วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ดัชนีผลผลิตอุตฯ ม.ค. ส่งสัญญาณบวกจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ

ดัชนีผลผลิตอุตฯ ม.ค. ส่งสัญญาณบวกจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ

วันศุกร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 15.25 น.
Tag : สศอ. ดัชนี MPI
  •  

นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมกราคม 2568 อยู่ที่ระดับ 98.89 หดตัว 0.85 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวจากเดือนก่อน 8.70%  และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 60.38 %โดยได้รับปัจจัยบวกจากรัฐบาลที่มีโครงการเพื่อแบ่งเบาภาระของประชาชน และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายจากภาครัฐ เช่น โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาท ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหรือ GDP ได้ประมาณ 0.275%

นอกจากนี้ ยังมีโครงการพักหนี้ “คุณสู้ เราช่วย” ที่เข้ามาช่วยประชาชนในการตัดเงินต้น พักดอกเบี้ย 3 ปี และปิดจบหนี้ และ โครงการลดหย่อนภาษีผ่าน Easy E-Receipt 2.0 ทำให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดส่งออกที่ขยายได้ดี สะท้อนจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2568 ที่ขยายตัว โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 17%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัว 11.80%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย เช่น อาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ส่งผลลบต่อภาคการผลิต ได้แก่ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัญหาค่าครองชีพ และสถานการณ์หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังอยู่ในระดับที่สูง กดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคส่งผลให้การบริโภค ชะลอตัวลง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้มาตรการกีดกันทางการค้า ที่สหรัฐฯ นำมาใช้จัดเก็บภาษีจาก 3 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก แคนาดา และจีน อาจส่งผลต่ออุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีนที่อาจจะทะลักเข้ามาในไทยเพิ่มมากขึ้น

สำหรับระบบการเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาพรวมของไทยเดือนมกราคม 2568 “ส่งสัญญาณเฝ้าระวัง” โดยปัจจัยภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังใกล้เคียงกับเดือนก่อน ตามปริมาณสินค้านำเข้าที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงความเชื่อมั่นทั้งทางธุรกิจและผู้ผลิตที่มีระดับเพิ่มขึ้นไม่มากจากเดือนก่อน ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ปกติเบื้องต้นตามการขยายตัวของความเชื่อมั่นทางธุรกิจและแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่การผลิตของประเทศยูโรโซนและญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเฝ้าระวังตามผลผลิตที่หดตัว

นายภาสกร กล่าวว่า เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จาก 2.25% เป็น 2.0 %  คาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการในภาคการผลิตไทยได้รับอานิสงส์จากการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Expansionary Monetary Policy) ในครั้งนี้ โดยเฉพาะในด้านของการลงทุนและ การขยายตัวของธุรกิจ ได้แก่ การลงทุนในธุรกิจ ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินลดลง ผู้ประกอบการมีต้นทุนของแหล่งเงินทุนที่ถูกลง ส่งผลให้มีแรงจูงใจในการลงทุนในโครงการต่าง ๆ เช่น การขยายกำลังการผลิต การซื้อเครื่องจักรใหม่ หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการขยายตลาดได้ การขยายตัวของธุรกิจ สามารถขยายกิจการได้เร็วขึ้น เนื่องจากสามารถลงทุนในการพัฒนาใหม่ ๆ ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องแบกรับต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ซึ่งทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวเร็วขึ้นในระยะสั้น ความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ส่งผลทำให้ราคาสินค้าหรือบริการมีราคาถูกลง และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ลดลง เช่น บ้าน และรถยนต์ ส่งผลต่อความต้องการจับจ่ายใช้สอยเงินในการซื้อสินค้าในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

“สศอ. ได้ประมาณการผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ในครั้งนี้ โดยคาดว่าจะส่งผลทำให้ GDP ภาคการผลิตในปี 2568 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับกรณีที่ ธปท. ไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ สศอ. ได้เดินหน้าปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อช่วยพลิกฟื้นภาคอุตสาหกรรมไทยให้เป็นเครื่องยนต์สำคัญที่จะเพิ่มแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น โดยตั้งเป้าให้ภาคอุตสาหกรรมมีส่วนผลักดัน GDP ของประเทศให้เติบโตขึ้นไม่น้อยกว่า 1% ”นายภาสกร กล่าว

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตเดือนมกราคม 2568 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัว 8.87%พลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น ขยายตัว 21.05% คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ขยายตัว 31.60%ส่วนอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตเดือนมกราคม 2568 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ยานยนต์ หดตัวลดลง 18.30 % น้ำมันปาล์ม หดตัวลดลง 31.98 % เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่ และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่นๆ หดตัวลดลง10.19 %

-031

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สนค. ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สนค. ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
  • สศอ. ผนึก มว. - เอกชน เปิดตัว ‘เครื่องวิเคราะห์เครื่องช่วยหายใจ รุ่น VA-01’ สศอ. ผนึก มว. - เอกชน เปิดตัว ‘เครื่องวิเคราะห์เครื่องช่วยหายใจ รุ่น VA-01’
  • ดัชนีราคาส่งออกเดือนมี.ค.ร่วง ปัจจัยลบจากน้ำมัน-ข้าว-มันสำปะหลัง ดัชนีราคาส่งออกเดือนมี.ค.ร่วง ปัจจัยลบจากน้ำมัน-ข้าว-มันสำปะหลัง
  • ดัชนีราคาส่งออก - นำเข้าของไทย เดือนมีนาคม 2568 ยังคงขยายตัว ตามความต้องการสินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีราคาส่งออก - นำเข้าของไทย เดือนมีนาคม 2568 ยังคงขยายตัว ตามความต้องการสินค้าอุตสาหกรรม
  • สินค้าอาหารทางการแพทย์ โอกาสขยายตลาดส่งออกสร้างรายได้เพิ่ม สินค้าอาหารทางการแพทย์ โอกาสขยายตลาดส่งออกสร้างรายได้เพิ่ม
  • สศอ.ผนึกกำลัง กลาโหม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สศอ.ผนึกกำลัง กลาโหม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
  •  

Breaking News

ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา

'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว

วัฒนธรรมโบราณ! พิธีล้างพระธาตุศรีสองรัก สักขีพยานสัมพันธไมตรีสองแผ่นดิน 465 ปี

ไอจีไฟลุก! 'เป้ย ปานวาด'อวดหุ่นเซ็กซี่ในชุดชั้นในลูกไม้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved