วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
‘จีน’ครองเส้นทาง‘อาเซียน’ไม่ง่าย เหตุหลายประเทศมีอำนาจต่อรองสูง

‘จีน’ครองเส้นทาง‘อาเซียน’ไม่ง่าย เหตุหลายประเทศมีอำนาจต่อรองสูง

วันอังคาร ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 15.34 น.
Tag : จีน อาเซียน
  •  

13 ต.ค. 2563 เว็บไซต์ นสพ.South China Morning Post ของฮ่องกง เสนอรายงานพิเศษ What China’s struggles with a Thai railway say about the Belt and Road ว่าด้วยความพยายามของประเทศจีนในการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จากเมืองคุนหมิงทางตอนใต้ของจีน ผ่านเข้า สปป.ลาว ประเทศไทย และมีปลายทางที่สิงคโปร์ สำหรับไทยนั้นจะเริ่มก่อสร้างที่เส้นทางกรุงเทพฯ-จ.นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร และท้ายที่สุดจะไปบรรจบกับลาวที่ จ.หนองคาย

แต่แผนการของจีนที่ต้องการให้โครงข่ายรถไฟความเร็วสูงในอาเซียนเริ่มต้นได้ในปี 2564 ประสบปัญหาสะดุดที่ประเทศไทย เนื่องจากทางการไทยไม่สบายใจเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนของจีนที่ดอกเบี้ยสูง ตลอดจนการออกแบบราง แม้กระทั่งความจำเป็นของโครงการก่อสร้าง ในเดือน ก.ย. 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ของไทย อนุมัติให้ใช้งบประมาณ 380 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเกือบ 1.2 หมื่นล้านบาท เพื่อจัดซื้อทั้งขบวนรถและรางรถไฟจากจีน


รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ (Thitinan Pongsudhirak) อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นักการทูตระดับสูงของจีนต้องการกู้คืนโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านกรุงเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว แต่ไม่เข้าประเทศไทย 

สอดคล้องกับบรรดานักวิเคราะห์ที่มองประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมโยงการคมนาคมไม่ว่าทางบก น้ำและอากาศ ทั่วภูมิภาคอาเซียน ไทยจึงมีความจำเป็นสำหรับความทะเยอทะยานในยุทธศาสตร์ One Belt One Road ของจีน ศ.เซลินา โฮ (Prof.Selina Ho) นักวิชาการด้านนโยบายสาธารณะระหว่างประเทศ National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า มีเพียงบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่สามารถเจรจาต่อรองกับจีนได้ ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่ประเทศนั้นมี เช่น ขนาด ที่ตั้ง และขีดความสามารถของรัฐ 

ซึ่งไทยนั้นเป็นศูนย์กลางเชื่อมทั้งตะวันออกกับตะวันตก ท้ายที่สุดจะนำไปสู่เส้นทางที่ผ่านทั้งเวียดนาม ลาว ไทยและเมียนมา ศ.โฮ ยังยกตัวอย่างด้วยว่า หากเทียบกับ สปป.ลาวแล้ว ไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย มีอำนาจต่อรองกับจีนมากกว่า เช่นเดียวกับสิงคโปร์ที่มีอำนาจต่อรองเช่นกันเพราะรัฐมีความสามารถที่ดี อนึ่ง การเมืองภายในและความคิดเห็นของประชาชนแต่ละประเทศ ก็เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่ออำนาจต่อรองระหว่างประเทศนั้นๆ กับจีน 

“ที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย ผู้นำประเทศถูกโจมตีว่าขายชาติยกแผ่นดินให้กับจีน ที่นั่นประชาชนตั้งคำถามว่าโครงการลงทุนของจีนชาวบ้านทั่วไปจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง จะมีการสร้างงานเพื่อเสริมความเข้มแข็งให้ประเทศมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้นหรือไม่ ประเทศเหล่านี้จึงสามารถต่อรองกับจีนได้ บอกว่าตำแหน่งแห่งหนของประเทศฉันอยู่ตรงนี้ ดังนั้นคุณต้องให้สิทธิประโยชน์ฉันมากกว่านี้” ศ.โฮ ระบุ

นักวิชาการจากสิงคโปร์ผู้นี้ กล่าวต่อไปว่า อีกปัจจัยที่กลายเป็นอุปสรรคในการลงทุนของจีน คือบริษัทของจีนไม่คุ้นเคยกับรูปแบบการเมืองที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ เช่น ในประเทศอินโดนีเซีย การซื้อที่ดินเป็นขั้นตอนแรกของโครงการก่อสร้าง ต้องประสบกับความล่าช้าเพราะถูกต่อต้านจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 29 เขตและ 95 หมู่บ้าน ในแถบชวาตะวันตก ซึ่งอยู่ในแผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงจาการ์ตา-เมืองบันดุง

อปท.อินโดนีเซียนั้นมีความเข้มแข็งมากเรื่องกฎหมายที่ดิน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายในการทำให้โครงการก่อสร้างของจีนคืบหน้า ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่น การต่อต้านของระบบราชการ การจ่ายค่าเวนคืนผู้ที่ต้องถูกอพยพโยกย้ายออกจากที่ทำกิน-ที่อยู่อาศัยเดิม กฎหมายแรงงาน มาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้าง มาตรการคุ้มครองผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งบางจุดที่เป็นทุ่งกับระเบิดที่เก็บกู้ยังไม่แล้วเสร็จ

รศ.เฉิง-ชวี กุก (Assoc. Prof.Cheng-Chwee Kuik) หัวหน้าศูนย์ศึกษาเอเชีย สถาบันมาเลเซียและนานาชาติศึกษา National University of Malaysia ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟของจีนไม่ได้ถูกมองข้ามจากอำนาจอื่นๆ ที่คิดหาทางเลือกอื่นๆ เช่น ยุทธศาสตร์การเชื่อมยุโรป-เอเชีย ในการปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของทวีปยุโรปกับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศ.เดวิด แลมป์ตัน (Prof.David Lampton) นักวิชาการจากวิทยาลัยระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูง พอล เอช. นิทซ์ (Johns Hopkins SAIS) Johns Hopkins University สหรัฐอเมริกา ให้ความเห็นว่า จีนได้เรียนรู้จากภูมิภาคอื่นๆ จึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประเมินและอนุมัติโครงการ รัฐบาลจีนไม่เพียงแต่รับรู้เกี่ยวกับประเทศพันธมิตรว่าไม่เพียงแต่ศักยภาพในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และการแข่งขันเท่านั้น แต่ต้องรวมเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีที่อย่างยั่งยืนเข้าไปด้วย

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาจีนขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งรถไฟ ถนน ท่าเรือ เขื่อน โรงไฟฟ้าและสะพาน ไปในหลายภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และลาตินอเมริกา แต่จีนก็ต้องเผชิญความเสี่ยง เช่น โครงการในประเทศปากีสถานถูกรบกวนโดยผู้ก่อการร้าย ทำให้ทางการจีนต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยกับคนงานที่ไปทำงานในต่างแดนมากขึ้น ขณะที่ประเทศเวเนาซูเอลา จีนพบว่าตนทุ่มเงินไปมากมายแต่ได้มาเพียงระบอบการปกครองที่ล้มละลายภายใต้การนำของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ (Hugo Chavez)

ศ.แลมป์ตัน กล่าวว่า รัฐบาลจีนได้เรียนรู้การประเมินความเสี่ยงทางการเมืองและการเงิน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานระดับโลก นำมาสู่การจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ในปี 2559 ทำหน้าที่เสนอเงินทุนในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และให้คำมั่นสัญญาว่าจะกำกับดูแลตามมาตรฐานสากล ซึ่งเมื่อหันไปดูประเด็นการกำหนดให้ต้องใช้คนงานและวัสดุก่อสร้างจากจีนในโครงการที่จีนไปลงทุนในต่างประเทศ เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลจีนอ่อนไหวต่อปัญหานี้มากขึ้นกว่าในอดีต

“ถึงกระนั้น ยังมีความพยายามเพิ่มสัดส่วนการใช้คนงานและวัสดุอุปกรณ์จากจีนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน แม้จะสร้างความตึงเครียดในประเทศที่จีนไปลงทุนโครงการนั้นๆ ก็ตาม โดยรวมแล้วจีนกำลังเรียนรู้วิธีที่จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวกว่านี้ในระดับนานาชาติ แม้ความคืบหน้าที่ปรากฏจะยังล่าช้าและไม่สม่ำเสมอ” ศ.แลมป์ตัน กล่าว

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘จีน’ได้เฮ! GDPครึ่งแรกปี’68 ขยายตัว5.3% เดินหน้าต่อเนื่องแม้เจอแรงกดดัน ‘จีน’ได้เฮ! GDPครึ่งแรกปี’68 ขยายตัว5.3% เดินหน้าต่อเนื่องแม้เจอแรงกดดัน
  • \'จีน\'เสนอตัว!! ช่วยเคลียร์ปมพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา มั่นใจในจุดยืน\'ความเป็นกลาง\' 'จีน'เสนอตัว!! ช่วยเคลียร์ปมพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา มั่นใจในจุดยืน'ความเป็นกลาง'
  • ‘รูบิโอ’ประชุมร่วมรมต.ต่างประเทศ‘อาเซียน’ ท่ามกลางความกังวล‘ภาษีทรัมป์’ ‘รูบิโอ’ประชุมร่วมรมต.ต่างประเทศ‘อาเซียน’ ท่ามกลางความกังวล‘ภาษีทรัมป์’
  • ‘ทรัมป์’หารือผู้นำ5ชาติ‘แอฟริกา’เปลี่ยนช่วยเหลือเป็นค้าขาย ย้ำ‘สหรัฐฯ’ดูแลดีกว่า‘จีน’ ‘ทรัมป์’หารือผู้นำ5ชาติ‘แอฟริกา’เปลี่ยนช่วยเหลือเป็นค้าขาย ย้ำ‘สหรัฐฯ’ดูแลดีกว่า‘จีน’
  • ‘จีน’กร้าว! เตือนนานาชาติเจอตอบโต้แน่ หากทิ้งไปเอาใจ‘สหรัฐฯ’แลกลดหย่อนภาษี ‘จีน’กร้าว! เตือนนานาชาติเจอตอบโต้แน่ หากทิ้งไปเอาใจ‘สหรัฐฯ’แลกลดหย่อนภาษี
  • จับแล้ว 8 ราย! ปมเด็กจีน200คนได้รับสารตะกั่วจากอาหารโรงเรียน จับแล้ว 8 ราย! ปมเด็กจีน200คนได้รับสารตะกั่วจากอาหารโรงเรียน
  •  

Breaking News

‘ณัฐพงษ์’ฟุ้ง‘ปชน.’พร้อมทำหน้าที่แม้‘ฉบับส้ม’ถูกตีตก หวังเปิดประตูนิรโทษให้กว้างที่สุด

ลูกน้อง'สส.สงขลา' อุ้มชาย65ปีรุมกระทืบสาหัส อ้างสร้างความวุ่นวายในหมู่บ้าน

นับถอยหลัง’แอลเอ2028’ เจ้าภาพเปิดปฏิทินพร้อมจัด

ระทึก! เจ้าหน้าที่เข้าช่วย'ยาย'ติดอยู่ในบ้านกลางน้ำท่วมอำเภองาว ปลอดภัยแล้ว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved