วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
สื่อนอกตีข่าว'บ้านบุญเรือง'จากชุมชนต้านรัฐทำเขตศก.พิเศษ สู่รางวัลระดับโลกรักษ์ป่าชุ่มน้ำ

สื่อนอกตีข่าว'บ้านบุญเรือง'จากชุมชนต้านรัฐทำเขตศก.พิเศษ สู่รางวัลระดับโลกรักษ์ป่าชุ่มน้ำ

วันอังคาร ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563, 11.28 น.
Tag : บ้านบุญเรือง
  •  

สื่อนอกตีข่าว'บ้านบุญเรือง'จากชุมชนต้านรัฐทำเขตศก.พิเศษ สู่รางวัลระดับโลกรักษ์ป่าชุ่มน้ำ

29 ก.ย.2563 สำนักข่าวรอยเตอร์ เสนอรายงานพิเศษ With social media and academics, Thai villagers save ancestral forest ว่าด้วยพื้นที่บ้านบุญเรือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย คนที่นี่พึ่งพาป่าชุ่มน้ำในฐานะแหล่งอาหารและไม้ฟืนมาช้านาน กระทั่งได้รู้ว่า ความเป็นป่าชุ่มน้ำอุดมสมบูรณ์ ยังช่วยให้หมู่บ้านของพวกเขารอดพ้นจากน้ำท่วมเมื่อปี 2553 ด้วย


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องได้ที่ ‘บ้านบุญเรือง’ปกป้องป่าชุ่มน้ำ อุตสาหกรรมรุกคืบ-ชุมชนลุกขึ้นสู้

หลังผ่านพ้นภัยพิบัติ ชาวบ้านบุญเรืองยิ่งรู้สึกหวงแหนผืนป่าของพงกเขามากขึ้น ทำให้ในปี 2558 เมื่อรัฐบาลไทยต้องการเปลี่ยนป่าชุ่มน้ำแห่งนี้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชาวบ้านบุญเรืองจึงแสดงพลังคัดค้านอย่างแข็งขัน พวกเขาได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการและคนทำงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะเดินหน้าร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพราะวิถีชีวิตกำลังตกอยู่ในอันตราย จนในเวลาต่อมา ในปี 2561 รัฐบาลจึงยอมยุติแผนเปลี่ยนป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรืองเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ 

ล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือน ก.ย. 2563 ชาวบ้านบุญเรือง เพิ่งได้รับรางวัลจาก องค์การสหประชาชาติ (UN) "Equator Prize" ว่าด้วยการลดปัญหาความยากจนผ่านการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอน่างยั่งยืน ซึ่ง เดวิด แกนซ์ (David Ganz) ผู้อำนวยการองค์กร RECOFTC ให้ความเห็นว่า บ้านบุญเรืองเป็นตัวอย่างของการปลูกป่าชุมชนและแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม พวกเขาคือแรงบันดาลใจของชุมชนอื่นๆ ที่อาจประสบปัญหาคล้ายกัน

ป่าชุ่มน้ำนั้นมีประโยชน์ทั้งเป็นแหล่งอาหาร ช่วยเติมน้ำบริสุทธิ์สู่แหล่งน้ำใต้ดิน กักเก็บคาร์บอน และหากเป็นป่าชายเลนยังช่วยป้องกันพื้นที่ชายฝั่งถูกกัดเซาะ สำหรับประเทศไทย มีพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention on Wetlands) ทั้งหมด 15 แห่ง เนื้อที่รวม 405,219 เฮกตาร์ ขณะที่ป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรืองนั้นมีเนื้อที่ 236 เฮกตาร์ 

นิวัฒน์ ร้อยแก้ว (Niwat Roikaew ) ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ ผู้ใช้เวลากว่า 2 ทศวรรษต่อสู้กับปัญหาการตัดไม้ การสร้างเขื่อน และโครงการพัฒนาที่ขาดการตรวจสอบในพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ภาครัฐไม่ค่อยให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนในการอนุรักษ์ จึงต้องให้ความรู้กับชาวบ้านว่าพวกเขามีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และนั่นทำให้ภาครัฐเปลี่ยนท่าทีมารับฟังชุมชนมากขึ้น ทั้งนี้ การปกป้องป่าชุ่มน้ำนั้นชุมชนและนักวิชาการใช้การรวบรวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายกว่า 300 ชนิด อันเป็นทั้งอาหารและยาสมุนไพรให้ชาวบ้านได้พึ่งพิง และศักยภาพของป่าในการกักเก็บคาร์บอนถึง 26 ตันต่อป่า 0.16 เฮกตาร์ ซึ่ง กฤชเพชร เพชระบูรณิน (Kritpetch Petcharaburanin) รอง ผวจ.เชียงราย กล่าวว่า ป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรืองมีประวัติศาสตร์นับร้อยปี ตนยินดีกับชุมชนที่ได้อนุรักษ์และดูแลป่า

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยมีแผนเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ แต่บรรดานักเคลื่อนไหวด้านสิทธิที่ดินมองว่า ชุมชนที่อยู่ในป่าหรือใกล้ป่ากำลังได้รับผลกระทบ ขณะที่พื้นที่ป่าไม้กลับถูกคุกคามด้วยแผนการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม วราวุธ ศิลปอาชา (Warawut Silpa-archa) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้จะทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง และกระทรวงฯ กำลังหาทางให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้ 

ชาวบ้านบุญเรืองใช้กลไกพิธีกรรมในชุมชนตั้งกฎกติกาในการใช้ทรัพยากรจากป่า เช่น ห้ามตัดไม้เกินจำนวนที่กำหนด ห้ามล่าสัตว์ ขายไม้ไผ่และฟืนในเชิงพาณิชย์ แต่สามารถตกปลา จับจิ้งหรีด เก็ยเห็ดและตัดฟืนเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้ ซึ่ง เตือนใจ ดีเทศน์ (Tuenjai Deetes) อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ชุมชนไม่เพียงมีแหล่งอาหาร แต่ยังรักษาวิถีวัฒนธรรมของตนเองไว้ได้ด้วย ถึงกระนั้น Srongpol Chantharueang ประธานกลุ่มอนุรักษ์บ้านบุญเรือง (BRWFCG) ยอมรับว่า 2-3 ปีล่าสุด ระดับน้ำในลำน้ำในพื้นที่ป่าลดลง จึงกังวลว่าหากเป็นเช่นนี้พืชและปลาก็จะตาย แล้วแหล่งอาหารของชุมชนจะเป็นอย่างไร ซึ่งคาดว่ามาจากเขื่อนที่อยู่ต้นน้ำ รวมถึงปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change)

ที่มา reuters

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เป็นทหาร VS เป็นไกด์!? ทหารไทยสาดสปีคแนะนำนทท. สำเนียงสุดเป๊ะ (ชมคลิป)

เปิดผล‘ดัชนีสร้างชาติ’2025-26 ‘ไทย’พุ่งอันดับ 3 อาเซียน ติดท็อป 46 โลก สะท้อนรากฐานมั่นคง

‘ทักษิณ’เตรียมทอดผ้าป่า‘วัดบ้านไร่’ 19 ก.ค. สร้าง‘หลวงพ่อคูณ’องค์ใหญ่ที่สุดในโลก

‘อนุสรณ์’แนะ‘ภราดร’ตรวจสอบคนในก่อนโวยวายคนนอกปมคุมเสียงไม่ได้

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved