วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
สนค.จับตาแนวโน้มท่องเที่ยวไทย โอกาสขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะยาว

สนค.จับตาแนวโน้มท่องเที่ยวไทย โอกาสขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะยาว

วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2568, 12.01 น.
Tag : ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ท่องเที่ยวไทย สนค.
  •  

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภาคการท่องเที่ยวเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลากหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร และบริการด้านคมนาคมขนส่ง อย่างไรก็ตามการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีปัจจัยท้าท้ายหลายด้าน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยว การระบาดของโรคติดต่อ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งความปลอดภัยและความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศจุดหมายปลายทาง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว

ทั้งนี้ข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ในปี 2567 นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยมีจำนวนรวม 35.54 ล้านคน เพิ่มขึ้น 26.27% เมื่อเทียบกับปี 2566 และสร้างรายได้ 1.67 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับปี 2566 โดยกลุ่มนักท่องเที่ยว 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน 6,733,162 คน มาเลเซีย 4,952,078 คน อินเดีย 2,129,149 คน เกาหลีใต้ 1,868,945 คน และรัสเซีย 1,745,327 คน การเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ สะท้อนถึงการฟื้นตัวที่ชัดเจนของภาคการท่องเที่ยวไทย ซึ่งคาดว่าได้รับอานิสงส์จากหลายปัจจัย อาทิ อุปสงค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศสูงขึ้น มาตรการยกเว้นวีซ่า การยกเว้นบัตร ตม.6 สำหรับด่านชายแดนทางบก การเพิ่มเที่ยวบินและการขยายเส้นทางการบินมายังไทย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ


อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่ในปี 2567 เป็นกลุ่มตลาดระยะใกล้ (Short haul)  อาทิ กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนในปี 2567 จะคิดเป็นเพียงสัดส่วน 60.45% ของปี 2562 (ช่วงก่อนเกิดโควิด-19) แต่คาดว่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาการจัดทำสถิติท่องเที่ยวของไทย ซึ่งใช้ตามแนวทาง IRTS 2008 (International Recommendations for Tourism Statistics 2008)  ของ UN Tourism แสดงว่า รายได้ด้านการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับ 3 ตัวแปรหลัก ได้แก่ จำนวนนักท่องเที่ยว (คน) x วันพักเฉลี่ย (วัน) x ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวัน (บาท) โดยเมื่อวิเคราะห์รายตัวแปร พบว่า ทุกตัวแปรมีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ด้านการท่องเที่ยวทั้งสิ้น แต่การส่งเสริมให้แต่ละตัวแปรเติบโตก็มีความท้าทายที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1.จำนวนนักท่องเที่ยว : เป็นตัวแปรขนาดใหญ่ที่สามารถติดตามผลได้ชัดเจน อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างมากที่สุดทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ โดยหากนักท่องเที่ยวมีจำนวนมาก จะทำให้เกิดการใช้จ่ายที่หลากหลายและการขยายตัวของอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจ แต่หากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ผลกระทบในทางลบก็จะชัดเจนเช่นกัน

2.วันพักเฉลี่ย : นักท่องเที่ยวที่มีระยะเวลาการพำนักที่นานขึ้น ก็มีแนวโน้มจะใช้จ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้นซึ่งจะช่วยสร้างรายได้แก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การจะส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมีวันพักเฉลี่ยที่นานขึ้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล อาทิ ระยะเวลาที่สามารถท่องเที่ยวได้มีจำกัด พฤติกรรมการท่องเที่ยวสมัยใหม่ที่นิยมทริปสั้น ๆ และกำลังซื้อที่อาจลดลงหากเพิ่มจำนวนวันพัก

3.ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวัน (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อทริป/วันพักเฉลี่ย) : เกิดจากการคำนวณค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวแต่ละคนครอบคลุมหมวดหมู่ต่าง ๆ อาทิ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายด้านความบันเทิง ค่ารักษาพยาบาล และค่าซื้อสินค้าและของที่ระลึก โดยตัวแปรนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสะท้อนคุณภาพของนักท่องเที่ยวและความสามารถในการใช้จ่าย หากนักท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายต่อคนต่อวันในระดับสูง ก็จะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ด้านการท่องเที่ยวแม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะไม่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเป็นตัวแปรที่ควบคุมได้ยาก เพราะมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบ อาทิ อัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลต่อกำลังซื้อ การแข่งขันด้านราคาของสินค้าและบริการซึ่งอาจทำให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้จ่ายในราคาที่ถูกกว่า และพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและสภาพแวดล้อมต่างๆ

ทั้งนี้ปัจจุบันโครงสร้างนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคอาเซียนและประเทศใกล้เคียงซึ่งมีค่าใช้จ่ายและวันพักเฉลี่ยไม่สูงนัก ดังนั้น อาจพิจารณาเจาะตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ๆ เพื่อโอกาสในการเพิ่มรายได้ด้านการท่องเที่ยวและกระตุ้นให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น อาทิ 1.กลุ่มที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคปัจจุบันและมีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยเฉพาะภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวดังกล่าว อาทิ สปา และการฟื้นฟูสุขภาพเฉพาะทาง มักมีมูลค่าสูงกว่าการท่องเที่ยวทั่วไป จึงมีแนวโน้มที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงเข้ามาในไทยได้มากขึ้น

2.กลุ่มที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรม (Event Tourism) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่มีความสนใจเดียวกัน อาทิ การแสดงดนตรี งานเทศกาล และการแข่งขันกีฬา โดยกิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความรื่นเริงและประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับนักท่องเที่ยว แต่ยังกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการกระจายรายได้และขยายการเติบโตของเศรษฐกิจในระดับชุมชนอย่างมีนัยสำคัญ

นายพูนพงษ์ กล่าวว่า ภาคการท่องเที่ยวถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย โดยสะท้อนจากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ระบุว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศด้านการท่องเที่ยว(Tourism GDP) ในไตรมาส 3 ปี 2567 มีมูลค่า 650,952 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 14.16% ของเศรษฐกิจประเทศ อย่างไรก็ดี ความผันผวนของปัจจัยภายนอกและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริมให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ก็จะเดินหน้าสนับสนุนธุรกิจบริการและผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก และทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่คุ้มค่าแก่การมาเยือน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว

-033
 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ดัชนีราคาผู้ผลิต เม.ย.68 หดตัวตามการแข่งขันที่สูงขึ้น-ภาวะการค้าโลกที่ไม่แน่นอน ดัชนีราคาผู้ผลิต เม.ย.68 หดตัวตามการแข่งขันที่สูงขึ้น-ภาวะการค้าโลกที่ไม่แน่นอน
  • สนค. เปิดเวทีระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาฯ หนุนการค้าปศุสัตว์ไทยยั่งยืน สนค. เปิดเวทีระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาฯ หนุนการค้าปศุสัตว์ไทยยั่งยืน
  • สินค้าเกษตรไทย ท่ามกลางสงครามการค้าสหรัฐ-จีน สินค้าเกษตรไทย ท่ามกลางสงครามการค้าสหรัฐ-จีน
  • ส่องผลกระทบสินค้าเกษตรไทย หลังสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ส่องผลกระทบสินค้าเกษตรไทย หลังสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน
  • สนค.ชี้อาหารทางการแพทย์-อาหารเฉพาะบุคคลโอกาสผู้ประกอบการไทย สนค.ชี้อาหารทางการแพทย์-อาหารเฉพาะบุคคลโอกาสผู้ประกอบการไทย
  • สนค.เผยหลายปัจจัยหนุน ค่าขนส่งทางถนนไตรมาสแรกพุ่ง2.7% สนค.เผยหลายปัจจัยหนุน ค่าขนส่งทางถนนไตรมาสแรกพุ่ง2.7%
  •  

Breaking News

เริ่มแล้ว!!! การแข่งขันเรือใบ Trat Regatta 2025 ระดับนานาชาติครั้งแรกในจังหวัดตราด

'โฆษก​ มท.'แจงแล้ว! ​ปมเรียก​สรรพนาม'คุณลูกค้า'แทน'คุณลุง​-​คุณป้า'

ด่วน!เปิดชื่อ 55 สว. เรียกรับทราบข้อหาปม'คดีฮั้ว' แบ่งเป็น 3 ลอต

ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved