วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
LIFE&HEALTH : มาปรับพฤติกรรม ก่อนอัลไซเมอร์ถามหา

LIFE&HEALTH : มาปรับพฤติกรรม ก่อนอัลไซเมอร์ถามหา

วันพุธ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : อัลไซเมอร์ LIFE&HEALTH
  •  

หลายคนคงจะเคยมีอาการเหล่านี้บ้างโดยเฉพาะผู้กำลังจะเป็น ส.ว.(สูงวัย) เช่น เอ๊ะ! ฉันมาอยู่ตรงนี้ได้ยังไง เอ๊ะ! ฉันกำลังจะทำอะไรนะ เอ๊ะ! เมื่อกี้ฉันกินยาไปหรือยัง เมื่อกิจกรรมธรรมดากลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้น อย่างการชงกาแฟ หรือเส้นทางการเดินทางกลายเป็นเรื่องซับซ้อน หลงทางบ่อย ความทรงจำระยะสั้นหายไป นั่นแปลว่าคุณมีความเสี่ยงต่อภาวะอัลไซเมอร์แล้วยิ่งคุณใช้ชีวิตประจำวันทุกอย่างซ้ำๆ เดิมๆ ก็ยิ่งมีภาวะเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์สูง เราลองมาดูพฤติกรรมต้องทำ เพื่อช่วยให้สมองไบรท์ ความคิดแล่นฉิว รวมถึงเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่ทำลายสมอง ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

5 พฤติกรรมดี เพิ่มพลังสมอง


หัดเล่นเกม ฝึกสมอง เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ กิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสมอง เช่น อ่านหนังสือ ปริศนาอักษรไขว้ เล่นเกมครอสเวิร์ด เล่นดนตรี หรือฝึกภาษาอื่นๆ ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยการเรียนรู้ ปฏิภาณไหวพริบ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งประสบการณ์จากการเล่นซ้ำๆ บ่อยๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญและเกิดการพัฒนาทักษะ เรียกว่ายิ่งใช้สมอง ก็ยิ่งฉลาดและช่วยลับสมองได้ดีทีเดียว

ออกไปพบปะสังสรรค์ เข้าสังคมบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการไปมาหาสู่ญาติพี่น้อง เข้าสมาคมพบปะสังสรรค์พูดคุยกับคนอื่นๆ หรือการร่วมทำกิจกรรม เช่น เต้นรำ ทำงานประดิษฐ์ เป็นอาสาสมัคร จะช่วยให้เรารู้สึกว่าไม่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกและยังมีเรื่องใหม่ให้ทบทวน ทำให้สมองเกิดการตื่นตัวมีชีวิตชีวา รู้สึกสนุกและกระฉับกระเฉงเพราะได้บริหารทั้งปาก ทั้งการเคลื่อนไหวและทักษะทางสังคม

หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจถ้าชีวิตมีแต่ทำงานแล้วกลับบ้าน จะน่าเบื่อเกินไป ออกไปเจอโลกกว้างเดินทางไปพักร้อนบ้าง จะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง แถมช่วยลดเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้าและอัลไซเมอร์ได้ เพราะเมื่อเรารู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ไม่ติดกับความเครียดนานเกินไปควบคู่กับการทำชีวิตให้คึกคัก มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่คิดวกวนอยู่แค่ในโลกส่วนตัวของคุณเอง จะช่วยกระตุ้นให้อารมณ์เบิกบาน มีความสุขและส่งผลให้สมองแจ่มใส พร้อมเปิดรับการเรียนรู้ใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี

กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ จะจ๊อกกิ้ง วิ่ง ว่ายน้ำ เดิน ปั่นจักรยาน หรือรำมวยจีน ก็ทำไปเถอะสัปดาห์ละ 3-5 วัน ล้วนแต่ช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มระดับออกซิเจนในสมองและช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขออกมา นอกจากจะช่วยให้สมองแล่นแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณนอนหลับสนิท ทำให้สมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

เติมอาหารให้สมอง สมองของคนเราจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าไม่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม ดังนั้นคุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้อาจเสริมสารอาหารบางชนิด เช่น น้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วยรวมทั้งอาหารที่มีวิตามินบีสูง เช่น กล้วย อาหารทะเล ธัญพืชไม่ขัดสี ล้วนมีส่วนช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ขณะเดียวกันต้องลดอาหารหวาน มัน เค็ม และอาหารแปรรูปควบคู่กันไปด้วย

6 พฤติกรรมร้าย ทำลายสมอง

อดอาหารหรือกินมากเกินไป ถึงเวลากินก็ต้องกินโดยเฉพาะมื้อเช้าไม่เพียงแต่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเท่านั้น แต่ยังเป็นสาเหตุให้ร่างกายมีสารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่พอ ส่วนการทานอาหารมากเกินไป นอกจากจะทำให้มีน้ำหนักเกินมาตรฐานแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับสมอง

หลีกไกลมลพิษ สมองเป็นอวัยวะที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนมากที่สุดในร่างกาย การเผชิญกับสภาพแวดล้อมซึ่งเราต้องสูดดมสารพิษอยู่บ่อยๆ รวมถึงการสูบบุหรี่และสูดควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป จะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อย จะส่งผลต่อการทำงานของสมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

หยุดเครียดและห้ามนอนดึก ฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งหลั่งออกมามากยามเครียดและเวลานอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลทำลายเซลล์สมอง โดยเฉพาะในส่วนความจำ รวมถึงทำให้ไม่มีสมาธิ ลดการเรียนรู้ลงด้วยเช่นกัน หากใครอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้

อย่าปล่อยให้ความดันโลหิตหรือคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เพราะภาวะทั้งสองเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ แตกหรือตัน

เลี่ยงแอลกอฮอล์ ถ้าอยากมีความจำดี ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งมีส่วนเซลล์สมองถูกทำลายและลดประสิทธิภาพการทำงานลง เรื่องที่ควรจะจำได้ก็อาจเลอะเลือนได้ง่ายๆ

ชอบทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ ยิ่งถ้าทำซ้ำเป็นเวลานาน เช่น กินอาหารเดิมๆ เดินทางเส้นทางเดิม อยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ฯลฯ วิถีชีวิตแบบนี้จะทำให้สมองฝ่อและเสื่อมลงเรื่อยๆ เนื่องจากไม่ได้รับการกระตุ้นให้คิดได้ทำและได้เจออะไรใหม่ๆ เลย

รู้อย่างนี้แล้ว รีบทำเถอะ แค่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ขอให้สมองไบรท์ ห่างไกลอัลไซเมอร์กันทุกคน

สำหรับใครที่สนใจเรื่องการดูแลสุขภาพและชะลอวัยเพื่อการนำไปปฏิบัติได้จริง มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ จะจัดอบรมการส่งเสริมสุขภาพและการชะลอวัยด้วยอาหาร โภชนาการและสมุนไพร รุ่นที่ 2ทุกวันอาทิตย์ 6 ครั้ง เริ่ม 23 ก.พ.-29 มี.ค.นี้ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางระดับประเทศ อาทิ รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่, ผศ.ดร.เอกราช บํารุงพืชน์, รศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์,ผศ.ดร.ชนิดา ปโชติการ, หมอโอ๊ค-นพ.สมิทธิ์ อารยะสกุล นก-ชลิดา เถาว์ชาลีตันติพิภพ, ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์,และ พล ตัณฑเสถียร เป็นต้นรายละเอียดโทร.086-3100047 หรือ https://www.facebook.com/pg/DDseminarThai

ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์

กรรมการบริหาร มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • LIFE&HEALTH : รู้จักโรคไทรอยด์ต่ำ: สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี LIFE&HEALTH : รู้จักโรคไทรอยด์ต่ำ: สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
  • LIFE&HEALTH : สัญญาณเตือนก่อนเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด LIFE&HEALTH : สัญญาณเตือนก่อนเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด
  • LIFE & HEALTH : ข้อควรรู้เบื้องต้นการตรวจเช็คช่วงล่างรถยนต์..เตรียมรถให้พร้อมเดินทางปลอดภัย LIFE & HEALTH : ข้อควรรู้เบื้องต้นการตรวจเช็คช่วงล่างรถยนต์..เตรียมรถให้พร้อมเดินทางปลอดภัย
  • Life & Health : ความก้าวหน้าในงานบริการ ปชช. ของ รพ.สมเด็จพระยุพราชเชียงของ จ.เชียงราย Life & Health : ความก้าวหน้าในงานบริการ ปชช. ของ รพ.สมเด็จพระยุพราชเชียงของ จ.เชียงราย
  • LIFE&HEALTH : ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ผลต่อสุขภาพและคุณภาพการใชชีวิต LIFE&HEALTH : ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ผลต่อสุขภาพและคุณภาพการใชชีวิต
  • LIFE&HEALTH : อนาคตของเทรนด์ไทยปี 2025 เมื่อ Social Monitoring เป็นหัวใจสำคัญ LIFE&HEALTH : อนาคตของเทรนด์ไทยปี 2025 เมื่อ Social Monitoring เป็นหัวใจสำคัญ
  •  

Breaking News

กรมควบคุมโรคเผย ปี 68 ติดเชื้อ HIV พุ่งทะลุครึ่งล้าน ป่วยรายใหม่กว่า 1.3 หมื่น

รายได้ไม่ธรรมดา! 'นายห้างประจักษ์ชัย'ประกาศรับแดนเซอร์หญิงแท้

เขมรรุกไม่หยุด! 'อดีตบิ๊กข่าวกรอง'ซัด'พ่อลูกตระกูลฮุน'จ้องจะเอาให้ได้

บิ๊กเนม'ปชป.'ร่วมวงเพียบ!! 'คุณหญิงกัลยา'ตั้ง'พรรคไทยก้าวใหม่' พร้อมตั้ง'สุชัชวีร์'นั่งหัวหน้าฯ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved