-12 ปีที่ผ่านมากลับไม่เคยได้ลงไปดูแลโครงการ ก่อนจะนำเอาผู้รับเหมารายใหม่เข้าไปปรับปรุงอาคารเพื่อผุดโครงการใหม่นั้นดูเหมือนเหตุผลในการบอกเลิกสัญญาแทบจะถอดแบบมาจากโครงการโฮปเวลล์ทุกกระเบียดนิ้ว

จุดนี้เองที่หลายฝ่ายแสดงความกังวล และย้อนถามไปยังการเคหะแห่งชาติว่า ไม่คิดจะหารือประเด็นข้อกฎหมายไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด หรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนดำเนินการบ้างเลยหรือ? อย่างน้อยจะได้เป็นเกราะกำบังป้องกันตนเองไม่ทำให้เกิดค่าโง่เอาได้ในอนาคต เพราะอย่าลืมว่าโครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการนี้ คือ 1 ในมหากาพย์ทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร 600,000 หน่วย ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพิ่งจะมีคำพิพากษาฟันอดีต รมต.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และลิ่วล้อบริวารผู้เกี่ยวข้องไปนับ 10 รายไปปลายปีก่อน ขณะนี้ยังอยู่ในชั้นอุทธรณ์คดีกันอยู่เลย...การจะผลีผลามทำอะไรลงไป อย่างน้อยจึงควรหา “เกราะกำบัง”ตนเองเอาไว้ก่อนไม่ดีกว่าหรือ จริงไหมท่านผู้ว่าฯครับ

กระบองเพชร

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • รายงานพิเศษ : \'ทรัมป์\' ทำเศรษฐกิจปั่นป่วนทั่วโลก ไทยรับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการค้า รายงานพิเศษ : 'ทรัมป์' ทำเศรษฐกิจปั่นป่วนทั่วโลก ไทยรับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการค้า
  • รายงานพิเศษ : SETHD Index: ดัชนีหุ้นปันผล อีกหนึ่งมุมมองในการเลือกลงทุนในหุ้นปันผล รายงานพิเศษ : SETHD Index: ดัชนีหุ้นปันผล อีกหนึ่งมุมมองในการเลือกลงทุนในหุ้นปันผล
  • รายงานพิเศษ : ผลจากภาษีสหรัฐ...กดจีดีพีไทยเหลือแค่ 1.5% นโยบายการเงินต้องช่วย...รัฐบาลต้องเจรจาให้สำเร็จ รายงานพิเศษ : ผลจากภาษีสหรัฐ...กดจีดีพีไทยเหลือแค่ 1.5% นโยบายการเงินต้องช่วย...รัฐบาลต้องเจรจาให้สำเร็จ
  • รายงานพิเศษ : สหรัฐฯขึ้นภาษี...ส่งออกไทยโดน2เด้ง ฉุดจีดีพีปี2568ต่ำกว่าประมาณการ รายงานพิเศษ : สหรัฐฯขึ้นภาษี...ส่งออกไทยโดน2เด้ง ฉุดจีดีพีปี2568ต่ำกว่าประมาณการ
  • รายงานพิเศษ : EXIM BANK ช่วย SMEs รับมือค่าเงินผันผวน  ออกสินเชื่อเสริมสภาพคล่องและปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน รายงานพิเศษ : EXIM BANK ช่วย SMEs รับมือค่าเงินผันผวน ออกสินเชื่อเสริมสภาพคล่องและปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
  • รายงานพิเศษ : เมื่อแบงก์เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ...  นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องดิ้นหาช่องระบายสต๊อก รายงานพิเศษ : เมื่อแบงก์เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ... นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องดิ้นหาช่องระบายสต๊อก
  •  

Breaking News

วัดใจคนธัญบุรี! ‘นายกเบี้ยว-ลูกพีช’ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเทศบาล ลั่นพร้อมแถลงไม่ว่าแพ้-ชนะ

‘ดุสิตโพล’เผยคนไทยกังวลค่าครองชีพ-ปัญหาเศรษฐกิจ อึ้งมีเงินสำรองฉุกเฉินต่ำกว่า 1 เดือน

ฝนถล่มไม่กระทบ‘เลือกตั้งเทศบาล68’ กกต.เร่งสอบซื้อเสียง‘กาฬสินธุ์’หัวละ 3 พันบาท

‘รพ.ราชทัณฑ์’ร่อนหนังสือแจง ยังไม่ได้ฟ้องศาลเพิกถอนมติ‘แพทยสภา’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved