วันพฤหัสบดี ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
สื่อฝรั่งเศสตีข่าว ‘สวนยางอินทรีย์’โอกาสของเกษตรกรไทย-เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

สื่อฝรั่งเศสตีข่าว ‘สวนยางอินทรีย์’โอกาสของเกษตรกรไทย-เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 10.09 น.
Tag : สวนยางอินทรีย์ สิ่งแวดล้อม เกษตรกร ไทย ฝรั่งเศส
  •  

สื่อฝรั่งเศสตีข่าว ‘สวนยางอินทรีย์’โอกาสของเกษตรกรไทย-เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

23 ก.พ.2566 เว็บไซต์สถานีวิทยุ Radio France Internationale (RFI) ของฝรั่งเศส เสนอรายงานพิเศษ Thai farmers tap into sustainable rubber industry เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 ว่าด้วยความพยายามของชาวสวนยางพาราบางส่วนในประเทศไทย ที่ต้องการเปลี่ยนวิธีการทำสวนยางไปสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งไทยนั้นเป็นประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้มากที่สุดในโลกในปี 2564 ครองสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของซัพพลายทั่วโลก แต่อีกด้านหนึ่งก็กระตุ้นให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า จนกระทบต่อความหลากหลายชีวภาพ และเกิดปัญหาหน้าดินพังทลาย


ท่ามกลางเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ยังทำแบบเดิมๆ แต่ Wanida หญิงวัย 41 ปี ชาวสวนยางในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ทางภาคใต้ของไทย ชี้ให้ดูพื้นที่ปลูกยางพาราของเธอ ซึ่งมีเนื้อที่ 1.5 เฮกตาร์ หรือ 9.375 ไร่ ที่นี่ปลูกยางไว้ 500 ต้น และมีหนอนอยู่อาศัยในดิน เป็นเครื่องยืนยันว่าที่นี่ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพราะพื้นที่เพาะปลูกที่ใช้สารเคมีจะไม่มีธรรมชาติเช่นนี้ เนื่องจากสารเคมีจะทำลายดิน 

นั่นทำให้ Wanida เป็นเกษตรกรไทยเพียงไม่กี่ราย ได้รับใบรับรองจากองค์กรระหว่างประเทศไม่แสวงผลกำไร อย่าง Forest Stewardship Council (FSC) ซึ่งส่งเสริมการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม แกรนท์ โรโซมาน (Grant Rosoman) ที่ปรึกษาอาวุโสของกรีนพีซ องค์กรระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม เตือนว่า มีความเสี่ยงต่อแรงกดดันและการจัดการในอุตสาหกรรม ใบรับรองทั้งหมดมีปัญหากับผู้ตรวจสอบบัญชีที่ลูกค้าและบริษัทเป็นผู้จ่าย มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทางการเงินระหว่างผู้จ่ายเงินและผู้สอบบัญชี

การนำวิธีการที่ยั่งยืนมาใช้ทำให้ Wanida ขายยางได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยมีรายได้ประมาณ 650 เหรียญสหรัฐ หรือราว 22,750 บาทต่อเดือน แทนที่จะเป็น 550 เหรียญสหรัฐ หรือราว 19,250 บาทต่อเดือน โดยประเทศไทยส่งออกยางมูลค่าเกือบ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2.1 แสนล้านบาทในปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อยที่ขายให้กับพ่อค้าคนกลาง ดังนั้นแรงจูงใจทางการเงินจึงเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนวิธีการ

Maiprae Loyen ผู้ร่วมก่อตั้ง Agriac บริษัทคนกลางรับซื้อยางพารา ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2562 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคใต้ของไทยประกอบอาชีพโดยยึดแนวปฏิบัติที่ดี กล่าวว่า เมื่อตนพูดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นครั้งแรก ผู้คนมองมาที่ตนด้วยรอยยิ้มและมีเครื่องหมายคำถามขนาดใหญ่บนใบหน้า บริษัททำงานร่วมกับเกษตรกรรายย่อยประมาณ 1,000 ราย ซึ่งร้อยละ 60 เป็นผู้หญิง และก่อนหน้านี้หลายคนคิดว่าวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นภาระ

กระทั่งความคิดนั้นก็เปลี่ยนไปเมื่อเห็นความคุ้มค่าจากรายได้ที่เดิ่มขึ้น โดย Agriac เสนอโบนัส 3 บาท (0.09 เหรียญสหรัฐ) ต่อกิโลกรัมที่ FSC อนุมัติ (2.2 ปอนด์) ที่ขายได้ ซึ่ง Maiprae ยังยกตัวอย่างสวนยางพาราอีกแห่งใน จ.สุราษฎร์ธานี ที่นั่นเห็นดินแตกระแหงชัดเจน อันเป็นผลจากการใช้สารเคมี และกล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้คนจะเริ่มเข้าใจว่าคุณค่าของสิ่งของไม่ได้ถูกกำหนดด้วยป้ายราคา ถึงเวลาที่เหมาะสม ข้อความที่ถูกต้อง ถึงกระนั่น เกษตรกรที่ทำงานร่วมกับ Agriac คิดเป็นเพียงร้อยยละ 2 จากพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 3.2 ล้านเฮกตาร์ หรือ 20 ล้านไร่

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า ในเดือน ธ.ค. 2565 สหภาพยุโรป (EU) ตกลงที่จะห้ามนำเข้ายางที่ถือว่ามีส่วนในการทำลายป่า ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่กลุ่มสีเขียวยกย่องว่าเป็นก้าวสำคัญ แต่ Chaiwat Sowcharoensuk นักวิเคราะห์จากธนาคารกรุงศรี กล่าวว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนี้ต่อประเทศไทยมีจำกัด เนื่องจากจีน ซึ่งมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของตลาด ไม่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน แม้บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่จะตอบสนองผู้บริโภคชาวตะวันตก แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ยังไม่ได้ลดลงไปถึงผู้ถือหุ้นรายย่อย ถึงกระนั้น หากวันหนึ่งจีนประกาศแผนเกี่ยวกับยางที่ยั่งยืน เกษตรกรท้องถิ่นก็จะให้ความสนใจ

โรโซแมนจากกรีนพีซ กล่าวว่า ด้วยเครื่องหมายคำถามที่อยู่เหนือแผนการรับรองเช่น FSC กฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นเช่นที่กำหนดโดยสหภาพยุโรปจะเป็นกุญแจสู่ความยั่งยืน เขากล่าวว่าอนาคตของยางธรรมชาติน่าจะ "สดใสมาก" เนื่องจากยางสังเคราะห์ที่ผลิตจากน้ำมันเป็นทางเลือกที่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างมาก ทั้งนี้ รายงานข่าวทิ้งท้ายด้วยการออกจากบ้านไปกรีดยางในเวลา 03.00 น. ของ Wanida ซึ่งเธอกล่าวว่า สวนยางนี้เป็นมรดกจากปู่สู่พ่อ และวันนี้อยู่ในการดูแลของตน ที่แม้จะมีแนวทางใหม่ แต่ตนก็ยังคงเป็นชาวสวนยางเสมอ

ขอบคุณเรื่องจาก : rfi.fr

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ธนาคารโลก’แนะ‘ไทย’เพิ่มVAT-ขยายฐาน ภงด.บุคคลธรรมดา หารายได้เพียงพอ ‘ธนาคารโลก’แนะ‘ไทย’เพิ่มVAT-ขยายฐาน ภงด.บุคคลธรรมดา หารายได้เพียงพอ
  • \'ฝรั่งเศส\'บังคับใช้กฎหมายห้ามเที่ยวบินระยะสั้นในประเทศ หวังลดการปล่อยมลพิษสู่อากาศ 'ฝรั่งเศส'บังคับใช้กฎหมายห้ามเที่ยวบินระยะสั้นในประเทศ หวังลดการปล่อยมลพิษสู่อากาศ
  • ฝรั่งเศสให้คำมั่น  จัดหาอาวุธให้ยูเครน ฝรั่งเศสให้คำมั่น จัดหาอาวุธให้ยูเครน
  • \'ฝรั่งเศส\'ให้สัญญา ส่งยานเกราะ-รถถังให้\'ยูเครน\' 'ฝรั่งเศส'ให้สัญญา ส่งยานเกราะ-รถถังให้'ยูเครน'
  • ไทยจับตารองรับ\'นักท่องเที่ยวจีน\'กว่า 1 ล้านคน ต.ค. นี้ ไทยจับตารองรับ'นักท่องเที่ยวจีน'กว่า 1 ล้านคน ต.ค. นี้
  • สื่อนอกจับตา‘กัญชา’ วิวาทะการเมืองไทย ความกังวลกับนโยบายหลังเลือกตั้ง สื่อนอกจับตา‘กัญชา’ วิวาทะการเมืองไทย ความกังวลกับนโยบายหลังเลือกตั้ง
  •  

Breaking News

ฉัตรชัย บุตรพรหม คืนถิ่นเก่า

‘ชูวิทย์’โชว์ฝีปากฉะ‘บิ๊กตู่’ทำเหมือนเจ้าของอำนาจ ดื้อต่อสัมปทาน‘รัฐบาล’

เริ่มงานวิสาขบูชาเมืองย่าโมอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 9 พระองค์ประดิษฐานให้สาธุชนสักการะบูชา

'บิ๊กป้อม'ประชุมกองทุนกีฬาฯ เร่งรัดเงินรางวัลนักกีฬา ผลงานยอดเยี่ยม 38 สมาคม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายประพันธ์ สุขทะใจ ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved