วันที่ 23 กรกฎาคม 2568 นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งกรมชลประทานเกาะติดสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ พร้อมย้ำแนวทางปฏิบัติในช่วงประสบภัยพิบัติ ดังนี้
1.เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เกษตรทันทีเมื่อน้ำเริ่มขัง พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
2.เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนตกซ้ำ และน้ำจากต้นน้ำไหลหลาก
3.ประสานกับท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อสนับสนุนการตอบสนองเร่งด่วน
4.ให้เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอและตำบล เป็นด่านหน้าในการเฝ้าระวังและให้คำแนะนำเกษตรกรอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้กรมชลประทานได้ร่วมทำงานกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อร่วมกันแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะเข้าไปช่วยประชาชนได้ตลอดเวลา
ล่าสุด ขอให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน รวมไปถึงพื้นที่เสี่ยงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่าอย่างต่อเนื่อง และขอให้ติดตามประกาศจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่สายด่วนกรมชลประทาน 1460 หรือ โครงการชลประทานใกล้บ้านได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นายเอกภาพ ขอย้ำเตือนเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัย ที่มีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ให้ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. 68 ชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง พร้อมมีแนะนําเกษตรกร ดังนี้
ภาคเหนือ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคใบจุดและโรคเน่าเละในพืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลีกวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดหอม เป็นต้น นอกจากนี้ควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรควรดูแลหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้มีรอยรั่วซึม และทำแผงกำบังลมและฝนให้แก่สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานานเพราะอาจทำให้เป็นโรคปากและเท้าเปื่อยโดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่น โค กระบือ และสุกร เป็นต้น และควรระวังโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม เช่นโรคเครียด โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น
ภาคกลาง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจาก
เชื้อรา
ภาคตะวันออก เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ
ภาคใต้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี