สื่อสิงคโปร์เผยแพร่บทความ‘โลกออนไลน์’โหมกระแสต่อต้าน-ระแวง‘จีน’ในอาเซียน
22 มี.ค. 2564 สำนักข่าว Channel NewsAsia ของสิงคโปร์ เผยแพร่บทความ “Commentary: Social media worsens growing anti-China sentiments in Southeast Asia” ซึ่งเขียนโดย ควินตัน เท็มบี (Quinton Temby) นักวิชาการรับเชิญ (Visiting Fellow) สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค (ISEAS Yusof-Ishak Institute) ประเทศสิงคโปร์ ว่าด้วยกระแสต่อต้านจีนที่เกิดขึ้นผ่านสื่อออนไลน์ในหลายประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เนื้อหาดังนี้
การเคลื่อนไหวผ่านสื่อออนไลน์เช่น "พันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance)" กำลังแสดงความไม่พอใจต่อการลดลงของประชาธิปไตย และหวาดกลัวกับการผงาดของจีน เป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานที่รุนแรงนี้ ไม่มีประเทศใดเกินกว่าเมียนมาที่แสดงให้่เห็นถึงอันตรายและคำมั่นของการเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคอินเตอร์เน็ต ในปี 2561 กองทัพเมียนมาถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือในการฆ่าล้างเผ่าพันธู์ชาวโรฮิงญา ผ่านการเผยแพร่ข่าวปลอมเพื่อกระตุ้นความเกลียดชัง อันเป็นสิ่งที่องค์การสหประชาชาติ (UN) เรียกว่า "ตัวอย่างตำราการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (a textbook example of ethnic cleansing)"
แต่หลังจากกองทัพทำรัฐประหารในวันที่ 1 ก.พ. 2564 การลุกฮือผ่านสื่อออนไลน์เพื่อต่อต้านการปกครองของทหารกลายเป็นสิ่งที่ถูกจับตามองอย่างกะทันหัน แพลตฟอร์มเดียวกันที่เคยถูกใช้สร้างความเกลียดชัง กลายเป็นช่องทางของเสรีภาพในการแสดงออกที่กองทัพหมดหนทางที่จะปิดกั้น กรณีของเมียนมาเคยถูกทำเป็นสารคดีเผยแพร่ทาง Netflix ในปี 2563 เกี่ยวกับด้านมืดของสื่อออนไลน์ เรื่อง The Social Dilemma แต่หากหนึ่งในทรัพย์สินหลังของระบอบการปกครองคือการแยกทางภูมิศาสตร์ ผลกระทบทั้งหมดของอินเตอร์เน็ตในเมียนมาก็ยิ่งปรากฏขึ้น
พิจาณาว่าอินเตอร์เน็คเชื่อมโยงผู้ประท้วงในเมียนมากับขบวนการสนับสนุนประชาธิปไตยในเอเชียที่เรียกว่าพันธมิตรชานมได้อย่างไร การเคลื่อนไหวดังกล่าวเริ่มต้นจาก "สงครามมีม (meme war)" ที่นักเคลื่อนไหวชาวไทย ฮ่องกงและไต้หวัน ซึ่งเป็น 3 ดินแดนที่ผู้คนนิยมดื่มชานมรสหวาน พวกเขาจึงเลือกใช้ชานมเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อต่อสู้กับกลุ่มขบวนการชาตินิยมจีนแผ่นดินใหญ่บนทวิตเตอร์ ในเวลานั้นรูปภาพและแฮชแท็กต้องผ่านขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงและการเลือกอย่างรวดเร็ว จนกระทั่่งมีมชานมได้รับความนิยมบวกกับการประชดประชันกลายเป็นกระแส
พันธมิตรชานมกลายเป็นมีมที่เคลื่อนออกจากโลกออนไลน์เข้าสู่โลกจริงบนท้องถนน มันถูกเผยแพร่เข้าไปในเมียนมาและทำให้ผู้ประท้วงมีเครื่องมืออันทรงพลังในการวางกรอบการเคลื่อนไหวและเรียกร้องความสนใจจากประชาคมนานาชาติ มันยังมาพร้อมกับการชู 3 นิ้ว สัญลักษณ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง The Hunger Games ซึ่งเริ่มถูกใช้ในการประท้วงที่ประเทศไทย
อาจเป็นเรื่องง่ายหากละเลยต่อพันธมิตรชานมโดยมองว่าเป็นเพียงเรื่องตลกบนอินเตอร์เน็ตของคนเจเนเรชั่นแซด (Gen-Z : หมายถึงคนที่เกิดในช่วงปี 2538-2552) แต่มันได้เจาะลึกลงไปในสำนึกร่วมของภูมิภาคที่ขึ้นชื่อด้านความหลากหลายและท้าทายต่อการกระทำร่วมกัน มันทำให้เกิดความไม่พอใจความเสื่อมโทรมของประชาธิปไตยในภูมิภาคและความหวาดกลัวการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในฐานะมหาอำนาจ
มีภาพที่ใหญ่กว่าการประท้วงในเมียนมา ประเทศที่เหมาะกับรูปแบบที่กว้างขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งการประท้วงที่แตกต่างกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีน อาทิ ในประเทศไทย มีการวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของเหล่านายพลของไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ประเทศอินโดนีเซีย มีการประท้วงต้อต้านกฎหมายว่าด้วยอาชีพพนักงานประจำรถโดยสาร เพราะกลัวว่าจะเอื้อให้มีการจ้างพนักงานแบบเหมาช่วง (Outsource) ที่เป็นแรงงานข้ามชาติชาวจีน
ที่ประเทศฟิลิปปินส์ การทูตในสถานการณ์โรคระบาด (pandemic diplomacy) ที่จีนใช้ทำให้เกิดกระแสต่อต้านบนโลกออนไลน์ในประเด็นทะเลจีนใต้ สถานการณ์เหล่านี้ด้านดีคือการได้อภิปรายเรื่องประชาธิปไตย แต่ด้านร้ายหมายถึงการขุดอคติที่ฝังลึกในประวัติศาสตร์ขึ้นมาอีกครั้ง อาทิ ในปี 2562 เกิดเหตุความรุนแรงหลังการเลือกตั้งที่อินโดนีเซีย เมื่อมีการใช้สื่อออนไลน์บิดเบือนข้อมูลว่าจีนได้ส่งทหารแทรกซึมเข้ามาหยุดการประท้วงและสนับสนุนรัฐบาลโจโกวี (Jokowi-โจโก วีโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย) ตำรวจอินโดนีเซียถูกกดดันให้ต้องแถลงข่าวชี้แจง หลังเจ้าหน้าที่ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายชาวจีนถูกเพ่งเล็ง
เหตุการณ์แบบเดียวกันยังเกิดขึ้นในเมียนมา เมื่อมีการเผยแพร่ข่าวลือผ่านเฟซบุ๊กว่ามีทหารจีนเข้ามาร่วมปราบปรามผู้ประท้วง แต่หลักฐานที่สมดุลชี้ว่าจีนไม่สนับสนุนรัฐประหารในเมียนมา ไม่น้อยไปกว่ารัฐบาลของ อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ที่มีท่าทีสนับสนุนจีน แต่ความสงสัยก็เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ เปิดช่องให้กลุ่มต่อต้านจีนเข้าร่วมการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย
ความรู้สึกต่อต้านจีนไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับการประท้วงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เมื่อจีนผงาดขึ้นมา เราคาดว่าความรู้สึกจะเติบโตขึ้นเมื่อความกลัวเก่าผสมผสานกับความกังวลใหม่ การสำรวจความคิดเห็นโดย Pew Research Centre พบว่า มุมมองเชิงลบต่อจีนเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ก่อนเกิดสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่ ขณะที่การสำรวจ The 2021 ISEAS State of Southeast Asia ที่สอบถามผู้กำหนดนโยบาย นักธุรกิจและนักวิชาการ พบว่าการสนับสนุนการปรับแนวของจีนลดลงเทียบกับสหรัฐอเมริกา แม้จีนจะเดินหน้าทางการทูตอย่างหนักก็ตาม
ร้อยละ 76.3 ของกลุ่มตัวอย่าง 1,032 คน ระบุว่า จีนเป็นประเทศที่มีอิทธิพลด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในภูมิภาคนี้ แต่ร้อยละ 72.3 ระบุว่ากังวลกับอิทธิพลของจีน ในขณะที่รัฐบาลส่วนใหญ่ของชาติในอาเซียนต้องการได้รับผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน แต่ประชาชนในประเทศดังกล่าวกลับไม่ไว้ใจบทบาทของจีนอย่างที่สุด ดังนั้นจีนจึงมีช่องว่างระหว่างอำนาจแบบแข็ง (การทหารและเศรษฐกิจ) กับอำนาจแบบอ่อน (วัฒนธรรม) ในอาเซียน เห็นได้จากการประท้วงบนโลกออนไลน์ซึ่งเกิดขึ้นโดยพลเมืองดิจิทัล ไม่ใช่ชนชั้นนำทางการเมือง
ในขอบเขตที่ช่องว่างทางอำนาจของจีนสะท้อนให้เห็นความแตกแยกที่ได้รับความนิยมจากชนชั้นำ จีนได้ทิ้งความเปราะบางต่อการเมืองแบบประชานิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นัการเมืองหัวรุนแรงอาจพยายามหาประโยชน์จากความรู้สึกต่อต้านจีนเพื่อเป็นช่องทางเข้าสู่อำนาจ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียท่ามกลางฝ่ายต่อต้านอิสลาม เวลาจะให้คำตอบได้ว่าการประท้วงในอาเซียนเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยหรือเป็นการต่อต้านประชานิยมของจีน ผลลัพธ์บางส่วนจะพิจารณาจากการที่สถาบันเก่าตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ของการประท้วงแบบเครือข่ายในยุคอินเตอร์เน็ต
ที่มา channelnewsasia
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี