สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เฮง รัตนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดกัมพูชา (CMAC) เปิดเผยว่ากัมพูชากำลังก่อสร้างอาคารที่มีรูปทรงเลียนแบบทุ่นระเบิดสังหารบุคคลพีเอ็มเอ็น-2 (PMN-2) ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์สันติภาพเตโช ในจังหวัดเสียมราฐทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2026
รัตนาเผยว่าอาคารนี้จะมีความสูง 17 เมตร พื้นอาคารชั้นล่างมีขนาด 108 x 108 เมตร และชั้นที่สองเป็นรูปทรงวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 52 เมตร โดยจะกลายเป็นหนึ่งในสมบัติของชาติที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการปฏิบัติตามอนุสัญญาออตตาวา ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสากลที่ห้ามการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดจากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดตกค้างจากสงคราม โดยช่วงสงครามและความขัดแย้งภายในยาวนาน 3 ทศวรรษที่สิ้นสุดในปี 1998 มีทุ่นระเบิดและอาวุธอื่นๆ ถูกทิ้งไว้ในกัมพูชาราว 4-6 ล้านชิ้น
อนึ่ง ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ระบุว่าสหรัฐฯ ทิ้งวัตถุระเบิดกว่า 2.75 ล้านตัน ในการโจมตี 230,516 ครั้ง บริเวณพื้นที่ 113,716 จุดทั่วกัมพูชา ระหว่างเดือนตุลาคม 1965 ถึงเดือนสิงหาคม 1973
รายงานจากทางการเผยว่าทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดตกค้างได้คร่าชีวิตชาวกัมพูชา 19,843 ราย และทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือสูญเสียอวัยวะ 45,267 ราย ระหว่างปี 1979 ถึงเดือนมิถุนายน 2025 โดยกัมพูชาตั้งเป้าที่จะเก็บกู้และกำจัดทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดตกค้างทั้งหมดภายในปี 2030
ขอบคุณที่มา xinhuathai
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี