วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
เปิดรายละเอียดการจัดตั้งศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน

เปิดรายละเอียดการจัดตั้งศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน

วันอังคาร ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 16.31 น.
Tag : คลัง financial
  •  

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการจัดตั้งศูนย์กลางทางการประกอบธุรกิจทางการเงิน (Financial Hub) เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้มีบทบาทเป็นผู้เล่นสำคัญทางเศรษฐกิจในเวทีโลกและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคตนั้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการของร่างพระราชบัญญัติศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ.) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นการยกร่างกฎหมายชุดใหม่ให้มีความเป็นสากล โปร่งใส และเอื้อต่อการประกอบธุรกิจ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Financial Hub ได้อย่างแท้จริงตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ ในระยะต่อไปร่าง พ.ร.บ. จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ก่อนที่จะมีผลใช้บังคับต่อไป

โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ. ประกอบด้วย 9 หมวด 96 มาตรา โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้ 1) การประกอบธุรกิจเป้าหมายภายใต้ Financial Hub


Financial Hub ต้องการดึงดูดผู้ประกอบธุรกิจเป้าหมายที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและสาขาของนิติบุคคลต่างประเทศ 8 ประเภท ได้แก่ 1) ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ 2) ธุรกิจบริการการชำระเงิน 3) ธุรกิจหลักทรัพย์ 4) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 5) ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 6) ธุรกิจประกันภัย 7) ธุรกิจนายหน้าประกันภัยต่อ และ 8)ธุรกิจทางการเงินหรือธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือสนับสนุนธุรกิจทางการเงินตามที่ประกาศกำหนด ให้เข้ามาลงทุนและตั้งบริษัทในประเทศไทย โดยต้องมีสถานที่ตั้งในเขตพื้นที่ที่กำหนดตามความพร้อมในการพัฒนา Ecosystem หรือโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญและจะต้องจ้างแรงงานไทยเป็นสัดส่วนตามที่กำหนด โดยสามารถให้บริการแก่ผู้ที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) เท่านั้น ห้ามชักชวนหรือให้บริการลูกค้าในประเทศไทย

ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจเป้าหมายสามารถประกอบกิจกรรมการมีส่วนร่วมในตลาด (Market Participant) ได้ ดังนี้ (1) ผู้ประกอบธุรกิจด้านประกันภัยภายใต้ Financial Hub สามารถทำประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยในประเทศไทยเพื่อโอนความเสี่ยงได้

(2) ผู้ประกอบธุรกิจด้านตลาดทุนภายใต้ Financial Hub สามารถให้บริการร่วมกับผู้ประกอบการไทย (Co-services) ในการพาลูกค้าไปลงทุนต่างประเทศได้

(3) ผู้ประกอบธุรกิจด้านสถาบันการเงินภายใต้ Financial Hub สามารถทำธุรกรรม Interbank กับสถาบันการเงินไทยเพื่อบริหารความเสี่ยงได้

(4) ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินภายใต้ Financial Hub สามารถเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partner) หรือเชื่อมระบบกับผู้ให้บริการภายใต้การกำกับดูแลของไทยได้ หากมีมาตรฐานเท่าเทียมกัน

(5) ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้ Financial Hub ที่ทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงิน จะมีสถานะเป็น Non-resident ที่ประกอบธุรกิจทางการเงิน โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน และมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท

2) สิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจเป้าหมายภายใต้ Financial Hub

ผู้ประกอบธุรกิจเป้าหมายภายใต้ Financial Hub จะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งทางภาษีและมิใช่ภาษี โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะพิจารณาให้ทัดเทียมกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของต่างประเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีที่จะได้รับ เช่น การยกเว้นกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของบุคคลต่างด้าว สิทธิประโยชน์ในการนำคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทย การให้กรรมสิทธิในการถือครองห้องชุดเพื่อการประกอบธุรกิจและอยู่อาศัย เป็นต้น

3) การอนุญาตและกำกับดูแลธุรกิจภายใต้ Financial Hub

การดำเนินการเพื่อผลักดันให้เกิด Financial Hub นั้น จะมีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน (One Stop Authority: สำนักงาน OSA ) ขึ้น เป็นหน่วยงานของรัฐเพื่อให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (End to end) ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Financial Hub และสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย และมีคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมศูนย์กลางการประกอบธุรกิจทางการเงิน (คณะกรรมการ OSA) ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Financial Hub กำหนดแนวทางการส่งเสริมธุรกิจเป้าหมาย กำหนดประเภทและขอบเขตของการอนุญาตในการประกอบธุรกิจเป้าหมาย กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการขออนุญาต และพิจารณาการอนุญาต รวมทั้งการเพิกถอนการอนุญาต รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น การดูแลฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน การคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล เป็นต้น

นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจเป้าหมายอยู่ภายใต้ข้อกำหนดหรือมาตรฐานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) ที่เป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ คณะกรรมการ OSA จะประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิในหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้การพิจารณาดำเนินการต่าง ๆ ในการส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินเป็นไปอย่างถูกต้อง รอบคอบ มีประสิทธิภาพและตรงตามขอบเขตวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงิน

โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ประเทศไทยมีปัจจัยที่สามารถดึงดูดผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินต่างประเทศ เช่น ทักษะแรงงานไทย โครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินไทยที่พัฒนามากกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคจึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น (1) การดึงดูดผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยซึ่งจะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศ ทำให้ประเทศไทยสามารถจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้น

(2) การส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงานไทย ช่วยให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทักษะทางการเงินที่ทันสมัย สร้างโอกาสการจ้างงานและรายได้ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในสายงานที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เทคโนโลยี และบริการสนับสนุนด้านการเงิน และ (3) เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจของไทย กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมการพัฒนาระบบการเงินและนวัตกรรมทางการเงินของประเทศไทย

-031

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'คลัง\'เตรียมเสนอ ครม. เคาะแจก‘เงินหมื่น เฟส 3\' กลุ่มวัยรุ่น 16-20 ปี พรุ่งนี้ 'คลัง'เตรียมเสนอ ครม. เคาะแจก‘เงินหมื่น เฟส 3' กลุ่มวัยรุ่น 16-20 ปี พรุ่งนี้
  • คลังจัดใหญ่งานครบรอบ150ปี แบงก์รัฐตบเท้าร่วมเสนอหลากผลิตภัณฑ์ คลังจัดใหญ่งานครบรอบ150ปี แบงก์รัฐตบเท้าร่วมเสนอหลากผลิตภัณฑ์
  • คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3% คลังเร่งหามาตรการเสริมพยุงจีดีพีไม่ให้ต่ำกว่า 3%
  • คลังฉลอง 150 ปี เปิดจองพันธบัตรออมทรัพย์คนละไม่เกิน 2 ล้านบาท คลังฉลอง 150 ปี เปิดจองพันธบัตรออมทรัพย์คนละไม่เกิน 2 ล้านบาท
  • ‘จุลพันธ์’ขอรอชัดๆปม‘คลัง’เตรียมออก‘พ.ร.บ.กู้เงิน’ ‘จุลพันธ์’ขอรอชัดๆปม‘คลัง’เตรียมออก‘พ.ร.บ.กู้เงิน’
  • ขยายเวลา‘คุณสู้ เราช่วย’ถึงสิ้นเดือนเม.ย.นี้ พร้อมเปิดรับเพิ่มผู้ร่วมโครงการ ขยายเวลา‘คุณสู้ เราช่วย’ถึงสิ้นเดือนเม.ย.นี้ พร้อมเปิดรับเพิ่มผู้ร่วมโครงการ
  •  

Breaking News

ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องกลับ'แพทยสภา'

มิตรภาพแน่นแฟ้น! 'ปูติน-สี จิ้นผิง'ร่วมชมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะ

อดทนต่อคำปรามาส! 'นิพิฏฐ์'ขอบคุณทุกฝ่าย ยืนหยัดต่อสู้'คดีชั้น 14'

มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 9-15 พ.ค.68

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved