วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ครัวเรือนกระอักหนี้พุ่ง  เศรษฐกิจไทยโตกระจุก

ครัวเรือนกระอักหนี้พุ่ง เศรษฐกิจไทยโตกระจุก

วันศุกร์ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : เศรษฐกิจไทย หนี้ครัวเรือน
  •  

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึง ผลสำรวจ “สถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย ปี 2566” จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงจำเป็นที่จะต้องมีการก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งภาระหนี้ครัวเรือนไทยสูงขึ้นตั้งแต่ในช่วงสงครามการค้าและถูกซ้ำเติมด้วยโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ที่ตกต่ำลง จำเป็นต้องมีการก่อหนี้ เพื่อใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะคน Gen Yและ Gen Z มีการใช้เงินล่วงหน้ามากขึ้น โดยไม่มีการวางแผน และเมื่อรายได้รวมถึงเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวตามที่คาด จึงส่งผลกระทบต่อภาวะหนี้ที่สูงขึ้น โดยในปี 2566 นี้ หนี้ครัวเรือนไทย ขยายตัว 11.5%คิดเป็นมูลค่าหนี้ 559,408 บาทต่อครัวเรือน โดย 80.2% เป็นหนี้ในระบบ และ 19.8% เป็นหนี้นอกระบบ

ทั้งนี้ คาดว่า ยอดหนี้จะพุ่งสูงสุด ในปี 2567 เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง 2566 นี้ ยังไม่แน่นอน จึงทำให้ยังไม่มีเงินเพียงพอชำระหนี้และอาจต้องก่อหนี้เพิ่มเพื่อประคองตัว เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเวลานี้เติบโตแบบ K-Shaped ในช่วงที่การส่งออกดีแต่การท่องเที่ยวกลับได้รับผลกระทบ และในช่วงที่การท่องเที่ยวเริ่มผ่อนคลายขึ้น การส่งออกกลับทรุดตัวลงเนื่องจากปัจจัยภายนอกจากภาวะเศรษฐกิจโลก ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และหากจัดตั้งรัฐบาลใหม่ล่าช้าจะยิ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการลงทุน กดดันภาวะเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น ดังนั้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาวนั้น อยากให้มีการพิจารณาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ความรู้ในการบริหารจัดการหนี้ การบริหารค่าใช้จ่าย และเพิ่มการคัดกรองที่ดีขึ้นของสถาบันการเงินเพื่อลดปัญหาการสร้างหนี้เพิ่มเป็นต้น


ด้านนายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) กล่าวว่า บรรยากาศการซื้อที่อยู่อาศัย ปัจจุบันจากภาวะหนี้ครัวเรือนสูงทำให้ความต้องการและกำลังซื้อไม่ไปด้วยกัน จึงทำให้ตลาดไม่ดีอย่างที่คิดไว้ แม้ไตรมาส 1 และไตรมาส 2 การโอนกรรมสิทธิ์ยังดีอยู่ ทั้งนี้ไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ถ้าไม่มีรัฐบาล ไม่มีมาตรการกระตุ้น มีโอกาสที่ตลาดจะไม่เติบโตอย่างที่คิด ยิ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นอีก จะกดดันกำลังซื้อในตลาดมากขึ้น ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยทุกครั้ง กระทบต่อภาคอสังหาฯ ทั้งผู้ประกอบการที่ต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น และผู้ซื้อทำให้ได้วงเงินกู้ลดลง ภาระผ่อนเพิ่มขึ้น 350-400 บาท เมื่อดอกเบี้ยปรับขึ้นทุก 0.25%

นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งและปลีกไทย กล่าวว่า ขณะนี้กำลังซื้อค้าปลีกทั่วประเทศฝืดมากขึ้นในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มระดับล่างๆ เพราะไม่มีเงิน แต่ระดับกลาง-บนยังพอไปได้ เพราะมีรายได้ประจำ แต่ไม่คึกคักเหมือนเมื่อก่อน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3% คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3%
  • จับตาสงครามการค้าสหรัฐ-จีนกระทบเศรษฐกิจไทย จับตาสงครามการค้าสหรัฐ-จีนกระทบเศรษฐกิจไทย
  • รมว.คลังถกรอบทิศ หาทางรับมือผลกระทบ \'ทรัมป์2.0\' รมว.คลังถกรอบทิศ หาทางรับมือผลกระทบ 'ทรัมป์2.0'
  • ‘IMF’มองไทยแก้‘หนี้ครัวเรือน’ ชี้กว่าครึ่งเป็น‘แรงงานนอกระบบ’ปัจจัยเสี่ยงสำคัญทางเศรษฐกิจ ‘IMF’มองไทยแก้‘หนี้ครัวเรือน’ ชี้กว่าครึ่งเป็น‘แรงงานนอกระบบ’ปัจจัยเสี่ยงสำคัญทางเศรษฐกิจ
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : รัฐบาลทำอะไรอยู่ครับ  ไฟจะไหม้บ้านแล้ว เศรษฐศาสตร์วันหยุด : รัฐบาลทำอะไรอยู่ครับ ไฟจะไหม้บ้านแล้ว
  • เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ซื้อหนี้ประชาชน  สติเฟื่อง...ไปหรือเปล่า???? เศรษฐศาสตร์วันหยุด : ซื้อหนี้ประชาชน สติเฟื่อง...ไปหรือเปล่า????
  •  

Breaking News

ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องกลับ'แพทยสภา'

มิตรภาพแน่นแฟ้น! 'ปูติน-สี จิ้นผิง'ร่วมชมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะ

อดทนต่อคำปรามาส! 'นิพิฏฐ์'ขอบคุณทุกฝ่าย ยืนหยัดต่อสู้'คดีชั้น 14'

มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 9-15 พ.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved