พ.อ.สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า สัญญาที่ NT ทำร่วมกับพันธมิตร สำหรับใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) คลื่นความถี่ย่าน 850, 2100,2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ที่จะสิ้นสุดในปี 2568 จะไม่มีรายได้ในธุรกิจทั้ง 3 คลื่นนี้
“โดยคลื่น 2100, 2300 MHz พอหมดอายุไลเซ่นส์แล้ว เราก็ไม่มีสิทธิใช้คลื่นความถี่ ในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน มีหลายตัว บางตัวเป็นการเช่าใช้คลื่น 2300 MHz ทั้งหมด ดีแทค เป็นผู้ลงทุนและเป็นเจ้าของ ซึ่งโมเดลในการทำสัญญา ดีแทคลงทุน NT มีคลื่นความถี่ เอามาประกบกัน ตามสัญญาดีแทค เป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐาน แต่ภายใต้สัญญามีออฟชั่น เราสามารถซื้อคืนกลับมาให้บริการได้ แต่ก็ต้องดูว่า เมื่อเราซื้อคืนมาแล้วไม่เกิดประโยชน์ เพราะเราไม่มีคลื่น 850 MHz ก็เหมือนกัน สัญญาเดิมคืน เราต้องลงทุน แต่ที่ผ่านมาเค้าไม่ขายคืน เราก็เลยเช่าใช้ หมดคลื่น ถ้าเราไม่สามารถเจรจาต่ออายุคลื่นได้ ก็ไม่มีประโยชน์” พ.อ.สรรพชัยย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อคลื่นความถี่หมดอายุสัญญา แต่อุปกรณ์เหล่านั้นยังมีมูลค่าอยู่ ซึ่ง NT มองว่าทรัพย์สิน และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มีมูลค่านำมาทำประโยชน์ได้ โดยที่คลื่นยังไม่ถูกนำไปเปิดประมูล NT ยังนำมาสร้างประโยชน์ สร้างรายได้ให้กับองค์กรได้ จุดประสงค์ดังกล่าวนี้อยู่ระหว่างการหารือกับ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เกี่ยวกับนโยบายว่าจะมีนโยบายและเจรจากับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อย่างไร เบื้องต้นมองว่าการนำคลื่นไปให้บริการในพื้นที่ห่างไกลเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการใช้ประโยชน์ของคลื่นเหล่านี้
ในขณะเดียวกัน รมว.ดีอี ได้ให้นำคลื่น 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ได้ประมูลมาจำนวน 100 MHz กลับมาทบทวนแผนการลงทุนใหม่ เนื่องจากการให้บริการเทคโนโลยีระบบ 5G บนคลื่น 26 GHz เป็นการให้บริการแบบ SA หรือ Standalone แบบ 100% ไม่มีเทคโนโลยีระบบ 4G มาร่วมให้บริการ ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่ยังไม่มีการใช้งาน รวมถึงเทคโนโลยีที่ยังไม่ใช้ในแถบเอเชีย
“คลื่น 700 MHz ไม่ได้เบรก ลงทุนไปจบเรียบร้อยแล้ว ข่าวที่ผ่านมาไม่ถูกต้อง ตัวที่ให้มารีไวซ์ คือคลื่น26 GHz ที่เป็น SA เทคโนโลยีมาช้า ในเมื่อมาช้า ทำไมจะต้องรีบลงทุนเป็นก่อน รมว.ดีอีให้ไปศึกษาดูว่าโอเปอเรเตอร์รายอื่นๆ เขาลงทุนแบบไหน เพื่อให้สอดคล้อง ดีกว่าลงทุนเสร็จ แต่เครื่องลูกข่ายไม่มา ไม่มีตลาด ซึ่งก็สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ผ่านมา ตัวเทคโนโลยี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่มา เกิดโควิดต่างๆ ทำให้เกิดการล่าช้า พอล่าช้า เครื่องลูกข่ายมีอยู่แค่ 3 ยี่ห้อ ตลาดเล็กต้องเช็คกับโอเปอเรเตอร์ค่ายอื่นๆ ชะลอมัยซึ่งที่ผ่านมาเค้าลงทุน แต่เขาไม่ลงทุนเต็มที่ เราก็เลยกับมาดูก่อนเพราะของเราเอง เราจะลงทุนโปรเจกท์เบส 26 GHz เวลาทำงาน เวลาทำธุรกิจจะเป็นโครงการเล็กๆ”พ.อ.สรรพชัยย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม การลงทุนคลื่น 26 GHz ตอนแรกที่เสนอลงทุนราว 1,000 ล้านบาทซึ่งก็ตัดงบออกมาเหลือประมาณ 800 กว่าล้านบาทเนื่องจากจะเป็นการใช้โครงข่ายหลัก (Core Network) ร่วมกับคลื่น 700 MHz ซึ่งคลื่น 700 MHz NT ได้ลงทุนไปแล้ว ทำให้ลดลงไปราว 1,400 ล้านบาท ซึ่งพอที่เหลือจะลงทุนเพิ่มอีก 800 ล้านบาท จึงให้ขอศึกษาเพิ่มเติมก่อน ตอนนี้ยังไม่มีลูกค้า รมว.ดีอี ขอให้กลับมารีไวซ์ และดูเป้าหมายให้ชัดเจน
“โดยมีการคุยกันว่า อย่างเช่น เครือข่ายไร้สายระบบเอดจ์ ( EDGE) จะลงทุนโครงข่าย 4 ภูมิภาค จำเป็นต้องลงทุนมั้ย เราก็เลยเลือกว่าจะลงทุนเฉพาะพื้นที่ EEC ก่อน เพื่อที่จะขยายพอร์ตนี้แต่ถ้าพื้นที่อื่นมีเราค่อยทยอยลงทุนดีกว่า แต่งบไม่ได้ถูกตัด แค่วางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ใช้ได้แต่ราคายังสูง เครื่องลูกข่ายมีน้อย ติดเรื่องของต้นทุนสูง เรารอว่ากำลังประกาศทำคลื่น 26 GHz เขาน่าจะมอบคลื่นให้กับโอเปอเรเตอร์ทุกราย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อทำตลาด 26 GHz ซึ่งมองว่าอุปกรณ์เครื่องลูกข่ายจะต้องถูกลง แต่เราประมูลมานานแล้วทุกคนรู้ว่ามันยังไม่พร้อม การเปิดประมูลขึ้นมานั้น การประมูลทุกโอเปอเรเตอร์มองเห็นโอกาส ถ้าไม่ประมูล แล้วเมื่อไหร่จะเปิดประมูลอีก คลื่น 100 MHz ตอนนี้เรากำลังดูอยู่จะทำร่วมกันเหมือนที่ทำ 700 MHz ไหม โดยบอร์ดให้นโยบายมา 2 เรื่อง คือ 1.จะชะลออย่างไร และ2.มีโมเดลที่ร่วมกับโอเปอเรเตอร์ได้มั้ย โดยอยู่ระหว่างการศึกษากันอยู่” พ.อ.สรรพชัยย์ กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี