23 ตุลาคม 2564 สำนักข่าวซินหัวรายงาน องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) เปิดเผยว่ายานโคจรรอบดาวอังคารของจีนกลับมาติดต่อสื่อสารกับโลกอีกครั้ง หลังจากขาดการติดต่อเนื่องด้วยปรากฏการณ์โซลาร์ คอนจังค์ชัน (solar conjunction) โดยยานโคจรจะเริ่มสำรวจดาวอังคารจากระยะไกลในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน
องค์การฯ อ้างอิงข้อมูลโทรมาตร (telemetry) ระบุว่ายานโคจรอยู่ในสภาพปกติดีระหว่างเกิดปรากฏการณ์โซลาร์ คอนจังค์ชัน โดยนับเป็นครั้งแรกที่ยานโคจรประสบความสำเร็จในการอยู่รอดปลอดภัยจากปรากฏการณ์ดังกล่าว
ปรากฏการณ์โซลาร์ คอนจังค์ชัน หมายถึงปรากฏการณ์ที่ดาวอังคารและโลกเรียงตัวในแนวเดียวกันจนเกือบเป็นเส้นตรงกับดวงอาทิตย์ โดยช่วงเวลานี้ดวงอาทิตย์จะปล่อยรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งขัดขวางการสื่อสารระหว่างยานสำรวจดาวอังคารกับโลก
องค์การฯ ระบุว่ายานโคจรจะเข้าสู่วงโคจรระยะไกลของดาวอังคารในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน เพื่อดำเนินการตรวจจับที่ครอบคลุมและเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อย่างสัณฐานวิทยา โครงสร้างทางธรณีวิทยา องค์ประกอบของพื้นผิว การจำแนกประเภทดิน บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ และสภาพแวดล้อมในอวกาศของดาวอังคาร
ยานโคจรจะถ่ายทอดการสื่อสารระหว่างยานสำรวจพื้นผิวกับโลกสำหรับภารกิจของยานสำรวจพื้นผิวที่ยืดระยะเวลาออกไปด้วย
ทั้งนี้ ภารกิจสำรวจดาวอังคารเทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1) ซึ่งประกอบด้วยยานโคจร ยานลงจอด และยานสำรวจพื้นผิว ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2020 โดยยานสำรวจพื้นผิวจู้หรงวิ่งลงจากแพลตฟอร์มสู่พื้นผิวดาวอังคารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2021
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี