นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปี 2568 คาดว่าจะขยายตัว 2.3 – 3.3 %(ค่ากลางการประมาณการอยู่ที่ 2.8%) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก1.การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน 2.การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชนและการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน 3.การฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องและ 4.การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า ทั้งนี้คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.3% และ 3.2 % ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกในรูปดอลล่าร์สรอ. ขยายตัว 3.5%อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.5 - 1.5 %และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5% ของ GDP
ทั้งนี้การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2568 ควรให้ความสำคัญกับ 1. การเตรียมการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ 2. การเร่งรัดส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนให้กลับมาขยายตัว 3. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว 4. การสร้างการตระหนักรู้ถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพื่อให้ลูกหนี้โดยเฉพาะลูกหนี้รำยย่อยและธุรกิจ SMEs ได้รับความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้ำงหนี้และสามารถชำระหนี้ได้อย่ำงเหมาะสม5. การขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัดรัดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5) อย่างจริงจัง
นายดนุชา กล่าวว่า ส่วนตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2567 ขยายตัว3.2% เร่งขึ้นจากการขยายตัว3.0%ในไตรมาสที่สามของปี 2567 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสี่ของปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสสามของปี 25670.4% (%QoQ_SA)
ด้านการใช้จ่ายการลงทุนภาครัฐและการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวเร่งขึ้น การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการอุปโภคภาครัฐบาลชะลอตัวลง และ การลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่อง
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว3.4%ต่อเนื่องจาก 3.3%.ในไตรมาสก่อนหน้าตามการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายในเกือบทุกหมวด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการรัฐสอดคล้องกับความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้จ่ายของหมวดบริการขยายตัว 6.4%ต่อเนื่องจาก 6.3%.ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร การบริการด้านสุขภาพและการบริการขนส่ง
การใช้จ่ายหมวดสินค้ามีคงทนขยายตัว2.3%ต่อเนื่องจาก 2.2%ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และการใช้จ่ายกลุ่มไฟฟ้าก๊าซและเชื้อเพลิงอื่นๆ
การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัว3.7%ต่อเนื่องจาก 3.5%ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า การใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องเรือนและแครื่องตกแต่ง อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนลดลง 9.5% ต่อเนื่องจากการลดลง 9.9%ในไตรมาสก่อนหน้าตามการลดลงของการใช้จ่ายเพื้อซื้อยานพาหนะ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ50.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 50.1ในไตรมาสก่อนหน้านี้
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัว5.4% ชะลอตัวจาก 6.1%ในไตรมาสก่อนหน้า โดยค่าตอบแทนแรงงานขยายตัว 2.8% ค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัว10.6%ส่วนรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสดสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัว 13.1% สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ 36.7% (สูงกว่าอัตราเบิกจ่าย19.9%ในไตรมาสก่อนหน้าและ 30.7% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมทั้งปี 2567 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 4.4% เทียบกับ 6.9% ในปี 2566 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้น2.5% เทียบกับการลดลง 4.7% ในปี 2566
การลงทุนรวมขยายตัว5.1% ต่อเนื่องจาก 5.0%ในไตรมาสก่อนหน้าโดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม2.1%เทียบกับการลดลง 2.5%ในไตรมาสก่อนตามการลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือที่ลดลง 1.7% ต่อเนื่องจากการลดลง 1.5%ในไตรมำสก่อนหน้าโดยเป็นผลจากการลดลงต่อเนื่องของการลงทุนในหมวดยานยนต์ สอดคล้องกับยอดจดทะเบียนยานยนต์ใหม่ที่ลดลง 18.6% ขณะที่การลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือประเภทอื่นขยายตัวสอดคล้องกับการเร่งขึ้นของการนำเข้าสินค้าทุน ส่วนการลงทุนก่อสร้างลดลง 3.9%เทียบกับการลดลง 6.0%ในไตรมาสก่อนหน้าตามก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาส3 ที่ 7.8%ขณะที่การก่อสร้างอาคารโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัว การลงทุนภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์สูง 39.4% เร่งขึ้นจาก 25.2%ในไตรมาสก่อนหน้าโดยเป็นการเร่งขึ้นทั้งการลงทุนก่อสร้างและเครื่องจักรเครื่องมือ
สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ 13.4 %(ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่าย 37.5% ในไตรมาสก่อนหน้าแต่สูงกว่า 6.3% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมทั้งปี 2567 การลงทุนรวมทรงตัว เทียบกับการขยายตัว 1.2 %ในปี 2566 โดยการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง 1.6 %เทียบกับการเพิ่มขึ้น 3.1%ในปี 2566 ขณะที่การลงทุนภาครัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.8% เทียบกับการลดลง 4.2%ในปี 2566
ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 76,660 ล้านดอลล่าร์สรอ.ขยายตัว10.6 %สูงสุดในรอบ 11 ไตรมาส เร่งขึ้นจาก 8.9% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 9.3%ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของปริมาณส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าประมงกลับมาขยายตัว ส่วนราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 1.2 %
กลุ่มสินค่าที่มีมูลค่าส่งออกขยายตัว เช่น ยางพารา( 30.8%) คอมพิวเตอร์ ( 118.9%) ผลิตภัณฑ์ยาง ( 52.6%) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( 45.7%) และเครื่องจักรและอุปกรณ์ ( 23.9%) เป็นต้น กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ข้าว(ลดลง 7.3%) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้ำ (ลดลง 32.5%) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลง 23.5%) และรถกระบะและรถบรรทุก (ลดลง 13.0%) เป็นต้น
ส่วนการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 71,309 ล้านดอลล่าร์ สรอ. ขยายตัว 10.7% ต่อเนื่องจาก 11.3% ในไตรมาสก่อนตามการนำเข้าที่ขยายตัวในทุกหมวดสินค้ำ สอดคล้องกับการขยายตัวของการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ โดยปริมาณการนำเข้าขยายตัว9.1% ขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้น1.5 %ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 5.4 พันล้านดอลล่าร์ สรอ. (182.3 พันล้านบาท) ต่ำกว่าการเกินดุล 5.8 พันล้านดอลล่าร์ สรอ.(198.5 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อน รวมทั้งปี 2567 การส่งออกมีมูลค่า297,049 ล้านดอลล่าร์ สรอ.เพิ่มขึ้น 5.8%ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ำ 277,775 ล้านดอลล่าร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 6.3 %ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 19.3 พันล้านดอลล่าร์สรอ. (678.2 พันล้านบาท)
ด้านการผลิตสาขาเกษตรกรรมฯ กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งและการขายปลีกกฯ และสาขาการก่อสร้างขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง
สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ขยายตัว 1.2% เทียบกับการลดลง 1.0%ในไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญหลายรายปรับตัวเพิ่มขึ้น อาทิกลุ่มไม้ผล( 4.7%) อ้อย ( 16.9%) และข้าวเปลือก ( 1.1%) กุ้งขาวแวนนำไม (15.4%) และไก่เนื้อ( 0.9%) ตามลำดับ
สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 0.2% ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้น 0.3 %ในไตรมาสก่อนหน้าโดยการผลิตสินค้าสำคัญ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
สาขาการผลิตอุตสหกรรมลดลง 0.5% เทียบกับการลดลง 2.7 %ในปี 2566
สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัว 10.2% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 8.4%ในไตรมาสก่อนหน้า
สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัว 9.0 %ต่อเนื่องจากการขยายตัว 9.2%ในไตรมาสก่อนหน้า
สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้น 3.9% เร่งขึ้นจากการขยายตัว3.6% ในไตรมาสก่อนหน้า
สาขาก่อสร้างขยายตัว 18.3% ต่อเนื่องจากการขยายตัว 15.2% ในไตรมาสก่อนหน้า
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.88 %ต่ำกว่า 1.02 %ในไตรมาสก่อนหน้าแต่สูงกว่า 0.81% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตรำเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่1.0% และ 0.8%ตามลำดับ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5.6 พันล้านดอลล่าร์สรอ. (192.1 พันล้านบาท) เงินทุนสำรองรองระหว่ำงประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวำคม 2567 อยู่ที่ 237.0 พันล้ำนดอลลำร์ สรอ.และหนี้สำธำรณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 มีมูลค่าทั้งสิ้น 11.85 ล้านบาทคิดเป็น 63.9 %ของ GDP
สรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี2567 ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2.0% ในปี 2566ด้านการใช้จ่ายการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการอุปโภคภาครัฐบาลขยายตัว 4.4% และ 2.5%ตามลำดับ การลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.8 %ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง 1.6 %ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลำร์ สรอ. ขยายตัว 5.8 %ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่งและการขายปลีก และสาขาก่อสร้าง ขยายตัว 9.5%, 9.0%, 3.8% และ 1.3 %ตามลำดับ
ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้และการประมงลดลง 0.5% และ 1.0 %ตามลำดับรวมทั้งปี 2567 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 18.58ล้านล้านบาท (5.26 แสนล้านดอลล่าร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นจาก17.95 ล้านล้านบาท(5.15 แสนล้านดอลล่าร์ สรอ.) ในปี 2566 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 264,607.7 บาทต่อคนต่อปี (7,496.0 ดอลลำร์ สรอ. ต่อคนต่อปี) เพิ่มขึ้นจาก 256,345.4 บาทต่อคนต่อปี (7,363.3 ดอลลำร์ สรอ. ต่อคนต่อปี) ในปี 2566 สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.0%อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.3% ของ GDP
-031
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี