วันจันทร์ ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
‘ภาษีทรัมป์’36%น่าห่วงสำหรับไทย! เปิดตลาดเสรีต้องเป็นธรรม-เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

‘ภาษีทรัมป์’36%น่าห่วงสำหรับไทย! เปิดตลาดเสรีต้องเป็นธรรม-เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 20.27 น.
Tag : กำแพงภาษี ผลกระทบไทย ภาษีทรัมป์ สหรัฐอเมริกา
  •  

13 ก.ค. 2568 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ประเทศไทยยังไม่เผชิญสถานการณ์เลวร้ายที่สุด (Worst Case Scenario) จากกำแพงภาษีทรัมป์ เกมเจรจาต่อรองทางการค้ายังไม่จบ ได้มีการเลื่อนเส้นตายไปวันที่ 1 ส.ค. 2568 ซึ่งรัฐบาลทรัมป์ใช้กลยุทธ์บีบให้ “ไทย” มีข้อเสนอที่สหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์และต้องการให้ “ไทย” เปิดเสรีเปิดตลาดสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯมากยิ่งขึ้น ต้องการให้ยกเลิกมาตรการกีดกันการค้าทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาษี รวมทั้ง ระบบโควต้าเพื่อปกป้องผู้ผลิตภายใน โดยเฉพาะสินค้าเกษตร

“เราไม่ควรเปิดตลาดสินค้าทุกประเภทด้วยอัตราภาษี 0% แบบเวียดนามเพื่อแลกกับการลดภาษีตอบโต้ทางการค้า หากเราต้องการจะทำแบบเวียดนามโมเดล เราก็อาจทำได้ยากภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองของไทย เพราะกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมภายในและกลุ่มแรงงานก็จะกดดันไม่ให้รัฐบาลเปิดตลาดและเรียกร้องให้มีมาตรการปกป้อง แต่สถานการณ์แบบนี้ไม่เกิดขึ้นในเวียดนาม เพราะเวียดนามเป็นรัฐสังคมนิยมที่ใช้ระบบการวางแผนจากส่วนกลางผสมเศรษฐกิจแบบตลาด” รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าว


รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลทรัมป์ใช้กลยุทธ์การเจรจาแบบทวิภาคีและการเจรจาที่สหรัฐฯใช้ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เหนือกว่าในการบีบให้คู่เจรจาเสนอผลประโยชน์ที่ดีที่สุดให้ พร้อมขู่และกดดันและเลื่อนเส้นตายไป เรื่อย ๆ จนประเทศคู่เจรจามีข้อเสนอที่พอใจ ยุทธศาสตร์การเจรจาของไทยจึงไม่ใช่ยอมเปิดตลาดสินค้าทุกประเภทให้สหรัฐฯเพื่อแลกกับการลดภาษี ต้องดูผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อระบบเศรษฐกิจและกลุ่มผลประโยชน์ทุกกลุ่ม ควรใช้วิธียอมเปิดตลาดสินค้าเฉพาะบางประเภทที่เราพอแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ หรือ เป็นสินค้าไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ส่วนสินค้าประเภทที่ยังแข่งขันไม่ได้ ต้องมีมาตรการช่วยเหลือและระบบสนับสนุนให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น ผลิตภาพสูงขึ้น แล้วจึงค่อยเปิดตลาด การเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้สหรัฐฯโดยเฉพาะสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและมีกลยุทธ์ ลดผลกระทบเกษตรกรรายย่อยปลูกข้าวโพดและเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีต้นทุนการผลิตสูง รัฐต้องหาวิธีลดต้นทุนให้กับผู้ผลิตเพื่อให้แข่งขันได้จากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เสนอไทยโมเดลแก้เกมสงครามภาษี ด้วยการเปิดตลาดเพิ่มในสินค้าที่แข่งขันได้แลกลดภาษี

ทีมเจรจาของไทยต้องพยายามลดภาษีจากระดับ 36% ให้ได้ภายในวันที่ 1 ส.ค. 2568 ซึ่งเป็นเส้นตายหากเจออัตราภาษีที่สูงกว่าหลายประเทศในเอเชียมาก ผลกระทบของอัตราภาษีนำเข้าจะทำให้ภาคส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องไปถึงปีหน้า หดตัวลึกในสินค้าหลายรายการ นอกจากนี้ อาจส่งผลกระทบการลงทุนของต่างชาติและอาจทำให้เกิดการย้ายฐานไปยังประเทศอื่นที่มีอัตราภาษีต่ำกว่า การเปิดเสรีเพิ่มเติมให้กับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯเพื่อแลกกับการลดภาษีตอบโต้ทางการค้า เป็นสิ่งที่ต้องมองในเชิงยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระยะยาวด้วย

และจะทำอย่างไรให้ “สินค้าไทย” แข่งขันได้ในระยะยาวเมื่อมีการเปิดเสรีเต็มที่ด้วยอัตราภาษี 0% เมื่อเสนอเงื่อนไขนี้ให้สหรัฐฯแล้ว ก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกันต่อประเทศอื่นๆซึ่งจะนำมาสู่ประโยชน์ของผู้บริโภค โดยผู้ผลิตภายในสามารถปรับตัวหากดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน และ มีระบบสนับสนุนในการเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุน แปรรูปเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งทางด้านแบรนด์และการตลาด

ทั้งนี้ เมื่อเทียบเคียงกับ ผลกระทบการตัดสิทธิ GSP ของอียูต่อสินค้าส่งออกของไทยในยุค คสช. กับ ภาษีทรัมป์ 36% ตอนไทยถูกตัดจีเอสพี ทำให้ สินค้าไทยหลายรายการแทบหายไปจากตลาดอียูเพราะสินค้าจากประเทศคู่แข่งได้สิทธิประโยชน์ในระดับ 18-15%  ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย ดร. ภัทรพงษ์ มาลาวัลย์ นักวิจัย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลฯ (DEIIT) ได้ศึกษา “การปรับตัวของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทยหลังการถอน GSP ของอียูและสหรัฐฯช่วงปี ค.ศ. 2015-2018”

โดยได้วิเคราะห์ว่า การที่สหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐอเมริกา (US) ถอนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) โดยประกาศยกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้าของไทยในปี 2015 (พ.ศ.2558) และบังคับใช้ในปี 2018 (พ.ศ.2561) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งสินค้าเกษตรแปรรูปหลายประเภท โดยสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 1.สินค้าเกษตรประเภทสินค้าขั้นต้น (commodity) เช่น มันสำปะหลัง อาหารทะเลสดแช่แข็ง ได้ค่อย ๆ หายไปจากตลาด EU และ สหรัฐ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันด้านราคาหลังหมดสิทธิ GSP ได้ ไทยจึงหันไปเน้นตลาดทางเลือก เช่น จีนและประเทศในเอเชียแทน 

2.สินค้าเกษตรไทยปรับตัวโดยเน้นตลาด niche และสินค้าพรีเมียม เช่น organic, plant-based, functional food ซึ่งสินค้าแปรรูปที่มีมูลค่าสูงสามารถรักษาตลาด EU-สหรัฐฯ ได้ เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้แปรรูป อาหารพร้อมทาน เครื่องดื่มสุขภาพ และ 3.แม้จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคาจากภาษีนำเข้า 12–24% หลังหมด GSP มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและแปรรูปของไทยไป EU และสหรัฐฯ ก็ยังคงเติบโตในระยะยาว

ทั้งนี้ บทวิเคราะห์ของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) พบว่า กรณีที่ไทยโดนตัด GSP ของอียูและสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมานั้นเมื่อเทียบกับภาษีทรัมป์ผลกระทบมีความแตกต่างกันแต่ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อเทียบกับเวียดนามและฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ยังคงได้ GSP+ จาก EU และเน้นส่งออกสับปะรดกระป๋องในราคาถูกแทนที่ไทย ทำให้ได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นในกลุ่มราคากลาง–ล่าง

ขณะที่ เวียดนามมี FTA กับ EU (EVFTA) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) ส่งผลให้สินค้าหลายชนิดได้สิทธิพิเศษทางภาษีเต็มที่ ทำให้เวียดนามรุกตลาดอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและแปรรูปจากเวียดนามไป EU เพิ่มจาก 1.6 พันล้านยูโร (2014 , พ.ศ.2557) เป็น 3.8 พันล้านยูโร (2024 ,พ.ศ.2567) เมื่อเทียบกับภาษีทรัมป์แล้ว เมื่อไทยถูกจัดเก็บภาษีนำเข้าสูงขึ้นจากมาตรการภาษีทรัมป์ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูปบางรายการ ผลกระทบจะมากกว่าการถูกตัด GSP

อย่างไรก็ตาม ไทยปรับตัวด้วยการส่งออกสินค้าเกษตรพรีเมียมเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะ อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารสุขภาพและเครื่องดื่มพิเศษ เช่น functional beverages หรือ plant-based drinks ยังคงมีสินค้า commodity หรือผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่เหลืออยู่ในตลาดสหรัฐฯ เช่น สับปะรดกระป๋อง และ อาหารทะเลสดแช่แข็ง ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าจะหายไปจากตลาดสหรัฐ ไทยมีการปลูกสับปะรดโรงงานเพื่อส่งออกมากกว่า 90% ของการผลิตทั้งหมด ทำให้พื้นที่เพาะปลูกและจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ.2557) ด้วยราคาตกต่ำและการแข่งขันที่รุนแรงจากฟิลิปปินส์

บทวิเคราะห์ของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ (DEIIT) ยังได้ประเมินอีกว่า หากไทยเจอกับอัตราภาษี 36% กลุ่มสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มส่งออกลดลงอย่างมากหรือขยายตัวติดลบในตลาดสหรัฐ ได้แก่ มะพร้าวแห้งและน้ำมันมะพร้าว แข่งขันด้านราคากับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ซึ่งมี FTA กับสหรัฐฯ และได้ GSP สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด เป็น commodity ที่ราคาถูก ต้นทุนสูงขึ้นทันทีเมื่อเจอภาษี > 20% ทำให้ไม่สามารถแข่งกับฟิลิปปินส์ได้

“ข้าวหอมมะลิ แม้มีแบรนด์ แต่หากโดนภาษีนำเข้า 36% จะทำให้ผู้ซื้อหันไปยังเวียดนามหรืออินเดีย อาหารทะเลแปรรูปราคากลาง เช่น ปลาทูน่ากระป๋องเกรดทั่วไป หากโดนภาษีสูงจะเสียเปรียบต่อเอกวาดอร์/ฟิลิปปินส์ น้ำผลไม้ผสม (ราคาต่ำ) ไม่ใช่ตลาด niche และผู้บริโภคอเมริกันมีทางเลือกในประเทศหรือนำเข้าจากเม็กซิโกและบราซิล” รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุ

รศ. ดร. อนุสรณ์ ยังกล่าวอีกว่า โดยหลักการแล้วการเปิดเสรีก็จะเพิ่มการแข่งขัน ลดอำนาจผูกขาดของผู้ผลิตภายในได้ กดดันให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวเพิ่มผลิตภาพ การเปิดเสรีเพิ่มขึ้นจะโอนย้ายผลประโยชน์จากผู้ผลิตมายังผู้บริโภคมากขึ้น ระยะยาวจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม หากเป็นการเปิดเสรีที่เป็นธรรม แต่การเปิดเสรีก็อาจสร้างความไม่สมดุลของเศรษฐกิจภายในประเทศได้ หากภาคการผลิตภายในและภาคแรงงานไม่สามารถปรับตัวได้ดีพอ หรือ อาจกระทบความมั่นคงทางเศรษฐกิจหากภาคผลิตในบางอุตสาหกรรมไม่สามารถแข่งขันได้เลยและล่มสลายไปทั้งหมด ทำให้ไม่เหลือผู้ผลิตภายในอยู่ ต้องอาศัยการนำเข้าอย่างเดียว เช่นนี้ก็ไม่เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว

เช่นเดียวกัน การเปิดตลาดเพิ่มเติมเพื่อแลกกับการลดภาษีของสหรัฐฯจึงต้องมีมาตรการมุ่งเป้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเอสเอ็มอีและแรงงานด้วย คาดว่า ในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องจนถึงปีหน้า หากประเทศเจอกำแพงภาษีในอัตราที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งมากๆ อาจทำให้มีเอสเอ็มอีปิดกิจการเพิ่มขึ้นพร้อมกับแรงงานที่อาจถูกปลดออกจากงาน การลดกำลังการผลิตจากการชะลอตัวของภาคส่งออก และ การขยายตัวติดลบของอุตสาหกรรมหรือภาคการบริการที่ต้องพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯเป็นหลัก

“จะส่งผลให้มีสูญเสียตำแหน่งงาน ภาคส่งออกและห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่เกี่ยวข้องมีบทบาทสำคัญต่อการจ้างงาน แรงงานที่ถูกลดชั่วโมงการทำงานและว่างงาน จะส่งผลต่อภาคการบริโภคให้ชะลอตัวลงแรง ทำให้กิจการหรือธุรกิจภายในอย่างเช่น ภาคการค้าภายในประเทศ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเช่าซื้อ ได้รับผลกระทบไปด้วย” รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวในตอนท้าย

043... 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ส.อ.ท.กังวลหนัก หวั่น47กลุ่มอุตสาหกรรมบักโกรก ชงรัฐบาลช่วยสู้กำแพงภาษีทรัมป์ ส.อ.ท.กังวลหนัก หวั่น47กลุ่มอุตสาหกรรมบักโกรก ชงรัฐบาลช่วยสู้กำแพงภาษีทรัมป์
  • ‘ส.อ.ท.’เร่งรวมข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯยื่นคลังเจรจาลด‘ภาษีทรัมป์’-ชง 4 มาตรการด่วนรับมือ ‘ส.อ.ท.’เร่งรวมข้อมูล 47 กลุ่มอุตฯยื่นคลังเจรจาลด‘ภาษีทรัมป์’-ชง 4 มาตรการด่วนรับมือ
  • ‘ไทย’อาจไม่เจ็บหนักอย่างที่คิด? ปล่อย‘0%’สินค้านำเข้าจาก‘สหรัฐฯ’ทำได้หากรื้อ‘ทุนผูกขาด’ ‘ไทย’อาจไม่เจ็บหนักอย่างที่คิด? ปล่อย‘0%’สินค้านำเข้าจาก‘สหรัฐฯ’ทำได้หากรื้อ‘ทุนผูกขาด’
  • ‘ภาษีทรัมป์’36%จะลดจริงหรือ? ‘กรณ์’กางปัจจัยน่าห่วง แนะรัฐบาลตั้งทีมรับแรงกระแทก ‘ภาษีทรัมป์’36%จะลดจริงหรือ? ‘กรณ์’กางปัจจัยน่าห่วง แนะรัฐบาลตั้งทีมรับแรงกระแทก
  • ‘ภาษีทรัมป์’ไทยเจอ36% ยังเหลือโอกาสใดบ้างในตลาดสหรัฐฯ-การค้าโลก? ‘ภาษีทรัมป์’ไทยเจอ36% ยังเหลือโอกาสใดบ้างในตลาดสหรัฐฯ-การค้าโลก?
  • ส.อ.ท.ผวาส่งออกเสียหาย 8-9 แสนล้านบาท วอนรัฐเร่งเจรจาภาษีสหรัฐ ส.อ.ท.ผวาส่งออกเสียหาย 8-9 แสนล้านบาท วอนรัฐเร่งเจรจาภาษีสหรัฐ
  •  

Breaking News

ศบภ.มทบ.38 ผนึกกำลังจิตอาสา ฟื้นฟูโรงเรียนบ้านน้ำพางหลังน้ำลด

บิ๊กไบค์ซิ่งเสียงสนั่นกลางชุมชน ก่อนชนกระบะเจ็บสาหัส

‘คำชะโนด’แทบแตก! ปชช.แห่ไหว้ขอพร‘ปู่ศรีสุทโธ-ย่าประทุมมา’

‘ศาลปกครอง’มีคำสั่ง คุ้มครองที่ดิน 995 ฉบับ-แปลงอื่นๆในพื้นที่‘เขากระโดง’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved