วันอังคาร ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
แหวกฟ้าหาฝัน : Victor Vasarely. The birth of Op Art

แหวกฟ้าหาฝัน : Victor Vasarely. The birth of Op Art

วันอาทิตย์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : งานอาร์ต ผลงานศิลปะ ศิลปะร่วมสมัย ศิลปินนานาชาติ แหวกฟ้าหาฝัน
  •  

นอกจากใน Thyssen Museum จะมีนิทรรศการ Monet Boudin แล้วที่นี่ยังมีอีกหนึ่งนิทรรศการที่น่าสนใจนั่นคือVictor Vasarely. The birth of Op Art หลายคนคงสงสัยว่า Op Art คือ งานแบบไหนมีความสำคัญอย่างไร Op Art เป็นงานเชิงนามธรรมที่มักถูกสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่มีขอบคมชัดโดยเส้นมักมีการหักเหทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าภาพกำลังมีปฏิกิริยาเคลื่อนไหววูบวาบ อาจดูนูนขึ้นหรือเว้าต่ำลง ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงอยู่ในสถานะแบนราบ ความลวงตาที่เกิดขึ้นนี้มักมีระเบียบ และมีลักษณะเฉพาะจนดูราวกับถูกเขียนขึ้นด้วยเครื่องจักรมากกว่าเกิดจากน้ำมือมนุษย์ จึงเป็นภาพที่มีอัตลักษณ์ยากจะสร้างสรรค์และเลียนแบบได้


Vasarely เกิดในเมือง Pecs ประเทศฮังการี เขาเติบโตที่เมือง Postyen ประเทศสโลวาเกีย และเข้าศึกษาด้านการแพทย์ที่ Eotovos Lorand University ฮังการี ก่อนลาออกเพื่อเข้าเรียนที่ Private Podolini Volkmann Academy ในสาขาจิตรกรรม แล้วจึงย้ายไปศึกษาต่อที่ Sandor Bortnyik Private Art School ในปี 1928 ซึ่งเป็น Bauhaus School ของออสเตรีย ที่เน้นเรื่อง Applied Graphic Art และ Typographicdesign ต่อมาอีก 2 ปี เขาได้แต่งงานกับ Claire Spinner และมีบุตรด้วยกัน 2 คนและได้เข้าทำงานที่บริษัท Ball Bearingในตำแหน่งบัญชีและออกแบบแผ่นโฆษณาอันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขากลายเป็นนักออกแบบโปสเตอร์อย่างจริงจัง ในปี 1930 เขาย้ายไปอยู่ปารีสและทำงานเป็นนักออกแบบและที่ปรึกษาของบริษัทโฆษณา Havas, Draeger and Devambez

หลังสงครามโลกครั้งที่สองเขาเปิดห้องภาพที่ Arcueil ชานกรุงปารีส และเริ่มรังสรรค์งานแนว Opt Art ออกมาโดยได้พัฒนารูปแบบงานที่เป็นนามธรรมแบบ
รูปทรงเรขาคณิตโดยใช้วัสดุหลากหลายรูปแบบ นับจากนั้นมา เขาก็ควานหาแนวทางศิลปะใหม่ๆ เรื่อยๆ อาทิ ระหว่างปี 1929-44เขาทดลองเกี่ยวกับแสงและเงา ระหว่างปี1944-47 เขาก็หันมาทดลองสร้างงานหลากหลายรูปแบบขึ้น เช่น Cubistic,Futuristic, Expressionistic, Symbolistic และ Surrealistic ที่แม้มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองแต่เขาก็ยังรู้สึกว่างานทุกแบบที่ถูกสร้างขึ้นไม่ถูกต้อง ระหว่าง 1947-51 เขาจึงได้หันมาสร้างงานแนวเรขาคณิตแบบนามธรรมอีกครั้งโดยพัฒนาจนมีความวิจิตรพิสดารและมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น งานยุคหนึ่งเน้นสีขาวดำ และรวมกรอบเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของภาพ งานที่สร้างชื่อมากที่สุดงานหนึ่งของเขาก็คือ งานที่สร้างบนผนังกระเบื้องขนาด 100 ตารางเมตร ให้กับมหาวิทยาลัย Caracas เวเนซุเอลา ที่ออกแบบร่วมกับ Carlos Raul Villanueva สถาปนิกที่มี
ชื่อเสียงของเวเนซุเอลา

เมื่อเขารู้สึกว่าการพัฒนาศิลปะของเขาขึ้นถึงขีดสุด เขาจึงตัดสินใจจดลิขสิทธิ์เทคนิคการสร้างงานที่เรียกว่า unite plastic ในวันที่ 2 มีนาคม 1959 นับจากนั้นมาเขา
ก็เน้นสร้างงานตามแนวทางที่จดลิขสิทธิ์ไว้โดยเน้นการใช้สีแดง เขียว น้ำเงิน ม่วง เหลือง ดำ เทา ผลงานของเขาเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนได้จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวในปี 1963 และ 1965 ใน Museumof Modern Art ต่อมาในเดือนตุลาคม 1967 เขาได้รับเชิญจาก Will Burtinนักออกแบบให้นำเสนองานใน Burtin’s Visionที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก หลังจากตระเวนแสดงผลงานมาได้หลายปี ในที่สุดในวันที่ 5 มิถุนายน 1970 เขาก็ได้เปิดมิวเซียมของตัวเองที่จัดแสดงผลงานจำนวน 500 ชิ้นณ Renaissance Palace เมือง Gordes

นอกจากมิวเซียมแห่งแรกแล้ว เขายังนำผลงานส่วนหนึ่งไปจัดแสดงที่มิวเซียมในเมือง Aix en Provence ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมากว่า ผลงานที่นำไปจัดแสดงได้รับความเสียหายจากกำแพงรั่ว ยิ่งกว่านั้นเขายังนำผลงานอีกส่วนนำไปจัดแสดงที่ Centre Pompidou ณ กรุงปารีส รวมทั้ง Vasarely Museum ในเมือง Pecs ฮังการีบ้านเกิดของเขาด้วย ต่อมาในปี 1987 เขาได้ก่อตั้งมิวเซียมของตัวเองแห่งที่สองที่ Zichy Palace บูดาเปสต์ ประเทศฮังการี โดยจัดแสดงผลงานมากถึง 400 ชิ้น

นักท่องเที่ยวที่ได้มีโอกาสชมนิทรรศการของ Vasarely ณ Thyssen Museum ไม่เพียงจะได้มีโอกาสเห็นพัฒนาการและฝีไม้ลายมืออันยากที่จะหาใครเสมอเหมือนได้เท่านั้น ยังจะได้มีโอกาสดื่มด่ำกับแนวทางศิลปะที่ยากจะรังสรรค์ด้วยฝีมือมนุษย์อีกต่างหากด้วยสมกับที่ Vasarely สามารถเป็นเจ้าของมิวเซียมถึง 2 แห่ง และยังได้รับตำแหน่งบิดาแห่ง Op Art ด้วย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • แหวกฟ้าหาฝัน : National Museum of Contemporary Art Athens แหวกฟ้าหาฝัน : National Museum of Contemporary Art Athens
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Multi material and 3D art after 1980 แหวกฟ้าหาฝัน : Multi material and 3D art after 1980
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Art after 1980 in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Art after 1980 in Goulandris Museum Athens
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Multi-style Chairs in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Multi-style Chairs in Goulandris Museum Athens
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Contemporary Art in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Contemporary Art in Goulandris Museum Athens
  • แหวกฟ้าหาฝัน : Cubism in Goulandris Museum Athens แหวกฟ้าหาฝัน : Cubism in Goulandris Museum Athens
  •  

Breaking News

'วุฒิสภา'โหวตท่วมท้น เห็นชอบ'ณรงค์ กลั่นวารินทร์'นั่งเก้าอี้'กกต.'

โจรดวงซวย! พกมีดมาลักรถ ขี่รถล้มมีดแทงตัวเองสาหัส

'ชัยชนะ'ไม่กังวล 'เนวิน-พิพัฒน์'ยกคณะเข้า'บ้านโล่สถาพรพิพิธ'

น่านเตรียมรับมือ'พายุวิภา' เร่งป้องกันน้ำหลาก หวั่นซ้ำรอยน้ำท่วมใหญ่ปี 67

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved