นางสาว ณัฐนรี จิรัปปภา นักวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2568 อุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงไทยคาดว่าจะโต 0.7% โดยความต้องการในตลาดภาคขนส่งมีโอกาสขยายตัว 1.0% จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางการเกษตร และการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ในขณะที่ความต้องการในภาคอุตสาหกรรมจะลดลง 1.4% ตามกิจกรรมการผลิตที่มีแนวโน้มหดตัว
นอกจากนี้ ความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคการผลิตไฟฟ้าไทยก็คาดว่าจะลดลง 14.6% ในปี 2568 เนื่องจากมีการกลับมาใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณเพื่อผลิตไฟฟ้า การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ตลาด คือ ภาคขนส่ง ซึ่งมีสัดส่วนความต้องการมากที่สุดราว 86% ตามมาด้วยภาคอุตสาหกรรม 14% และภาคการผลิตไฟฟ้า 0.1% อุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวราว 0.7% โดยความต้องการในภาคขนส่งมีแนวโน้มโต 1.0% ในขณะที่ความต้องการในภาคอุตสาหกรรม และภาคการผลิตไฟฟ้าที่มีสัดส่วนน้อยจากอุปสงค์ในไทยคาดว่าจะลดลง 1.4% และ 14.6% ตามลำดับ
ตลาดภาคขนส่ง
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดภาคขนส่งไทยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ น้ำมันดีเซล ซึ่งใช้ในรถเพื่อการพาณิชย์ (รถบรรทุก รถกระบะ และรถโดยสาร) กับน้ำมันเบนซิน ที่ใช้ในรถยนต์นั่งและจักรยานยนต์
น้ำมันดีเซล
ความต้องการน้ำมันดีเซลในภาคขนส่งไทยคาดว่าจะขยายตัว 1.3% ในปี 2568 เพราะ การขนส่งสินค้าภาคเกษตรโดยรถบรรทุกหรือกระบะที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น จากผลผลิตเกษตรที่จะขยายตัวตามปริมาณน้ำที่มากขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านสู่ปรากฏการณ์ลานีญา เมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหมวดพืชผลหดตัวกว่า 5% เนื่องจากประสบภาวะภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
ในขณะที่ความต้องการน้ำมันดีเซลในการขนส่งนักท่องเที่ยวโดยรถโดยสารในปีนี้มีแนวโน้มชะลอลง จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าสู่ไทยมีทิศทางเติบโตช้าลงจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี อุปสงค์น้ำมันดีเซลในภาคขนส่งจะได้รับแรงกดดันจากระดับราคาดีเซลขายปลีกที่ยังทรงตัวสูง เนื่องจากไทยมีการใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการตรึงราคาน้ำมันดีเซลขายปลีก (รูปที่ 5) ทว่ากองทุนดังกล่าวมีฐานะขาดดุลสูง จึงอาจไม่สามารถปรับลดราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกให้ต่ำลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่มีแนวโน้มลดลงในปี 2568 โดยคาดว่าจะมีค่าเฉลี่ยราว 70 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในปีนี้ เมื่อเทียบกับ 80 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในปี 2567
น้ำมันเบนซิน
ในปี 2568 ความต้องการน้ำมันเบนซินในภาคขนส่งไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% จากที่ขยายตัวตัว 0.1% ในปี 2567 เนื่องจาก ราคาน้ำมันเบนซินจะปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อยู่ในทิศทางขาลง ซึ่งจะเป็นแรงหนุนให้อุปสงค์เบนซินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้รถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันเบนซินขายปลีกไทยในปีนี้คาดว่าจะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพราะราคาน้ำมันเบนซินขายปลีกไม่ได้ถูกตรึงราคาดังเช่นน้ำมันดีเซล (รูปที่ 5) อย่างไรก็ดี กำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก และจำนวนรถ xEV ที่สูงขึ้นจะทำให้ความต้องการน้ำมันเบนซินในปีนี้มีโอกาสขยายตัวเพียงเล็กน้อย
ตลาดภาคอุตสาหกรรม
ตลาดภาคอุตสาหกรรมไทยใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงหลักในกลุ่มเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร รถเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าในโรงงาน (รถลากจูง/โฟล์คลิฟท์) และเครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง เป็นต้น
อุปสงค์น้ำมันดีเซลในภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2568 คาดว่าจะหดตัว 1.4% เพราะ
ถึงแม้อุปสงค์น้ำมันดีเซลในภาคอุตสาหกรรมจะได้รับแรงหนุนจากการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่จะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของผลผลิตเกษตร และการใช้เครื่องจักรกลสำหรับงานก่อสร้าง โดยเฉพาะจากการก่อสร้างภาครัฐ ที่กลับมาดำเนินการได้หลังจากการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าในปี 2567 แต่กิจกรรมการผลิตที่หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ก็เป็นแรงกดดันสำคัญให้กับความต้องการน้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องจักรในโรงงานมีทิศทางลดลง
ตลาดภาคการผลิตไฟฟ้า
ความต้องการน้ำมันดีเซลในภาคการผลิตไฟฟ้าไทยคาดว่าจะลดลง 14.6% จากที่หดตัว 73.1% ในปี 2567 แต่ไม่ได้มีนัยกับอุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงไทยเพราะสัดส่วนต่ำ
ก่อนปี 2565 การใช้น้ำมันดีเซลเพื่อผลิตไฟฟ้าในไทยมักมีสัดส่วนที่น้อยกว่า 0.1% ของปริมาณเชื้อเพลิงทุกประเภทที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ทว่าในปี 2565 สัดส่วนเชื้อเพลิงดีเซลที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ากลับเพิ่มขึ้นแตะ 0.8% เพราะแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณหมดอายุสัมปทาน และอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ผู้ประกอบการรายใหม่ ทำให้อุปทานก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าหลักของไทยเผชิญภาวะตึงตัว ส่งผลให้มีการใช้เชื้อเพลิงดีเซลเพื่อผลิตไฟฟ้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณทยอยเพิ่มกำลังการผลิต และกลับมาผลิตได้ตามปกติในช่วงต้นปี 2567 ทำให้การใช้เชื้อเพลิงดีเซลเพื่อผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 0.055 ล้านลิตรต่อวันในปี 2568
ความเสี่ยงของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงไทยในระยะกลางถึงยาว
•แนวโน้มการเปลี่ยนมาใช้รถ xEV กระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยปัจจุบันค่ายรถยนต์ โดยเฉพาะค่ายญี่ปุ่นกำลังอยู่ระหว่างปรับกลุ่มรถยนต์นั่งมาตรฐานที่ขายในท้องตลาด จากเดิมที่เป็นรถยนต์นั่งสันดาปภายใน (ICE) ไปสู่กลุ่มรถยนต์นั่งไฮบริดที่ประหยัดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง พร้อมเริ่มทยอยเปิดตัวและทำตลาดรถกระบะไฮบริดในไทยในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ ภาครัฐก็มีการตั้งเป้าหมายผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ในประเทศในปี 2573 ตามนโยบาย 30@30 โดยปัจจุบันการผลิตรถ BEV ในไทยยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น และมีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของการผลิตรถยนต์ในประเทศ อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าสะสม (BEV) บนท้องถนนไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถนำเข้า ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2567 ยอดขายรถ BEV ใหม่โดยเฉพาะรถยนต์นั่งมีสัดส่วนสูงราว 20% ของยอดขายรถยนต์นั่งใหม่
กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่กดดันการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อเนื่องในอนาคต อาทิ พ.ร.บ. Climate Change ที่ภาครัฐมีแผนจะประกาศบังคับใช้ภายในปี 2570 อาจจะทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เช่น การเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรกลไฟฟ้ามากขึ้นในภาค
- 030
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี