วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินอยู่อย่างไรให้ปลอดภัย เมื่ออยู่ในช่วงรับเคมีบำบัด

รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ : กินอยู่อย่างไรให้ปลอดภัย เมื่ออยู่ในช่วงรับเคมีบำบัด

วันจันทร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag :
  •  

มะเร็งเป็นสาเหตุการป่วยและตายอันดับต้นทั้งระดับโลกและในไทย การรักษาโรคมะเร็งทำได้หลายวิธี เช่น ผ่าตัด ฉายแสง และการใช้ยา ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้เป็นหลักคือ chemotherapy หรือเคมีบำบัด ที่ส่วนใหญ่แบบแผนการให้ยาคือการฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก 3-4 สัปดาห์ กลไกการออกฤทธิ์หลักของเคมีบำบัดคือทำลายเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเซลล์มะเร็ง และด้วยกลไกเดียวกันนี้เอง ที่ทำให้เซลล์ปกติที่มีการเจริญเติบโตเร็วด้วย ก็พลอยได้รับผลกระทบไปโดยปริยาย เช่น เซลล์เม็ดเลือดต่างๆ ทั้งเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด รวมถึงเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร เซลล์รากผม เป็นต้น จึงไม่เป็นเรื่องน่าแปลกที่ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้เคมีบำบัดมักมีค่าเม็ดเลือดต่างๆ ต่ำ ผมร่วง และมีแผลในปาก 

นอกจากแผลในปากที่สร้างความเจ็บปวดเวลารับประทานอาหาร และเป็นข้อจำกัดในการรับประทานอาหารรสจัด ร้อนจัดแล้ว ยาเคมีบำบัดบางชนิดยังทำให้คลื่นไส้อาเจียน ยาบางชนิดทำให้การรับรสชาติเปลี่ยนไป ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า
รับประทานแล้วไม่รู้รส หรือรสชาติที่รับได้ผิดเพี้ยนไป รสชาติไม่อร่อยเหมือนเคย ผลรวมของอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นคือ ทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยลง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดผลเลือดไม่ผ่านการประเมินก่อนจะให้ยาเคมีบำบัดแต่ละรอบจนบางครั้งต้องชะลอการให้ยาออกไป 


สภาวะที่เกิดขึ้นอาจทำให้ทั้งผู้ป่วยและญาติรู้สึกวิตกกังวล ตัวผู้ป่วยเองแม้อยากจะรับประทานอาหาร แต่รับประทานไม่ได้ เพราะหลายสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ขณะที่ญาติก็พยายามกระตุ้น และอาจบังคับให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารมากๆ ทั้งอาหารหลักและอาหารเสริม  

ปัญหาที่เกิดขึ้นมีวิธีแก้ไขป้องกันหลายข้อ อาทิ ผู้ป่วยที่มีแผลในปาก ควรหลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัดหรือเย็นจัด รสจัด อาหารที่มีลักษณะกรอบหรือแข็ง เครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อิ่มเร็ว ควรรับประทาน
อาหารทีละน้อย แต่กินบ่อยๆ เลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานสูง หลีกเลี่ยงอาหารเลี่ยนๆ มันๆ รวมถึงอาหาร
ที่ทำให้เกิดแก๊ส อันทำให้แน่นท้องหรือท้องอืด เช่น ถั่วต่างๆน้ำอัดลม สำหรับผู้ป่วยที่มีการรับรสผิดปกติ โดยมากมักรับรสขมได้ดีขึ้น ขณะที่รับรสหวานได้น้อยลง รู้สึกถึงรสคาวมากขึ้นเมื่อรับประทานเนื้อสัตว์ หรือรู้สึกเหมือนมีรสโลหะตกค้างอยู่ในปาก การอมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งรสมิ้นต์อาจช่วยบรรเทาอาการได้บ้าง บางครั้งอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีปรุงรสชาติอาหารให้ถูกปากผู้ป่วยมากขึ้น ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารได้น้อยลงจากหลากหลายสาเหตุ ควรจัดบรรยากาศการ
รับประทานอาหารให้ดีขึ้น เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย การรับประทานอาหารกับครอบครัวหรือเพื่อนจะช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้น หากรับประทานคนเดียว อาจดูภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ที่ชอบไป เพื่อให้เพลิดเพลินแล้วรับประทานได้มากขึ้น ทั้งนี้เมื่ออิ่มก็ควรหยุด ไม่ควรฝืนรับประทานต่อ การเตรียมอาหารพร้อมรับประทานไว้เสมอก็เป็นแนวทางที่ช่วยได้ เพราะเมื่อผู้ป่วยพร้อมจะสามารถนำมารับประทานได้ทันที เพราะการปล่อยให้หิวจนเกินไป ทำให้ผู้ป่วยรับประทานได้น้อยลง 

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรักษาด้วยยาเคมีบำบัด คือ อาหารที่มีองค์ประกอบครบ 5 หมู่ มีโปรตีนและพลังงานสูง มีความเสี่ยงการปนเปื้อนเชื้อโรคต่ำเพราะยาเคมีบำบัดมีผลข้างเคียงทำให้เม็ดเลือดต่างๆ ลดลง รวมไปถึงเซลล์ปกติที่เจริญเติบโตเร็วด้วย ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนทดแทน เพื่อช่วยกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ หลังได้รับยาเคมีบำบัดผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารหมวดโปรตีนมากขึ้น ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ไข่ ปริมาณที่เพียงพอคือประมาณ 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน หากผู้ป่วยหนัก 60 กิโลกรัม หมายความว่าต้องรับประทานโปรตีนประมาณ 90 กรัมต่อวัน โดยอาหารหมวดอื่นๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ ก็จะต้องรับประทานอย่างครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายด้วย อาหารที่รับประทานจะต้องปรุงสุกและสะอาด หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ดิบเช่น ปลาดิบ ผักสด หรือผลไม้เปลือกบาง เนื่องจากขั้นตอนการล้างอาจไม่สะอาดเพียงพอ ทำให้ปนเปื้อนแบคทีเรียหรือไข่พยาธิจากดินที่ปลูก เพราะในช่วงหลังให้ยาเคมีบำบัดผู้ป่วยมักจะมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือพยาธิจนเกิดอันตรายได้ 

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งคืองดอาหารประเภทโปรตีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนถึงประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งเพียงพอ การงดเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพดีอย่างสิ้นเชิงกลับทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดการขาดสารอาหารจนฟื้นตัวได้ช้า อีกอย่างที่พบได้บ่อยคือการรับประทานน้ำผักผลไม้สดปั่นทั้งแบบแยกกากหรือไม่แยกกากก็ดี ผักผลไม้ที่นำมาปั่นหากล้างไม่สะอาดดีพอ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อแบคทีเรียและพยาธิได้ นอกจากนี้ยังมีการบริโภควิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกมากมาย ซี่งถ้าจะให้มั่นใจว่าได้ประโยชน์สูงสุดและไม่ตีกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ก็ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ที่ดูแลก่อนใช้วิตามินหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านั้น  

หากผู้ป่วยมะเร็งรวมถึงผู้ดูแลมีคำถามเกี่ยวกับยาหรือการปฏิบัติตัวระหว่างการรักษา สามารถส่งคำถาม
ได้ที่ line @guruya ซึ่งให้บริการตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับยา โดยเภสัชกรจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
 

 

ผศ.ภญ.ดร.ณัฎฐดา อารีเปี่ยม

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ยิปซีพยากรณ์\'ดวงรายวัน\'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568
  • \'ศุภมาส\' นำเสนอวิสัยทัศน์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่สังคมที่ยั่งยืน 'ศุภมาส' นำเสนอวิสัยทัศน์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่สังคมที่ยั่งยืน
  • \'วัน แบงค็อก\'เอาใจสายกิน!เปิดตัวแคมเปญให้เหล่านักชิมได้มิกซ์แอนด์แมทช์ความอร่อยได้อย่างไร้ขีดจำกัด 'วัน แบงค็อก'เอาใจสายกิน!เปิดตัวแคมเปญให้เหล่านักชิมได้มิกซ์แอนด์แมทช์ความอร่อยได้อย่างไร้ขีดจำกัด
  • ครั้งแรกกับกีฬายูยิตสูภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เชิญร่วมชิงชัยประชันศิลปะการต่อสู้ ครั้งแรกกับกีฬายูยิตสูภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เชิญร่วมชิงชัยประชันศิลปะการต่อสู้
  • รพ.จุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมให้ความรู้นวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ภายใต้แนวคิด \'SAVE YOUR HEART SAVE YOUR LIFE : เพราะหัวใจมีความหมายเท่ากับชีวิต\' รพ.จุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมให้ความรู้นวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ภายใต้แนวคิด 'SAVE YOUR HEART SAVE YOUR LIFE : เพราะหัวใจมีความหมายเท่ากับชีวิต'
  • มก.เปิดหลักสูตร ‘พลเมืองเข้มแข็งสำหรับผู้นำอาวุโส’ รุ่นที่ 1 เสริมสร้างผู้นำอาวุโสเข้มแข็งมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม มก.เปิดหลักสูตร ‘พลเมืองเข้มแข็งสำหรับผู้นำอาวุโส’ รุ่นที่ 1 เสริมสร้างผู้นำอาวุโสเข้มแข็งมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม
  •  

Breaking News

ประเดิมคนแรก! 'กกต.-ดีเอสไอ'แปะหมายหน้าประตูห้อง'สว.อลงกต'

ชาวนาบุรีรัมย์ถือฤกษ์ดี ‘วันพืชมงคล’ เริ่มไถนาเพาะปลูกข้าว-เชื่อผลผลิตเจริญงอกงามดี

ยิปซีพยากรณ์'ดวงรายวัน'ประจำวันศุกร์ที่ 9​ พฤษภาคม พ.ศ. 2568

‘อุ๊งอิ๊งค์‘เลี่ยงตอบ! มติแพทย์สภา พักใบอนุญาต 3 หมอ เซ่นปม ชั้น 14

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved