วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
‘แอมเนสตี้’เผย 5 ชาติบังคับใช้โทษประหารมากที่สุดปี 66

‘แอมเนสตี้’เผย 5 ชาติบังคับใช้โทษประหารมากที่สุดปี 66

วันพุธ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567, 12.14 น.
Tag : แนวหน้าออนไลน์ แอมเนสตี้
  •  

‘แอมเนสตี้’เผย5ชาติบังคับใช้โทษประหารมากที่สุดปี’66 ‘สหรัฐฯ’ติดโผ-สถิติเพิ่มขึ้น

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2567 องค์กรนิรโทษกรรมสากล หรือแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยแพร่รายงานการบังคับใช้โทษประหารชีวิตในปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า จีน อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย โซมาเลีย และสหรัฐอเมริกา เป็น 5 ประเทศที่มีการประหารชีวิตนักโทษมากที่สุด โดยจากสถิติเท่าที่บันทึกได้ อิหร่านครองสัดส่วนร้อยละ 74 ของการประหารชีวิต ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียคิดเป็นร้อยละ 15 ส่วนโซมาเลียและสหรัฐฯ พบการใช้โทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้น 


ทั้งนี้ ตลอดทั้งปี 2566 จำนวนการตัดสินประหารชีวิตทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 รวมทั้งหมด 2,428 ครั้ง ขณะที่มีการประหารชีวิตทั้งหมด 1,153 ครั้ง (ซึ่งไม่รวมการประหารชีวิตในจีนที่เชื่อว่าเกิดขึ้นหลายพันครั้ง) โดยเพิ่มมากกว่าร้อยละ 30  จากปี 2565 ซึ่งนับเป็นสถิติสูงสุดที่แอมเนสตี้ฯ บันทึกได้หลังจากปี 2558 ที่มีการประหารชีวิต 1,634 ครั้ง แต่ถึงแม้ว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้น แต่จำนวนประเทศที่มีการประหารชีวิตตามที่แอมเนสตี้ฯ บันทึกได้กลับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

ในกรณีของอิหร่าน ทางการได้เพิ่มความรุนแรงในการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนและพยายามรวบอำนาจไว้โดยใช้การประหารชีวิตทั่วประเทศ โดยในปี 2566 มีผู้ถูกประหารชีวิตอย่างน้อย 853 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48 จากจำนวน 576 คน ในปี 2565 ซึ่งการประหารชีวิตส่งผลกระทบอย่างมากต่อชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์บาลูชีของอิหร่าน ซึ่งคิดเป็นร้อยยละ 20 ของการประหารชีวิตในประเทศที่บันทึกได้ แม้ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์บาลูชีจะมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 ของประชากรอิหร่านก็ตาม ในจำนวนนั้น มีผู้หญิงอย่างน้อย 24 คน และผู้ที่ยังเป็นเด็กในขณะที่กระทำความผิดถูกประหารชีวิตอย่างน้อย 5 คน

จากการประหารชีวิตที่บันทึกได้ในอิหร่าน มีการประหารชีวิตอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างน้อย 545 ครั้ง สำหรับความผิดที่ไม่ควรได้รับโทษประหารชีวิตภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การปล้นทรัพย์ และการจารกรรม การประหารชีวิตในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเพิ่มขึ้นและคิดเป็นร้อยละ 56 ของการประหารชีวิตที่บันทึกได้ในปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 89 จากการประหารชีวิตที่บันทึกได้ 255 ครั้งในปี 2565

ในกรณีของสหรัฐอเมริกา ความก้าวหน้าในสหรัฐฯ สะดุดลงเนื่องจากการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 18 ครั้ง เป็น 24 ครั้ง ในปี 2566 ร่างกฎหมายการประหารชีวิตโดยการยิงเป้าถูกเสนอในรัฐไอดาโฮและเทนเนสซี ในขณะที่สภาของรัฐมอนแทนา พิจารณามาตรการเพื่อเพิ่มสารที่ใช้ในขั้นตอนการฉีดยาเพื่อประหารชีวิต ในรัฐเซาท์แคโรไลนา มีการลงนามในร่างกฎหมายเพื่อปกปิดตัวตนของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการหรือการดำเนินการประหารชีวิต

รายงานของแอมเนสตี้ฯ ระบุว่า มลรัฐจำนวนหนึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างน่ากลัวต่อโทษประหารชีวิต และแสดงให้เห็นถึงเจตนาอย่างไร้ปราณีในการลงทุนกับทรัพยากรต่างๆ เพื่อปลิดชีวิตของมนุษย์ เช่น การประหารชีวิตด้วยวิธีใหม่ๆ ที่โหดร้ายโดยใช้ก๊าซไนโตรเจนทำให้ขาดอากาศหายใจถูกนำมาใช้ในรัฐแอละแบมา วิธีการนี้ถูกนำมาใช้ประหารชีวิตนายเคนเนธ สมิธเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทั้งที่ยังไม่ได้มีการทดสอบวิธีการประหารชีวิตนี้ และเป็นเพียง 14 เดือนหลังจากความพยายามประหารชีวิตของเขาที่ล้มเหลว ดังนั้นจึงเรียกร้องต่อ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องหยุดถ่วงเวลาในการทำตามสัญญาที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตของรัฐบาลกลาง

ในกรณีของจีน เนื่องจากการเก็บข้อมูลเป็นความลับของทางราชการ สถิติของแอมเนสตี้จึงไม่ได้นับรวมอีกหลายพันคนในจีนที่เชื่อว่าถูกประหารชีวิต ซึ่งจีนยังคงเป็นประเทศแถวหน้าในการประหารชีวิตของโลก ทั้งนี้ ในประเทศจีน การรายงานสถิติในสื่อของรัฐถูกนำมาใช้เพื่อเตือนประชาชนว่าอาชญากรรม เช่น การค้ายาเสพติดและการติดสินบน จะถูกลงโทษอย่างรุนแรงและมีผลลัพธ์ถึงประหารชีวิต 

นอกจากประเทศข้างต้นแล้ว รายงานยังกล่าวถึงสถานการณ์ในอีกหลายประเทศ เช่น เกาหลีเหนือและเวียดนาม ซึ่งไม่สามารถระบุตัวเลขนักโทษที่ถูกประหารชีวิตได้อย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าชาติเหล่านี้ได้หันกลับมาใช้โทษประหารชีวิตอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม รายงานอย่างเป็นทางการที่มีจำนวนจำกัดจากประเทศเหล่านี้ได้ส่งข้อความที่ชัดเจนไปยังประชาชนว่าอาชญากรรมหรือผู้เห็นต่างจะต้องถูกลงโทษประหารชีวิต แสดงให้เห็นว่าโทษประหารชีวิตยังคงเป็นเครื่องมือในอาวุธของรัฐเพื่อควบคุมและปราบปรามผู้เห็นต่าง

ในขณะที่เกาหลีเหนือได้ออกกฎหมายใหม่ที่รวมโทษประหารชีวิตเป็นบทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาของเกาหลีเหนือ ขณะเดียวกัน กองทัพในเมียนมายังคงใช้โทษประหารชีวิตในศาลซึ่งถูกกองทัพควบคุมอย่างต่อเนื่อง โดยการพิจารณาคดีลับและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง ความถดถอยยังเกิดขึ้นในที่อื่นๆ ด้วย เนื่องจากการตัดสินประหารชีวิตและการประหารชีวิตที่บันทึกได้เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา 

โดยการประหารชีวิตที่บันทึกได้ในภูมิภาคดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าจาก 11 ครั้งในปี 2565 เป็น 38 ครั้งในปี 2566 การตัดสินประหารชีวิตที่บันทึกได้ทั่วภูมิภาคแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 66 จาก 298 ครั้งในปี 2565 เป็น 494 ครั้งในปี 2566 นอกจากนี้ ไม่มีประเทศใดในภูมิภาคนี้ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในปี 2566

ถึงกระนั้น รายงานของแอมเนสตี้ฯ ก็ชี้ว่า แม้จะมีการดำเนินการเพียงเล็กน้อย แต่ความก้าวหน้ายังคงดำเนินต่อไป โดยมี 112 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างสิ้นเชิง และรวมเป็นทั้งหมด 144 ประเทศ หากนับรวมประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมาย (ไม่กำหนดไว้ในกฎหมาย) และในทางปฏิบัติ (ยังมีกำหนดโทษประหารชีวิตไว้ แต่ไม่เคยบังคับใช้จริงมาแล้วเป็นเวลานาน)

มีการประหารชีวิตที่บันทึกได้ใน 16 ประเทศ ซึ่งเป็นจำนวนต่ำสุดที่แอมเนสตี้ฯ บันทึกได้ ไม่มีการบันทึกข้อมูลการประหารชีวิตในเบลารุส ญี่ปุ่น เมียนมา และซูดานใต้ ซึ่งทั้งหมดเคยมีการประหารชีวิตในปี 2565
ในเอเชีย ปากีสถานยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในขณะที่มาเลเซียยกเลิกโทษประหารชีวิตสถานเดียว (กำหนดโทษจำคุกเพิ่มเข้ามาด้วยเพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจได้มากขึ้น) ทางการศรีลังกายืนยันว่าประธานาธิบดีจะไม่ลงนามในหมายสั่งให้ประหารชีวิต ซึ่งลดความกังวลเรื่องการกลับมาประหารชีวิตอีกครั้ง  

แม้ว่าจะไม่มีประเทศใดยกเลิกโทษประหารชีวิตในภูมิภาคแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา แต่ร่างกฎหมายเพื่อยกเลิกโทษดังกล่าวยังคงค้างอยู่ในเคนยา ไลบีเรีย และซิมบับเว ในกานา รัฐสภาลงมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในกฎหมายปัจจุบัน แต่ในสิ้นปี 2566 ร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่กลายเป็นกฎหมาย

 

ขอบคุณภาพจาก : amnesty.or.th

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ช็อกกลางป่า! นักปีนเขาเช็กเจอสมบัติโบราณ มูลค่ากว่า 12 ล้าน ช็อกกลางป่า! นักปีนเขาเช็กเจอสมบัติโบราณ มูลค่ากว่า 12 ล้าน
  • เรือล่มกลางพายุในจีน! เสียชีวิต 9 สูญหายอีก 1 เรือล่มกลางพายุในจีน! เสียชีวิต 9 สูญหายอีก 1
  • ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ \'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา\' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี ภาพอบอุ่นใจความรักที่งดงามของ 'กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี-เจ้าชาย-พระธิดา' ในยามค่ำคืนของทะเลทรายโกบี
  • \'ทรัมป์\' โพสต์ภาพตัวเองสร้างจาก AI สวมชุดสมเด็จพระสันตะปาปา พร้อมยิงมุก \'อยากเป็นโป๊ป\' 'ทรัมป์' โพสต์ภาพตัวเองสร้างจาก AI สวมชุดสมเด็จพระสันตะปาปา พร้อมยิงมุก 'อยากเป็นโป๊ป'
  • \'จีน\'เผยยังไม่ได้หารือประเด็นภาษีกับสหรัฐฯ ในขณะนี้ 'จีน'เผยยังไม่ได้หารือประเด็นภาษีกับสหรัฐฯ ในขณะนี้
  • CNN เปิดโผ! ใครเป็นใคร \'13 คาร์ดินัล\' ตัวเต็งผู้นำคนใหม่แห่งวาติกันองค์ต่อไป CNN เปิดโผ! ใครเป็นใคร '13 คาร์ดินัล' ตัวเต็งผู้นำคนใหม่แห่งวาติกันองค์ต่อไป
  •  

Breaking News

จนท.ช่วยแล้ว 5 ราย! เคสช็อกสังคม แม่วัย 34 นำลูก 9 คน ทำคลิปอนาจาร ขายกลุ่มลับ  

‘กกล.ผาเมือง’บุกสกัด! ขบวนการลำเลียงยา ‘ยึดไอซ์22โล’ ในพื้นที่แม่ฟ้าหลวง

หนังคนละม้วน! 'บีเบล'งัดหลักฐานโต้กลับ'ทีเค' เปิดแชทนัดเจรจาเจอคำตอบ'พ่อฝ่ายชาย'ทำให้จบ

นายกฯบอก 'ตกใจ' Cell Broadcast สัญญาณเตือนภัย ดังกลางวงประชุม ถามได้ทุกคนไหม?

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved