วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
ล้มสะโพกหักอย่าเคลื่อนย้ายเอง  เสี่ยงเสียเลือดเพิ่มและเกิดภาวะแทรกซ้อน

ล้มสะโพกหักอย่าเคลื่อนย้ายเอง เสี่ยงเสียเลือดเพิ่มและเกิดภาวะแทรกซ้อน

วันอังคาร ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag :
  •  

 

 


ล้มกระดูกสะโพกหัก ให้เรียกรถพยาบาล อย่าเคลื่อนย้ายเอง และควรรีบผ่าตัดภายใน 12 – 24 ชั่วโมงแรก เพื่อเพิ่มโอกาสหาย ลดโอกาสนอนติดเตียง ลุกยืนได้ทันทีหลังผ่าตัดเพียง 6 ชั่วโมง

หากล้มแล้วเจ็บปวดบริเวณสะโพกจนขยับไม่ไหว ลุกไม่ได้ อย่าฝืน เพราะนั่นอาจเป็สัญญาณบ่งบอกถึงภาวะกระดูกสะโพกหัก ซึ่ง นายแพทย์เปรมเสถียร ศิริธนาพิพัฒน์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลเวชธานี ระบุว่า สะโพกเป็นกระดูกส่วนที่รับน้ำหนักตัวมากที่สุด หากล้มจนกระดูกสะโพกหักจะเกิดความเจ็บปวดรุนแรงจนขยับไม่ได้ ลุกไม่ขึ้น หรือขาผิดรูป อย่าพยายามดัดหรือดึงเพื่อให้กระดูกกลับเข้าที่โดยเด็ดขาด รวมถึงไม่ควรฝืนลุกยืนและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเอง เพราะอาจทำให้กระดูกหักเพิ่มจนไปทำลายเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ และเสียเลือดมากขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายขึ้นแล้วโทรเรียกรถพยาบาลมารับทันที

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงกระดูกสะโพกหักง่ายคือ ผู้สูงอายุเนื่องจากความแข็งแรงของกระดูกลดลง ผู้ป่วยกระดูกพรุน ผู้ที่ขาดสารอาหารในกลุ่มวิตามินดีและแคลเซียม ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ รับประทานยาในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือแม้แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ แพ้ภูมิตัวเอง นอกจากนี้ในกลุ่มคนที่อายุน้อยก็มีโอกาสกระดูกสะโพกหักได้จากอุบัติเหตุรุนแรง เช่น ตกจากที่สูง อุบัติจากรถจักรยานยนต์

ทั้งนี้ โดยมากเราจะพบผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสาเหตุมาจากการล้ม เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในวัยที่หมดประจำเดือนและมีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งกระดูกสะโพกหักในกลุ่มผู้สูงอายุจะเป็นการเจ็บป่วยที่รุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย จากสถิติพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตภายภายในปีแรกสูงถึงร้อยละ 35 หากไม่ได้รับการรักษาดูและที่เหมาะสม หรือไม่ได้รับการผ่าตัดภายใน 12-24 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยจะเสียเลือดมากขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อน แผลกดทับและติดเตียงในที่สุด

อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก หากเกิดการหักที่บริเวณคอสะโพกจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดให้เร็วที่สุด หรือภายใน 12-24 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดโอกาสการนอนติดเตียง สามารถลุกยืนได้ภายใน 6 -12 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด และกลับไปวิ่งหรือ ว่ายน้ำ และขับรถได้ใน 1 เดือน

สำหรับการลดความเสี่ยงในการเกิดสะโพกหัก ควรเริ่มตั้งแต่การรับประทานอาหารเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะสารอาหารในกลุ่มวิตามินดีและแคลเซียม เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน ออกกำลังกายกลางแจ้งโดนแสงแดดบ้างอย่างสม่ำเสมอ ลดละเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์และกิจกรรมที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง ส่วนบ้านที่มีผู้สูงอายุควรจัดบ้านให้เป็นระเบียบ ปรับพื้นที่ทางเดินให้เหมาะสม ไม่ลื่น และเพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอ ป้องกันผู้สูงอายุสะดุดหรือลื่นล้ม นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรตรวจคัดกรองกระดูกพรุนตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการล้มและกระดูกหักง่ายได้

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'ดร.วิรไท สันติประภพ\' เขียน \'ศาสตร์แห่งความพอเพียงของพระราชา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน\' 'ดร.วิรไท สันติประภพ' เขียน 'ศาสตร์แห่งความพอเพียงของพระราชา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน'
  • ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สธ.จัดงาน \'สุขภาพแกร่ง ไทยไม่แพ้ภัยแผ่นดินไหว\' ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สธ.จัดงาน 'สุขภาพแกร่ง ไทยไม่แพ้ภัยแผ่นดินไหว'
  • เยาวชนไทยคว้ารางวัล Global Youth Action Fund 2025 พลิกของเสียจากโรงแรมสู่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระดับโลก เยาวชนไทยคว้ารางวัล Global Youth Action Fund 2025 พลิกของเสียจากโรงแรมสู่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระดับโลก
  • เริ่มแล้ว! \'TPQI Fair 2025\' หนุนคนไทยค้นพบอาชีพที่ใช่ เสริมทักษะสู่ตลาดแรงงานอนาคต เริ่มแล้ว! 'TPQI Fair 2025' หนุนคนไทยค้นพบอาชีพที่ใช่ เสริมทักษะสู่ตลาดแรงงานอนาคต
  • เปิดมุมมอง ธีรภาพ อัญญานุภาพ ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัว  สร้างกลยุทธ์-มั่งคั่ง-ความสัมพันธ์อย่างยั่งยืน เปิดมุมมอง ธีรภาพ อัญญานุภาพ ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัว สร้างกลยุทธ์-มั่งคั่ง-ความสัมพันธ์อย่างยั่งยืน
  • \'วัตสัน\'เผยผลสำรวจพบพลังโซเชียลมีเดียครองอิทธิพลสูงสุด ดันตลาดสุขภาพและความงามไทยครึ่งปีแรก 'วัตสัน'เผยผลสำรวจพบพลังโซเชียลมีเดียครองอิทธิพลสูงสุด ดันตลาดสุขภาพและความงามไทยครึ่งปีแรก
  •  

Breaking News

สะกดทุกสายตา!'ข้าวโอ๊ต ณดาพัน'นางสาวไทยชัยภูมิ 2568 ขึ้นแท่นเต็งมงใน Preliminary Competition

ทีมวิจัยไทยค้นพบ‘เซรั่มน้ำยางพารา’ต้านมะเร็ง ลดอักเสบ

ยอมรับภาษี-อย่าผลักภาระให้ผู้บริโภค! ‘ทรัมป์’โต้ยักษ์ค้าปลีก‘วอลมาร์ท’ปมโอดขอปรับราคาสินค้า

‘200 สว.’สะท้าน! ‘พันธุ์ใหม่’เดินเกมล่าชื่อ ชงศาลรธน.สั่งหยุดทำหน้าที่‘เฉพาะส่วน’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved