วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
นักวิทยาศาสตร์จีนพบ‘จุลินทรีย์ย่อยน้ำมันดิบ’ชนิดใหม่

นักวิทยาศาสตร์จีนพบ‘จุลินทรีย์ย่อยน้ำมันดิบ’ชนิดใหม่

วันพุธ ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 07.51 น.
Tag : จุลินทรีย์ย่อยน้ำมันดิบ น้ำมันดิบ
  •  

29 ธันวาคม 2564 สำนักข่าวซินหัวรายงาน หนังสือพิมพ์ไชน่า ไซแอนซ์ เดลี (China Science Daily) รายงานว่าคณะนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบจุลินทรีย์ชนิดใหม่ที่สามารถย่อยน้ำมันดิบโดยตรงและผลิตก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นการปูทางสู่การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำมันที่หมดแล้ว

รายงานข่าวอ้างอิงงานวิจัยในวารสารเนเจอร์ (Nature) เมื่อวันพฤหัสบดี (23 ธ.ค.) ซึ่งมุ่งวิจัยซีเอ. เมธานอลไลพารัม (Ca. Methanoliparum) จุลินทรีย์ตัวใหม่ของตระกูลเมทาโนเจนิก อาร์คีแบคทีเรีย (methanogenic archaebacteria) ซึ่ง      สามารถเปลี่ยนอัลเคนสายยาวในน้ำมันดิบเป็นก๊าซมีเทนในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน


เมทาโนเจนิก อาร์คีแบคทีเรีย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และมีบทบาทสำคัญในการหมักก๊าซชีวภาพ โดยการศึกษาก่อนหน้านี้พบกระบวนการหมักต้องการทั้งแบคทีเรียที่ย่อยสลายไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon-degrading bacteria) และเมทาโนเจนิก อาร์คีแบคทีเรีย เพื่อทำให้การสลายตัวของสารอินทรีย์และการผลิตมีเทนเสร็จสมบูรณ์

ทีมวิจัยจากสถาบันก๊าซชีวภาพ สังกัดกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทจีน พบจุลินทรีย์ซีเอ. เมธานอลไลพารัมในแหล่งกักเก็บน้ำมัน โดยมันสามารถทำปฏิกิริยาออกซิเดชันอัลเคนสายยาวโดยตรงและผลิตก๊าซมีเทนโดยปราศจากแบคทีเรียที่ย่อยสลายไฮโดรคาร์บอนได้

สำหรับกระบวนการฟื้นฟูแหล่งน้ำมันแบบดั้งเดิม น้ำมันดิบที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินนั้นเคลื่อนตัวด้วยแรงดันของน้ำหรือสารเคมี โดยตะกอนที่ทับถมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งจะฟื้นฟูได้ยากและอยู่ในใต้ดิน

หากยึดการวิจัยนี้เป็นพื้นฐานพบว่าน้ำมันดิบอาจถูกย่อยสลายเป็นก๊าซมีเทนก่อนเกิดการฟื้นฟูรวมของน้ำมันและก๊าซที่มีประสิทธิภาพฟื้นฟูสูงขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถยืดอายุการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำมันที่หมดแล้วอีกด้วย

ทั้งนี้ สถาบันฯ ร่วมดำเนินการวิจัยดังกล่าวกับมหาวิทยาลัยเซินเจิ้น สถาบันแมกซ์พลังค์ (Max Planck Institute) เพื่อจุลชีววิทยาทางทะเลของเยอรมนี และห้องปฏิบัติการหลักด้านการนำน้ำมันกลับมาใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ของซิโนเปก (Sinopec)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’

ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา

เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved