นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เดือนพฤษภาคม 256.2568 มูลค่า 846 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.41% ขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่อง 7 เดือนติดต่อกัน หากรวมทองคำ มูลค่า 1,753.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.51% และการส่งออกรวม 5 เดือนของปี 2568 (มกราคม-พฤษภาคม) ไม่รวมทองคำ มูลค่า 6,647.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 72.59% รวมทองคำ มูลค่า 12,116.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 91.60%
ทั้งนี้การส่งออกเฉพาะทองคำในเดือนพฤษภาคม 2568 มีมูลค่า 907.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 55.87% จากการส่งออกไปเก็งกำไร แต่ราคาทองคำชะลอตัวลง หลังขึ้นไปทำสถิติสูงสุดในเดือนเมษายน 2568 ที่ผ่านมา และยังมีการขายทำกำไร จากการระงับการใช้มาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ส่วนยอดรวมส่งออกทองคำ 5 เดือน มีมูลค่า 5,468.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 121.20% และแยกเป็นรายเดือนมกราคม 2568 มูลค่า 1,167.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 148.95% กุมภาพันธ์ 2568 มูลค่า 933.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.395% มีนาคม 2568 มูลค่า 1,447.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 269.55% เม.ย.2568 มูลค่า 1,011.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 250.52%
ทางด้านตลาดส่งออกสำคัญ สหรัฐฯ ยังคงส่งออกได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 12.15% จากการเร่งนำเข้า เพื่อลดความเสี่ยงจากมาตรการภาษี ฮ่องกง เพิ่ม 7.23% เยอรมนี เพิ่ม 9.87% สหราชอาณาจักร เพิ่ม 32.93% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพิ่ม 21.67% อิตาลี เพิ่ม 2.20% ญี่ปุ่น เพิ่ม 30.01% ส่วนสวิตเซอร์แลนด์ ลด 7.49% เบลเยี่ยม ลด 22.70%
ส่วนการส่งออกสินค้า แพลทินัม ยังเพิ่มสูงถึง 65,158.54% จากการส่งออกไปอินเดียเกือบทั้งหมด เครื่องประดับเงิน เพิ่ม 26.13% เครื่องประดับทอง เพิ่ม 10.80% เครื่องประดับแพลทินัม เพิ่ม 91.10% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 10.01% เครื่องประดับเทียม เพิ่ม 3.06% ส่วนพลอยก้อน ลด 45.73% พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ลด 0.17% เพชรก้อน ลด 45.26% เพชรเจียระไน ลด 35.17% เนื่องจากการส่งออกไปยังฮ่องกง เบลเยียม อินเดีย สหรัฐฯ และอิสราเอลลดลง
นายสุเมธกล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกเดือนมิถุนายน 2568 คาดว่าหลายตลาดจะยังคงขยายตัวได้ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในช่วงชะลอขึ้นภาษี แต่มูลค่าอาจจะโตไม่มาก เพราะมีการเร่งนำเข้าก่อนหน้านี้ และทิศทางจากนี้ ยังคงต้องจับตาเศรษฐกิจโลก ที่ล่าสุดธนาคารโลกประเมินว่าจะขยายตัวเพียง 2.3% ในปี 2568 ลดจากเดิม 2.7% ต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินปี 2551 โดยมีปัจจัยจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ สงครามการค้า การปรับลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ เกือบ 70% ของโลก รวมถึงสหรัฐฯ จีน และยุโรป ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้ากลุ่มอัญมณี โดยจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกควรจะปรับการใช้กลยุทธ์เป็นแนวทางผสมผสาน เน้นไปที่การตลาดของหน้าร้านและการสร้างพันธมิตรกับผู้ค้าปลีก และต้องสร้างการมีอยู่ในโลกดิจิทัลอย่างแข็งแกร่ง เพื่อรองรับยอดขายออนไลน์ โดยไม่ต้องพึ่งพาโฆษณาแบบจ่ายเงินเพียงอย่างเดียว ด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นกลยุทธ์ การสร้างเนื้อหาออร์แกนิกที่มีคุณภาพ การสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสม และการเริ่มใช้ Pinterest เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการเข้าชมเว็บไซต์ โดยไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายโฆษณาสูง จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความสำเร็จที่สอดคล้องกับเทรนด์อุตสาหกรรมและความต้องการของผู้บริโภค
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี