วันจันทร์ ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แหวกฟ้าหาฝัน : Synthetic Cubism in Modern Art Museum Olomouc

แหวกฟ้าหาฝัน : Synthetic Cubism in Modern Art Museum Olomouc

วันอาทิตย์ ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : แหวกฟ้าหาฝัน ศิลปะร่วมสมัย งานอาร์ต ศิลปินนานาชาติ ผลงานศิลปะ
  •  

Abstract Position by Kazimierz Podsadechi

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จัก Cubism ที่มี Pablo Picasso เป็นเจ้าพ่อกันมาอย่างดีแล้ว แล้ว Synthetic Cubism ล่ะคืออะไร ก่อนจะอธิบายถึงคำนี้คงต้องอธิบายคำว่า Analytic Cubism ก่อนเพราะคำนี้เป็นต้นกำเนิดของ Synthetic Cubism คำว่า Analytic Cubism คือ งานที่ถูกพัฒนามาจาก Pablo Picasso และ Georges Braque หรือต้นกำเนิด Cubism นั่นเอง ผลงานที่เป็นต้นตำรับสำหรับงานแนว Analytic Cubism ก็คือ Guitar ของ Picasso Analytic Cubism เป็นแนวทางศิลปะที่เน้นโครงสร้างที่มาจากหลากหลายมุมมองเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ได้หลายแง่นักท่องเที่ยวจะเห็นงานแนวนี้มีหลายมิติและยากต่อความเข้าใจในบางครั้ง ยกเว้นในกรณีที่ศิลปินตั้งชื่อภาพแบบตรงไปตรงมา การสร้างงานเป็นการนำวัตถุมาตีแผ่ให้เป็นเหลี่ยมมุมแล้วประกอบขึ้นมาใหม่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ผู้ชมจะเห็นภาพ 3 มิติในมุมมองของ 2 มิติที่ถูกฉีกออกมาให้เป็นระนาบเดียว ศิลปะแนวนี้ให้ความสำคัญกับเหลี่ยมมุมและรูปทรงมากกว่าสี


ส่วนคำว่า Synthetic Cubism นั้นคือคำที่ Alfred H. Barr Jr ผู้เขียน Cubism and Picasso ผู้อำนวยการ Museum of Modern Art New York เป็นผู้ให้คำจำกัดความ และมี Daniel-Henri Kahnweiler ผู้เขียนหนังสือ The Rise of Cubism ที่ถูกตีพิมพ์ในปี 1920 นายหน้าขายภาพให้กับ Pablo Picasso และ George Braque เป็นผู้ที่ทำให้คำว่า Synthetic Cubism แพร่หลายออกสู่สาธารณชนมากขึ้น Synthetic Cubism คืองานแนวCubism ที่ถูกผลิตขึ้นในช่วงสั้นๆ ระหว่าง 1912-1914และกลายเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา ลักษณะงานจะมีความเรียบง่ายของรูปทรงมากกว่างานแนว Analytic Cubism อีกทั้งยังใช้สีสันที่สดใสและไม่มีความลึกมากนัก

Composition by Maria Nicz Borowiakowa

ข้อแตกต่างแรกที่เห็นได้ชัดคือสี Synthetic Cubism จะใช้สีออกแนวสว่าง เช่น แดง เขียวฟ้า เหลือง เพื่อให้วัตถุดูใหม่ นอกจากนี้ศิลปินยังใช้เทคนิคใหม่ในการสร้างสรรค์งานด้วยการนำวัตถุจริงไม่ว่าจะเป็น กระดาษสี หนังสือพิมพ์กล่องบุหรี่ หรือกระดาษโฆษณาเข้ามาไว้ในภาพแทนการวาดเพียงอย่างเดียวอันเป็นที่มาของคำว่า Collage ผลงานการปะติดปะต่อภาพหรือCollage ชิ้นแรกของโลกคือ Still Life with ChairCaning ของ Pablo Picasso นับจากนั้นมาศิลปินแนว Cubism ก็ได้นำเทคนิคนี้มาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Juan Gris ศิลปินชาวสเปนเป็นผู้มีชื่อเสียงมากในการสร้างงานแนวนี้ อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อผลงานของศิลปินในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ต่อมาอีกหลายทศวรรษ ผลงานแนวนี้สิ้นสุดลงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

Still Live 3 by Wladyslaw Strzeminski

งาน Synthetic Cubism ของศิลปินเช็กได้รับอิทธิพลมาจากงานของศิลปินที่ทำงานในปารีส อย่างไรก็ดี งานแนวนี้กลับมีสมดุลมากเพราะได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของ Kazimir Malevich ศิลปินชาวรัสเซียด้วย ศิลปินที่รวมกลุ่มกันสร้างสรรค์งานแนว Synthetic Cubismในทศวรรษที่ 1920 นี้ยังนำเอางานแนวConstructivism มาควบรวมเข้ากับงานแนวCubism ให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและจัดแสดงในปารีสระหว่างปี 1926-1928 อาทิ งานของJindrich Styrsky และ Toyen ส่วน Josef Simaได้นำเอางานแนว Abstract และ Surrealมาควบรวมด้วยนักท่องเที่ยวที่คุ้นเคยกับงานแนวAnalytic Cubism จะเห็นว่างานแนว SyntheticCubism ของศิลปินเช็ก ที่จัดแสดงใน ModernArt Museum Olomouc แม้ยังคงมีกลิ่นอายของ Cubism แต่กลับมีสีสันและส่วนโค้งอันแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของความเป็น Synthetic Cubism นั่นเอง

Still Live IV by Wladyslaw Strzeminski

Tent Jindrich Styrsky

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แหวกฟ้าหาฝัน : เข้า Athens เมืองหลวงกรีซ แหวกฟ้าหาฝัน : เข้า Athens เมืองหลวงกรีซ
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Frankfurt ประตูสู่ยุโรปตะวันตกที่ดีที่สุด แหวกฟ้าหาฝัน : Frankfurt ประตูสู่ยุโรปตะวันตกที่ดีที่สุด
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Camille Pissarro in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Auguste Renoir in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Claude Monet in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Claude Monet in National Museum of Western Art Tokyo
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Manet in National Museum of Western Art Tokyo แหวกฟ้าหาฝัน : Manet in National Museum of Western Art Tokyo
  •  

Breaking News

พาณิชย์สวน‘เท้ง’วัยรุ่นหลงยุค ย้ำไลฟ์สดช่วยดันยอดขายผลไม้ไทยได้จริง

ถึงคราวรื้อโครงสร้าง! 'เจิมศักดิ์'ชี้เงินคืออสรพิษ ซัดโครงสร้างบริหารหละหลวม ต้นเหตุเจ้าอาวาสโกง

2 ตำรวจสายตรวจคู่หูขับ จยย.ไล่ล่ารถต้องสงสัยเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต 1 นาย

เมเจอร์ที่3! 'เชฟเฟลอร์'แชมป์พีจีเอแชมเปี้ยนชิพ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved